วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

SMART FARM กับการเกษตรยุคดิจิทัล

SMART FARM กับการเกษตรยุคดิจิทัล
06 พฤศจิกายน 2561
1,069
คำว่า "SMART FARM" ได้เข้ามาทำให้เกษตรกร รวมถึงเรา ๆ ทุกคน เกิดความสงสัยมาระยะเวลาหนึ่ง แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่า "SMART FARM" อะไรบ้างที่จะเป็นตัวช่วยในการทำเกษตรในยุคนี้
ในยุคที่แต่ละประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แรงงานในภาคการเกษตรลดลง รวมถึงเป็นยุคที่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุ และคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะสนใจอาชีพเกษตรกรซักเท่าไหร่ แต่มนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะบริโภคสินค้าเกษตรเพื่อการยังชีพ ทำให้ภาคเกษตรเริ่มมีการปรับตัวเองโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประเทศผู้นำอย่างเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย เป็นต้น จนทำให้เกิดคำว่า SMART FARM หรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ "เกษตรอัจฉริยะ"

SMART FARM หรือ เกษตรอัจฉริยะ คือ การทำเกษตรในยุคใหม่ ยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร นวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาใช้ในการทำงาน ที่สำคัญต้องปลอดภัยทั้งต่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำเกษตรอัจฉริยะ คือ การเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture หรือ Precision Farming) โดยเป็นการทำเกษตรที่เข้ากับสภาพพื้นที่โดยเน้นพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ เน้นประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จนถึงกระบวนการปลูกที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจวัดทั้งเรื่องของสภาพดิน ความชื้นในดิน แร่ธาตุในดิน ความเป็นกรดด่าง (หรือที่เรียกกันว่า ดินเค็ม/ดินเปรี้ยว) สภาพปริมาณแสงธรรมชาติ รวมถึงเรื่องศัตรูพืชต่างๆ บางประเทศมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมผ่านการปลูกในโรงเรือน เพื่อป้องกันศัตรูพืชและสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆได้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นบางแห่งได้ลองตั้ง "โรงงานปลูกผัก" ในหลายประเทศ เช่น บริษัทฟูจิซึ ได้ตั้ง "โรงงานปลูกผัก" ในฟินแลนด์เนื่องจากประเทศฟินแลนด์ประสบปัญหาไม่สามารถปลูกพืชได้ เนื่องจากในฤดูหนาวมีแสงอาทิตย์น้อย โรงงานนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาให้ปลูกพืชในระบบปิดหรือปลูกในที่ร่ม โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแสง อุณหภูมิ น้ำ ให้เป็นไปแบบอัตโนมัติ และคาดว่าจะให้ผลผลิต 240 ตัน/ปี หรือบริษัทชาร์ปที่มีโรงงานปลูกสตรอเบอร์รี่ในตะวันออกกลาง มีการฟอกอากาศด้วยเทคโนโลยี "พลาสมาคลัสเตอร์" ทำให้ได้สตรอเบอร์รี่ที่หวานเหมือนปลูกในญี่ปุ่น การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยแบบนี้ทำให้ไม่มีศัตรูพืช ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง จึงปลอดภัย ได้ราคาและคุณภาพสูง ปลูกได้ตลอดปี แต่มีข้อเสียที่ต้นทุนสูงกว่าปลูกแบบธรรมชาติ

ความแตกต่างของภูมิประเทศแต่ละที่ทำให้สภาพของดิน น้ำ ความสมบูรณ์ของแร่ธาตุต่างๆ แสง ศัตรูพืช พืชท้องถิ่น แมลงท้องถิ่น ที่เป็นปัจจัยจำนวนมากในการสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพและได้พืชผลตามขนาดที่ต้องการ จะเห็นได้ว่าฟาร์มอัจฉริยะมีความต้องการและความแตกต่างจากการทำเกษตรแบบปกติเป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์อีกข้อหนึ่งคือ การไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ดังนั้นความแม่นยำในการเสริมปัจจัยต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด จึงเป็นกุญแจสำคัญในการทำเกษตรอัจฉริยะที่ได้ประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำ สมาร์ทฟาร์ม จะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ดังต่อไปนี้

1. การระบุตำแหน่งพื้นที่เพาะปลูก
2. การแปรวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรงกับระยะเวลาของการเพาะปลูกพืช
3.การบริหารจัดการพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร และต้องเข้ากับการเพาะปลูกพืชในชนิดนั้นๆ

ปัจจุบันในบ้านเราเองก็มีตัวอย่างการทำสมาร์ทฟาร์ม ที่ประยุกต์เอาเทคโนโลยีมาช่วย อย่างกรณีของอาจารย์ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ได้คิดค้นแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ที่เลี้ยงปลานิลส่งขาย ภายในแอพพลิเคชั่นสามารถแสดงสภาพอากาศ คุณภาพ ปริมาตรน้ำ ผลตอบแทน ราคา วัดน้ำหนักและขนาดปลาได้ เพิ่มความสำเร็จในการสร้างรายได้มากขึ้นเพียงปลายนิ้วคลิก

ล่าสุดที่พึ่งเปิดตัวไป กับ ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่อย่าง DTAC ที่ได้จับมือกับ บริษัทรักบ้านเกิด และรีคัลท์ พัฒนา แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ กับแอพฯ Farmer Info ที่เปิดให้บริการแก่เกษตรกรมากว่า 5 ปี ด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ ที่ชื่อว่า "ฟาร์มแม่นยำ" กับการนำเทคโนโลยีดาวเทียม Big Data จากทั่วโลก ช่วยในเรื่องของการพยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่ การตรวจสุขภาพพืช รวมไปถึงการวางแผนการเพาะปลูก ที่สามารถบอกข้อมูลรายแปลงได้อย่างแม่นยำ

และยังมีตัวอย่างคนไทยอีกรายที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม ได้ประกอบอุปกรณ์สำหรับแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ ให้มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ค่ากรดต่างๆ ใช้ Relay (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร) ในการควบคุมปั๊มแรงดันเพื่อพ่นละอองน้ำ ทำให้สะดวกในการปลูกและไม่เสียเวลาดูแลมากนัก มองอีกแง่หนึ่ง ถือเป็นโอกาสดีสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเกษตรที่จะใช้ความถนัดด้านการพัฒนาด้านซอฟแวร์ หรือผลิตเครื่องจักรกลด้านการเกษตรเข้ามาทำตลาดได้

ปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกษตรกรไทย สามารถจับต้องได้ และใช้งานได้จริง เพียงแค่เปิดรับ และกล้าที่จะปรับเปลี่ยน พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน มันสามารถจะช่วย่ให้การดูแล และการจัดการแปลงเกษตรของเราทำได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหนก็ตาม จากการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เพื่อก้าวสู่การเป็น SMART FARMER อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้การเกษตรเป็นเรื่องง่าย ๆ แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส


ขอขอบคุณ
http://www.mitrpholmodernfarm.com/news
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/606451
https://www.facebook.com/smartfarmthailand/?ref=ts&fref=ts
https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_23510
http://www.thairath.co.th/content/448146
https://brandinside.asia/smart-farming-thailand-opportunity/

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน การติดตั้งโรงเรือน

เรียนรู้ "การติดตั้งโรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ " เครื่องมือการผลิตพืชผักที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน ดิน ปฐมบทแห่งการปลูกพืช

คงไม่ใช่คำพูดที่กล่าวเกินจริง หากจะบอกว่า..ดินเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก เพราะตัวชี้ขาดความสำเร็จของการทำเกษตรคือดิน ถ้าดินดี-มีความอุดมสมบูรณ์ ย่อมถือว่าเกษตรกรคนนั้นมีชัยไปเกินครึ่ง ...แล้วดินแบบไหน? จึงจะดีและเหมาะสมสำหรับการปลูกและการเจริญเติบโตของพืช

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน ระบบน้ำเพื่อการเพาะปลูก

เมื่อใครสักคนตัดสินใจทำการเกษตร ประโยคที่มักถูกถามเสมอก็คือ “มีแหล่งน้ำแล้วหรือยัง” เพราะน้ำเป็นหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเพาะปลูก เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ที่มีน้ำเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตและการดำรงชีพ การใช้น้ำเพื่อการเกษตรในสมัยก่อนยังพึ่งพาธรรมชาติอยู่มาก ต่อเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจุดประกายให้เกิดการคิดค้นและพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรในหลากหลายรูปแบบ

เก็บตกกิจกรรม Club Farmday Workshop “ใช้น้ำอย่าง Smart เลือกตลาดให้เป็น”

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน โรคและแมลงศัตรูพืช

ดูเป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่เลือกซื้อหาผักที่สด ใหม่ ใบสวย มากกว่าผักที่มีรูพรุน ใบขาดแหว่ง หรือมีจุดเล็กๆ เป็นสีๆ เพราะเข้าใจว่าคือผักที่ปลอดภัย ไว้ใจได้ แม้ความเชื่อเหล่านี้จะได้รับคำอธิบายว่าไม่จริงเสมอไป คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพืชผักน่าจะมาจากสองสาเหตุใหญ่ๆ คือ โรคพืชและแมลงศัตรูพืช แต่ในความเป็นจริงกลุ่มของศัตรูพืชมีมากกว่านั้น และพบได้ตลอดระยะเวลาของการปลูกพืช ขึ้นกับว่าศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นเป็นอะไรและเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดของการเพาะปลูก
“ปลิว” หรือ พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เจ้าของฟาร์ม “แก้วพะเนาว์” ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีแนวทางการทำเกษตรบนพื้นฐานหลักวิชาด้านเกษตรที่ร่ำเรียนมา บวกกับประสบการณ์ที่เรียนรู้จากประเทศอิสราเอล หลอมหลวมให้เขานำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้พลิกผืนดินแห้งแล้งบ้านเกิดกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่สร้างรายได้ และกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัดมหาสารคาม ไม่เพียงปรับเปลี่ยนพื้นที่ตัวเอง แต่เขาได้ขยายความรู้และสร้างเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจ 6 กลุ่มใน 6 หมู่บ้านของตำบลนาภู และกำลังขยับไปสู่การจัดตั้งเป็น “สหกรณ์”   ความตั้งใจแรกที่กลับมาทำเกษตรบนพื้นที่ 7 ไร่ของครอบครัว “ปลิว” ต้องการทำให้เหมือนรูปแบบบริษัท จัดระบบการเพาะปลูกให้ครบวงจรในพื้นที่ ด้วยคิดว่าตัวเองทำได้ "กลับมาทำที่บ้านก็ต้องทำของตนเองก่อน คนที่กลับมาแล้วทำให้ชุมชนได้เลย อันนั้นเขามีทุน ตอนที่เริ่มทำ คิดว่าจะบริหารตัวเองได้ แต่ปรากฏว่าเรารับความเสี่ยงคนเดียว เราดูแลไม่ไหว ต้องจ้างคน แล้วก็มาคิดว่าถ้าจะทำเป็นธุรกิจ ต้องมีวัตถุดิบ ซึ่งเราทำเองทั้งหมดไม่ได้” และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ “ปลิว” เข้าไปเกี่ยวข้องกับ “ชุมชน” โดยเริ่มจากชุมชนหมู่ 17 ที่ติดกับพื้นที่ของเขา ปลิวเข้าไปชักชวนให้ปลูกผัก โดยให้ความรู้ทุกขั้นตอนการผลิต วางปฏิทินการเพาะปลูก กำหนดปริมาณผลผลิตที่ต้องการ จนเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจปลูกผักอินทรีย์หมู่ 17 มีพื้นที่ปลูกผักรวม 10 ไร่ ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการแบ่งโควต้าการผลิตให้เกษตรกรแล้วนำผลผลิตที่ได้มารวมกัน โดย “ปลิว” เป็นผู้เชื่อมโยงตลาด กลุ่มวิสาหกิจปลูกผักอินทรีย์หมู่ 17 เกิดขึ้นหลังจากที่ “ปลิว” กลับมาทำเกษตรได้ 3 ปี ปัจจุบันเขาได้ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจในตำบลนาภูอีก 5 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มปลูกผักหมู่ 8 กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ กลุ่มธนาคารใบไม้ กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ และกลุ่มหมู่บ้านทฤษฎีใหม่ ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากที่ชุมชนเข้ามาขอคำแนะนำจากเขา จากจุดเริ่มความคิดที่จะทำเกษตรในรูปแบบบริษัทในพื้นที่ของตนเอง ขยับสู่งานส่งเสริมชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่ม ภารกิจ “ส่งเสริมชุมชน” ที่ไม่ได้เป็นหมุดหมายของการกลับมาทำเกษตร แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ปลิว” ไปแล้ว และกลายเป็นจิ๊กซอว์สู่การสร้างสหกรณ์ของตำบล “ความคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากส่งเสริมชุมชนแรกและได้รู้จักคุณค่าของการส่งเสริม คนที่ได้สิ่งที่เราให้ เขามีความสุข เราก็มีความสุขกับเขา” การเกิดขึ้นของกลุ่มวิสาหกิจทั้ง 6 กลุ่มที่ “ปลิว” เข้าไปเป็นที่ปรึกษา เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่ “ปลิว” มองว่าจะนำไปสู่การจัดตั้งเป็น “สหกรณ์” จิ๊กซอว์แต่ละตัวเป็นต้นทางของวัตถุดิบในการปลูกผักทั้งเมล็ดพันธุ์ ขี้วัว หรือปุ๋ย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากแต่ละกลุ่มจะถูกส่งเข้าสหกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงตลาด “การเป็นสหกรณ์มีคณะกรรมการบริหาร มีการตรวจสอบ มีความน่าเชื่อถือ ชุมชนมีส่วนร่วม คณะกรรมการได้รับค่าตอบแทน แต่หากเป็นกลุ่มวิสาหกิจ กรรมการไม่มีค่าตอบแทน คนทำก็ท้อ สุดท้ายก็ล้ม” ทุกวันนี้ “ปลิว” ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แต่ละกลุ่ม เข้าไปช่วยคิด ให้ความรู้และแนะนำแนวทางให้กลุ่ม “มาทำแบบนี้เหมือนจิตอาสา ไม่ได้อะไร แต่ได้ความสุข เป็นภาระมั้ย ถ้าว่างก็ไม่เป็นนะ อยากเห็นชุมชนทั้งหมดที่เราช่วยไปต่อได้ ก็เกิดความคิดแปลกๆ ว่า ถ้าเราไม่ทำ แล้วใครจะทำ ทำไปเถอะ เดี๋ยวก็ไม่อยู่แล้ว"




Club Farmday ตอน ชุดตรวจโรคพืชของคนไทย

ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ทีมวิจัยต้องการให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้ชุดตรวจที่ง่าย สะดวก ราคาไม่แพง ที่สำคัญช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการแปลงได้ทันท่วงที หากพบการติดเชื้อโรคในแปลงปลูก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากผลผลิตที่เสียหายได้ “ปัจจุบันนอกจากบริษัทเมล็ดพันธุ์จะซื้อชุดตรวจนี้ให้เกษตรกรที่เป็นลูกไร่ใช้แล้ว ทีมวิจัยเองอยากผลักดันให้เกษตรกรที่ปลูกผลสดได้ใช้ เช่น เมล่อน ใช้ตรวจตอนเป็นต้นอ่อน ถ้ามีอาการโรคในช่วงต้นอ่อน ถ้าพบว่าเป็นโรค เขาสามารถแจ้งเคลมไปที่บริษัทเมล็ดพันธุ์นั้นได้” นอกจากนี้ทีมวิจัยยังอยู่ระหว่างพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชที่ครอบคลุมชนิดพืชผักเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้น ทั้งเชื้อกักกันและเชื้อที่ระบาดในประเทศ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการระบาดของเชื้อในแปลงเกษตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรและการส่งออกของประเทศได้ “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ผลิตภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์ หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้เฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรค และเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานสำหรับประเทศไทยและมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่าของต่างประเทศ จึงนับเป็นอีกความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการเกษตรของประเทศ “ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า” ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก โดยพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งหนึ่งในผลงานชุดตรวจวินิจฉัยที่ผลิตจำหน่ายแล้วคือ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียจากเชื้อ Acidovorax citrulli (Aac) ในพืชตระกูลแตง (แตงโม แตงกวา เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง ฟัก บวบ มะระ)


บ่อยครั้งที่เครื่องมือหรือเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากต่างประเทศที่ว่าดีที่ว่าเยี่ยม แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศเราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นดังที่หวัง เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เราจึงเห็นความพยายามของคนไทยที่พยายามพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับบริบทของบ้านเรา ดังเช่น “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” ผลงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยไทย
ดร.อรประไพ คชนันทน์ หัวหน้าทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กล่าวว่า ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชช่วยแยกหรือวินิจฉัยว่าพืชเป็นโรคอะไร เพื่อช่วยจัดการควบคุมโรคได้ บริษัทเมล็ดพันธุ์หรือหน่วยงานราชการที่ปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์ต้านทาน ต้องอาศัยชุดตรวจเพื่อช่วยตรวจเชื้อโรค ขณะเดียวกันการใช้ชุดตรวจมีความจำเป็นต่อการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นไม่มีเชื้อกักกัน
ทีมวิจัยของดร.อรประไพ มีความเชี่ยวชาญผลิตวัตถุชีวภาพที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคนั้นๆ ทีมวิจัยจึงได้นำคุณลักษณะนี้มาพัฒนาเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคพืชให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชในบ้านเรา
“ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า”
ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก โดยพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งหนึ่งในผลงานชุดตรวจวินิจฉัยที่ผลิตจำหน่ายแล้วคือ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียจากเชื้อ Acidovorax citrulli (Aac) ในพืชตระกูลแตง (แตงโม แตงกวา เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง ฟัก บวบ มะระ)
“เชื้อแบคทีเรีย Acidovorax citrulli ทำให้เกิดโรคผลเน่าในพืชตระกูลแตง  เชื้อนี้ทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตมากในพืชตระกูลแตงในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเชื้อนี้ถ่ายทอดผ่านเมล็ดพันธุ์ได้และอยู่ในเมล็ดพันธุ์ได้เป็นเวลานานหลายสิบปี เมื่อนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะ เชื้อสามารถเพิ่มปริมาณ ทำให้เกิดอาการของโรคและระบาดไปทั้งแปลงปลูก ซึ่งชุดตรวจนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปตรวจในแปลงปลูกได้”
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรีย หรือที่เรียกว่า ชุดตรวจ Aac detection Kit นี้เป็นชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ Immunochromatographic Strip Test มีความจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อ Aac ไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกับเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น และสามารถตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างต้นอ่อน ใบ และเปลือกของผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหนึ่งชุดตรวจประกอบด้วย ถาดพลาสติกสำหรับหยดน้ำยา น้ำยาสำหรับสกัดเชื้อ หลอดหยด และถุงเก็บตัวอย่างใบพืช ราคาจำหน่าย 1 กล่อง (10 ชุด) 1,000 บาท ซึ่งวิธีการใช้งานง่าย เกษตรกรเก็บใบพืชที่คาดว่าจะเป็นโรคลงในถุงเก็บตัวอย่าง จากนั้นหยดน้ำยา 2 หยดในถุง แล้วบดใบพืชให้ละเอียด แล้วนำหลอดหยดดูดน้ำจากในถุง หยดลงบนถาด 3 หยด ทิ้งไว้ 5 นาที หากพืชติดเชื้อโรคจะมีแถบสีปรากฏ 2 แถบ แต่ถ้าไม่มีเชื้อโรคจะขึ้นเพียงหนึ่งแถบ ทั้งนี้แต่ละชุดตรวจใช้งานได้ครั้งเดียว
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ทีมวิจัยต้องการให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้ชุดตรวจที่ง่าย สะดวก ราคาไม่แพง ที่สำคัญช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการแปลงได้ทันท่วงที หากพบการติดเชื้อโรคในแปลงปลูก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากผลผลิตที่เสียหายได้
“ปัจจุบันนอกจากบริษัทเมล็ดพันธุ์จะซื้อชุดตรวจนี้ให้เกษตรกรที่เป็นลูกไล่ใช้แล้ว ทีมวิจัยเองอยากผลักดันให้เกษตรกรที่ปลูกผลสดได้ใช้ เช่น เมล่อน ใช้ตรวจตอนเป็นต้นอ่อน ถ้ามีอาการโรคในช่วงต้นอ่อน ถ้าพบว่าเป็นโรค เขาสามารถแจ้งเคลมไปที่บริษัทเมล็ดพันธุ์นั้นได้”
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังอยู่ระหว่างพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชที่ครอบคลุมชนิดพืชผักเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้น ทั้งเชื้อกักกันและเชื้อที่ระบาดในประเทศ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการระบาดของเชื้อในแปลงเกษตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรและการส่งออกของประเทศได้
“ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ผลิตภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์ หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้เฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรค และเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานสำหรับประเทศไทยและมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่าของต่างประเทศ จึงนับเป็นอีกความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการเกษตรของประเทศ
# # #

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช”
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3331 
สนใจสั่งซื้อ “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรีย”
บริษัท พาร์เวล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
โทรศัพท์ 0 2434 3671-3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น