วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

เมืองโบราณอาณาจักรพยู มรดกโลกแห่งแรกของพม่า

เมืองโบราณอาณาจักรพยู มรดกโลกแห่งแรกของพม่า

ผลจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 38 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ที่ผ่านมา มีการประกาศรายชื่อมรดกโลกแห่งใหม่ไปแล้วทั้งสิ้น 20 แห่ง โดยแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 19 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 1 แห่ง ซึ่งมาจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา

เมืองโบราณอาณาจักรพยู 
มรดกโลกแห่งแรกของพม่า


1403587543-img0685-o

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ มีการประกาศมรดกโลกแห่งใหม่ที่อยู่ในพม่า โดยถือเป็นมรดกโลกแห่งแรกที่อยู่ในพม่า อีกด้วย นั่นคือ กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Ancient Cities) ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งกลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู จะรวมไปถึงพื้นที่ของเมืองโบราณศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 4
1403588319-bto4-o
“ชาวพยู” คือใคร?
ชาวพยู เป็นชนชาติที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนชาวพม่าดั้งเดิม แต่นักวิชาการบางท่านก็ว่า “ชาวพยู เป็นชาวพม่าแท้จริง100เปอร์เซนต์!” โดยอาชีพหลักของชาวพยู คือ การทำเกษตรกรรม ด้วยความที่ดินในบริเวณที่ชาวพยูตั้งถิ่นฐานอยู่นั้น มีลักษณะเป็นที่ราบสูง (คล้ายๆ ภาคอีสานบ้านเรา) ถึงแม้จะมีแม่น้ำไหลผ่าน แต่ในหน้าร้อน ก็แห้งเหือด แต่ชาวพยูก็มีความสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายได้ โดยการทำวิธีการผันน้ำ จากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสายรอง เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำเกษตรกรรม และยังมีการขุดคูคลองรอบๆ เมือง พร้อมอ่างเก็บน้ำ เพื่อไว้ใช้น้ำในยามหน้าแล้ง
557000007299301
เมื่อความเจริญของชาวพยูไม่หยุดลงเพียงเท่านี้ ชาวพยูได้เริ่มจับกลุ่มรวมกันสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ขึ้นมา มีชื่อว่า “อาณาจักรศรีเกษตร
1403590479-KKG121disp-o
ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ขนาดกว้างขวาง กินพื้นที่เกือบทั้งหมดของลุ่มน้ำอิรวดี โดยอาณาจักรศรีเกษตรนี้ ได้รับอิทธิพล ในเรื่องของภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และ พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย โดยศูนย์กลางหลักของอาณาจักรนี้ ตั้งอยู่ที่เมือง “ศรีเกษตร” ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับอาณาจักร แน่นอนว่า ศรีเกษตร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกล่าสุด เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ร่องรอยอารยธรรมบริเวณใกล้เคียงศรีเกษตร อย่างเมืองเบคถาโน และเมืองฮาลิน ซึ่งทั้ง 3 เมือง ได้ถูกผนึกรวมกันแล้วขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของพม่า ในชื่อ เมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Acient Cities)
1403590094-87123418-o 1403588844-87123384-o
แต่ในปัจจุบันนี้ ทั้งศรีเกษตร เบคถาโน และ ฮาลิน แทบจะไม่หลงเหลือความยิ่งใหญ่ ในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีเพียงซากปรักหักพัง ของโบราณสถาน เพราะยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือเจดีย์ ซากเมืองโบราณ คูน้ำ กำแพงเมือง ที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ปัจจุบันนี้ แหล่งโบราณคดีเมืองเก่าของชาวพยู คงจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้น จาก Unesco และประเทศพม่าเอง เพราะต่อไปนี้ เมืองโบราณแห่งนี้ ไม่ได้เป็นสมบัติของพม่าประเทศเดียวแล้ว แต่นับต่อจากนี้ เมืองเก่านับพันปีแห่งนี้ จะเป็นสมบัติของคนทั้งโลก ที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาสืบต่อไป
1403589552-Screenshot-oภาพถ่ายแสดงเขตกำแพงเมืองโบราณศรีเกษตร
ข้อมูลและภาพ : unesco.org / http://pantip.com/topic/32234675 / wiki
เรียบเรียงโดย Travel MThai

https://travel.mthai.com/world-travel/87302.html

มรดกโลกในเมียนมาร์ 1 : กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู

ประเภท : มรดกโลกด้านวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน : พ.ศ. 2557
ชื่อเป็นทางการ : กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Ancient Cities)
ที่ตั้ง : ประเทศเมียนมาร์
เรียบเรียง : เสถียรพงศ์ ใจเย็น

กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (PYU ANCIENT CITIES)

ที่มาและความสำคัญ

กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Ancient Cities) ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของเมียนมาร์ โดยรวมไปถึงพื้นที่ของเมืองโบราณศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ในราวพุทธศตวรรษที่ 4
ภาพจาก: whc.unesco.org/en/list/1444/

ชาวพยู เป็นชนชาติดั้งเดิมที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนชาวพม่า มีอาชีพหลักในการทำเกษตรกรรม บริเวณถิ่นฐานที่ชาวพยูตั้งอยู่นั้นมีลักษณะเป็นที่ราบสูง ถึงแม้จะมีแม่น้ำไหลผ่าน แต่ในหน้าร้อนก็แห้งเหือด แต่ชาวพยูก็มีความสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายได้ โดยการทำวิธีการผันน้ำจากแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำสายรอง เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำเกษตรกรรม และยังมีการขุดคูคลองรอบๆ เมือง พร้อมอ่างเก็บน้ำ เพื่อไว้ใช้น้ำในยามหน้าแล้ง เมื่อมีความเจริญมากขึ้น ชาวพยูรวมกันสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ขึ้นมา มีชื่อว่า “อาณาจักรศรีเกษตร”

อาณาจักรศรีเกษตรเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ขนาดกว้างขวาง กินพื้นที่เกือบทั้งหมดของลุ่มน้ำอิรวดี โดยอาณาจักรศรีเกษตรนี้ ได้รับอิทธิพล ในเรื่องของภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และ พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย โดยสันนิษฐานว่าชื่อเมืองศรีเกษตร อาจได้มาจากชื่อเมืองโบราณในอินเดีย คือเมืองปุรี ในแคว้นโอริสสา

เมืองศรีเกษตรปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร นอกจากนี้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันยังพบหลักฐานการก่อตั้งชุมชนของชาวพยูในเมืองเบคถาโนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองพุกามประมาณ 100 กิโลเมตร และเมืองฮาลินอยู่ทางทิศเหนือของเมืองมัณฑะเลย์ ก่อนที่จะเสื่อมไป เนื่องจากถูกกลุ่มคนไตจากน่านเจ้ายกกองทัพลงมาตีและกวาดต้อนผู้คนชาวพยูไปอยู่ที่เมืองจาตุง ตอนใต้ของจีนบริเวณเมืองคุณหมิงปัจจุบัน
ภาพจาก: whc.unesco.org/en/list/1444/

หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของชาวพยู ซึ่งเชื่อว่าเป็นรากฐานของงานสถาปัตยกรรมของชนชาติพม่า พบที่เมืองศรีเกษตร ได้แก่ เจดีย์ขนาดใหญ่แบบก่อตัน เป็นเจดีย์ทรงระฆังชื่อว่าเจดีย์บอบอจี (Bawbaw Gyi) และเจดีย์ปะยาจีย์ (Pya Gi) ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นแบบให้กับงานสถาปัตยกรรมของพม่าในยุคต่อ ๆ มา ได้แก่ เจดีย์ชเวดากอง มิงกาลาเจดีย์ เจดีย์ธรรมยันสิกะ และเจดีย์วิหาร เป็นสิ่งก่อสร้างจากอิฐที่มีลักษณะรวมกันระหว่างเจดีย์ก่อตันและอาคาร(วิหาร) ที่เข้าไปใช้สอยพื้นที่ภายในในการประกอบพิธีกรรมได้ เจดีย์วิหารที่สำคัญ ได้แก่ วิหารเบเบจี (Bebe Gyi) และวิหารเลเมียทนา (Limyethna) อาคารลักษณะนี้เชื่อว่าพัฒนาไปเป็นเจดีย์วิหารที่มีขนาดใหญ่ในสมัยพุกามต่อมา นอกจากนี้ยังพบหลักฐานงานประติมากรรมที่ทำจากหินสลัก ประติมากรรมดินเผา ซึ่งพบว่าเป็นดินชนิดเดียวกับอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารและเจดีย์ ประติมากรรมสำริด โดยมีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญคือ ประติมากรรมสำริดกลุ่มนักดนตรีและนักเต้นรำ โดยที่ท่ารำนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับอารยธรรมอินเดียอย่างใกล้ชิด
เจดีย์บอบอจี (Bawbaw Gyi Pagoda) ในศรีเกษตร ซึ่งเป็นต้นแบบของเจดีย์ในยุคพุกาม
ภาพจาก: en.wikipedia.org/wiki/Pyu_city-states

จากหลักฐานที่พบ จึงนับได้ว่าชนชาติพยู เป็นชนชาติที่มีความสำคัญในการวางรากฐานงานสถาปัตยกรรมให้กับผู้คนยุคหลังของพม่าเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียนำมาปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของตนอย่างเหมาะสม

แต่ในปัจจุบันนี้ ทั้งศรีเกษตร เปียทะโนมโย และหะลินยี แทบจะไม่หลงเหลือความยิ่งใหญ่ ในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีเพียงซากปรักหักพัง ของโบราณสถาน เพราะยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือเจดีย์ ซากเมืองโบราณ คูน้ำ กำแพงเมือง ที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ปัจจุบันนี้ แหล่งโบราณคดีเมืองเก่าของชาวพยู คงจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้น จากยูเนสโกและประเทศพม่าเอง เพราะเมืองโบราณแห่งนี้ ไม่ได้เป็นสมบัติของประเทศพม่าเท่านั้น แต่เมืองเก่านับพันปีแห่งนี้จะเป็นสมบัติของคนทั้งโลก ที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาสืบต่อไป
ซากเมืองโบราณของอาณาจักรพยูที่ยังคงเหลืออยู่
www.buriramguide.in.th/90565/ท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวรอบโลก/
เมืองโบราณอาณาจักรพยู-มรดกโลกแห่งแรกของพม่า.html

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร ประเทศพม่า

ที่ตั้งของเมืองศรีเกษตร เปียทะโนมโย และหะลินยี ในยุคโบราณ

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพะยู ได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 38 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา จำนวน 3 ข้อ ดังนี้
(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ


อ้างอิง
บูรพา โชติช่วง. “มรดกโลกพม่า” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.siamrath.co.th/web/?q=มรดกโลกพม่าบูรพา-โชติช่วง (4 สิงหาคม 2557)

modern publishing.“ปยู ชนชาติผู้สร้างรากฐานทางสถาปัตยกรรมของพม่า” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.modernpublishing.co.th/ปยู (4 สิงหาคม 2557)

Travel MThai.“เมืองโบราณอาณาจักรพะยู มรดกโลกแห่งแรกของพม่า” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://travel.mthai.com/uncategorized/87302.html (4 สิงหาคม 2557)

UNESCO World Heritage Centre. “Pyu Ancient Cities” [online]. Available http://whc.unesco.org/en/list/1444/ (4 สิงหาคม 2557)
http://aseannotes.blogspot.com/2014/08/blog-post_9.html

ปยู ชนชาติผู้สร้างรากฐานทางสถาปัตยกรรมของพม่า

WRITTEN BY WARITTHA ON MAY 14TH, 2013. POSTED IN บทความ
สหภาพพม่า เป็นประเทศทางฝั่งทิศตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชนกลุ่มน้อยอันหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในต้นกำเนิดของชนชาติชาวพม่านั้นก็คือ ชนชาติ พะยู หรือ ปยู
ชาวปยู (เรียกแบบจีนว่า เปียว P-iao ปรากฏอยู่ในเอกสารจีน) เป็นชนชาติที่มีหลักฐานว่าอาศัยอยู่ในประเทศพม่ามาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 10 ก่อนที่ชาวพม่าจะอพยพลงมาจากเทือกเขาทิเบต มีนักวิชาการแสดงความเห็นว่าเป็นคนละเผ่าพันธุ์กับชาวพม่า แต่มีนักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน และยังพบหลักฐานว่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-16 ชาวปยูบางส่วนได้อพยพไปอาศัยอยู่รวมตัวกับชาวพม่าแถบที่ราบรอบๆ เมืองพุกาม มีหลักฐานว่า ชาวปยูตั้งชุมชนเป็นบ้านเมืองและอาณาจักรที่มีกษัตริย์ปกครอง เช่นที่เมืองโบราณศรีเกษตร อาณาจักรนี้ได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวทางวัฒนธรรมอินเดีย ที่แผ่ลงมายังตอนกลางและตะวันตกของแหลมอินโดจีน โดยสันนิษฐานว่า ชื่อ เมืองศรีเกษตร อาจได้มาจากชื่อเมืองโบราณในอินเดีย คือเมืองปุรี ในแคว้นโอริสสา เมืองศรีเกษตรปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร นอกจากนี้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ยังพบหลักฐานการก่อตั้งชุมชนของชาวปยูในเมืองเบคถาโนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองพุกามประมาณ 100 กิโลเมตร และเมืองฮาลิน อยู่ทางทิศเหนือของเมืองมัณฑะเลย์ ก่อนที่จะเสื่อมไปเนื่องจากถูกกลุ่มคนไตจากน่านเจ้ายกกองทัพลงมาตีและกวาดต้อนผู้คนชาวปยูไปอยู่ที่เมืองจาตุง ตอนใต้ของจีนบริเวณเมืองคุณหมิงปัจจุบัน
หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของชาวปยูซึ่งเชื่อว่าเป็นรากฐานของงานสถาปัตยกรรมของชนชาติพม่า พบที่เมืองศรีเกษตร ได้แก่ เจดีย์ขนาดใหญ่แบบก่อตัน เป็นเจดีย์ทรงระฆังชื่อว่าเจดีย์บอบอจี (Bawbaw Gyi) และเจดีย์ปะยาจีย์ (Pya Gi) ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเค้าให้กับงานสถาปัตยกรรมของพม่าในยุคต่อๆ มา อันได้แก่ เจดีย์ชเวดากอง มิงกาลาเจดีย์ เจดีย์ธรรมยันสิกะ และเจดีย์วิหาร เป็นสิ่งก่อสร้างจากอิฐ ที่มีลักษณะรวมกันระหว่างเจดีย์ก่อตันและอาคาร (วิหาร) ที่เข้าไปใช้สอยพื้นที่ภายในในการประกอบพิธีกรรมได้ เจดีย์วิหารที่สำคัญ ได้แก่ วิหารเบเบจี (Bebe Gyi)และวิหารเลเมียทนา (Limyethna) อาคารลักษณะนี้เชื่อว่าพัฒนาไปเป็นเจดีย์วิหารที่มีขนาดใหญ่ในสมัยพุกามต่อมา นอกจากนี้ยังพบหลักฐานงานประติมากรรมที่ทำจากหินสลัก ประติมากรรมดินเผาซึ่งพบว่าเป็นดินชนิดเดียวกับอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารและเจดีย์ ประติมากรรมสำริด โดยมีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญคือ ประติมากรรมสำริดกลุ่มนักดนตรีและนักเต้นรำ โดยที่ท่ารำนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับอารยธรรมอินเดียอย่างใกล้ชิด
จากหลักฐานที่พบ จึงนับได้ว่าชนชาติปยู เป็นชนชาติที่มีความสำคัญในการวางรากฐานงานสถาปัตยกรรมให้กับผู้คนยุคหลังของพม่าเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียนำมาปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของตนอย่างเหมาะสม
อ้างอิง
ภภพพล จันทร์วัฒนกุล. 2554. ประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ยอร์ช เซเดซ์. 2525. ชนชาติต่างๆ ในแหลมอินโดจีน. แปลโดย ปัญญา บริสุทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ข้อมูลภาพ
รูปที่ 1  แผนที่อาณาจักรศรีเกษตร ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณของชาวปยู
รูปที่ 2 แผนที่อาณาจักรศรีเกษตร เทียบกับแผนที่ในปัจจุบัน
 
รูปที่ 3 มหาธรรมเจดีย์ บอบอจี ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองศรีเกษตร ซึ่งอยู่ในเขตเมืองแปรของพม่า ในปัจจุบัน ลักษณะของเจดีย์สร้างด้วยอิฐ มีฐานกลมรองรับ มีความสูงถึง 42 เมตร ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเค้าให้กับงานสถาปัตยกรรมของพม่าในยุคต่อๆ มา
รูปที่ 4 มิงกาลาเจดีย์ เจดีย์แบบก่อตันในสมัยพุกาม จะเห็นได้ว่ามีรูปแบบที่ปรับมาจากเจเดีย์ในสมัยปยู
 
รูปที่ 5 (ซ้าย) วิหารเบเบจี (Bebe Gyi) และ (ขวา) วิหารเลเมียทนา (Limyethna) วิหารสมัยปยู พบในอาณาจักรศรีเกษตร ต้นแบบของเจดีย์วิหารสมัยพุกามและยุคหลังๆ
รูปที่ 6 วิหาร อานันทเจดีย์
 รูปที่ 7 ระฆังสัมฤทธิ์ ค้นพบใกล้เจดีย์ปยะมะ เมืองศรีเกษตร ศ.ปยุ (พม่าตอนต้น)
https://www.modernpublishing.co.th/ปยู



อาณาจักรศรีเกษตร
อาณาจักรศรีเกษตรเป็นอาณาจักรโบราณของชาวปะยูหรือผิว  เป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงเดียวกันกับอาณาจักรฟูนัน  แต่เป็นที่รู้จักกันน้อยเนื่องจากมีอาณาเขตที่ไม่กว้างขวางมากนัก  ศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่เมืองศรีเกษตร  ปัจจุบันคือเมืองเมืองฮมอซา (Hmawza)  ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแปร (Prome) ไปทางใต้ 6 ไมล์  มีอาณาบริเวณครอบคลุมบริเวณลุ่มแม่น้ำอิระวดีในภาคกลาง  และภาคใต้ของประเทศพม่าในปัจจุบัน  ชนชาติปะยูนับถือพระพุทธศาสนา  ได้รับความเจริญทางอักษรศาสตร์จากอินเดีย  ชนชาติปะยูมีเชื้อสายเดียวกับพม่า  โดยอพยพลงมาจากทิเบตและทางตอนใต้ของจีน  ในยุคที่รุ่งเรือง  อาณาจักรนี้มีอำนาจปกครองเกือบตลอดแหลมมลายู  จากนั้นถูกชนชาติมอญและอาณาจักรน่านเจ้ารุกราน  และเริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ  หลังจากนั้นก็ตกอยู่ในอำนาจของชนชาติพม่า  ซึ่งก็คืออาณาจักรพุกามนั่นเอง
         เงินตราของอาณาจักรศรีเกษตร  ทำจากโลหะเงิน  มี 2 ขนาด  คือ  ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก  ช่วงแรกของการสร้างเหรียญ  ชาวปะยูคงนับถือศาสนาพราหมณ์เหมือนกับอาณาจักรอื่นๆในบริเวณใกล้เคียงกัน  ต่อมาจึงหันมานับถือศาสนาพุทธ  เห็นได้จากเหรียญที่ผลิตขึ้นจะมีรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์  การผลิตเหรียญใช้วิธีตอกตรา  โดยตัดแผ่นเงินตามน้ำหนักแล้วสอดวางไว้บนทั่งที่มีแม่พิมพ์ด้านล่าง  และตอกแม่ตราด้านบนด้วยค้อน  แผ่นโลหะเงินจะประทับติดรูปจากแม่พิมพ์ทั้งสองด้าน  การผลิตเหรียญแบบนี้ทำให้เหรียญของชาวศรีเกษตรมีลักษณะโค้งงอคล้ายกับกระทะ  เงินตราศรีเกษตรมีลักษณะเป็นเหรียญเงินกลม  ด้านหนึ่งเป็นรูปภัทรบิฐหรือบัลลังก์ (บางเอกสารบอกว่าเป็นกลองพราหมณ์)  ภายในกรอบที่ล้อมด้วยจุดไข่ปลา  อีกด้านหนึ่งเป็นรูปปราสาท  มีรูปสังข์หรือรูปศิวะลึงค์อยู่ภายใน  ศิวะลึงค์นั้นเป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะ  ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่า  คนในอาณาจักรศรีเกษตรสมัยแรกเริ่มนั้นน่าจะนับถือศาสนาพราหมณ์ไศวะนิกาย  ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด
         ตัวปราสาทเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาส  อันเป็นสถิตของพระศิวะ  ด้านล่างเป็นพื้นน้ำซึ่งเปรียบเมือนมหานทีสีทันดร  ซึ่งอยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ  ด้านซ้ายขนาบด้วยวิวัชระ (อาวุธมีปลายแหลมทั้งสองด้าน)  ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ที่เป็นหัวหน้าของเทวดาทั้งปวง  เป็นสิ่งแทนเทพแห่งการต่อสู้หรือเรียก ง่ายๆ ว่าฝ่ายบู๊นั่นเอง  ด้านขวาขนาบด้วยหอยสังข์  ซึ่งเป็นอาวุธของพระพิฆเณศโอรสของพระศิวะ  เป็นเทพแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะหรือเรียกง่ายๆ ว่าฝ่ายบุ๋น  ด้านบนเป็นพระอาทิตย์และพระจันทร์  เปรียบให้เห็นว่าในโลกมีทั้งกลางวันและกลางคืน  เหรียญเงินของศรีเกษตรแสดงให้เห็นถึงงานฝีมือและศิลปวัฒนธรรม  ที่สะท้อนความเชื่อของผู้คนได้เป็นอย่างดี

ที่มาของภาพ : http://skyline2526.blogspot.com/2012/12/4-13.html
http://119.46.166.126/self_all/selfaccess7/m1/633/lesson4/more5.php


ประวัติความเป็นมาของชาวพยู
“….ประเทศพม่ามีหลายชาติหลายภาษาซึ่งเคยอยู่มาแต่ก่อนเก่า เช่น พวกมอญ พวกยักไข่ พวกกะเหรี่ยง พวกละว้าและพวกไทยใหญ่ เป็นต้น ยังมีเชื้อสายปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ แต่พวกพยุนั้นแม้มีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า บรรลุวัฒนธรรมสูงๆ แต่เดี๋ยวนี้ศูนย์ไปหมดทีเดียว ยังมีแต่ศิลาจารึกภาษาพยุและจารึกเป็นตัวอักษร เป็นพยานอยู่ทีเมืองสารเขตรและเมืองพุกาม หนังสือพยุก็ไม่มีใครอ่านออกมาช้านาน จนเมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษพบศิลาจารึกหลัก 1 ที่วัดมงคลเจดีย์ เมืองพุกาม จารึกเป็นตัวอักษรและภาษาต่างกันทั้ง 4 ด้าน เป็นภาษามคธด้าน 1 ภาษาพม่าด้าน 1 ภาษามอญด้าน 1 และภาษาพยุด้าน 1 นักปราชญ์อังกฤษคนหนึ่งชื่อ Blagden จึงพากเพียรอ่านภาษาพยุได้ด้วยเทียบเคียงกับภาษาอื่นซึ่งจารึกความอย่างเดียวกันในหลักศิลานั้น ได้ความว่า พวกพยุเอาแบบอักษร กะดัมพะ (Kadamba) ซึ่งใช้กันในอินเดียฝ่ายใต้ในราว .. 900 มาเป็นต้นอักษรพยุ...”
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ, 2514: 395)
จากพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ โบราณคดีและมัคคุเทศก์ไทย ทำให้ทราบเรื่องราวของพยู ซึ่งในพระนิพนธ์ของพระองค์เขียนไว้ว่าพยุทำให้คนไทยที่มีความสนใจได้ประวัติศาสตร์โบราณคดีได้ทราบถึงพวกพยูในประเทศพม่าในขณะนั้นพอสังเขป ต่อมาศาสตราจารย์ .. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้นิพนธ์เรื่อง ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง .. 2000 ไว้ว่าชาวจีนอาจได้ติดต่อกับอาณาจักรเพี้ยว (P’iao) ผ่านทางแคว้นยูนนานตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรนี้ส่วนใหญ่ก็ตรงกับดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดี คำว่าเพี้ยวก็เป็นการเขียนภาษาจีนของคำว่าปยุนั่นเอง” (สุภัทรดิศ ดิศกุล, 2549: 92)
พยุ ปยุ หรือ พยู ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพม่า เป็นชาวพื้นเมือง ในต านานกล่าวถึง สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับดินแดนแถบนี้ ในต านานมีการกล่าวถึงพระนามของพระมหากษัตริย์ไว้ด้วย แต่ไม่อาจเชื่อถือได้อย่างแน่นอน สมัยพุทธศตวรรษที่ 11 น่าจะมีกลุ่มชนชาติพยูอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบอันอุดมสมบูรณ์แห่งกโยกเซ (Kyaukse) และในดินแดนแถบเมืองพุกาม มีชนชาติพยูซึ่งนับถือพุทธศาสนา โดยได้รับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียภาคเหนือและทางภาคใต้ของพม่า 
พระภิกษุจีนนามว่า ซวนซัง (Hsuan-tsang) หรือเหี้ยนจังและอี้จิง ได้กล่าวว่า ทางทิศตะวันตกของอาณาจักรทวารวดีมีอาณาจักรชื่อว่าเชลิฉาตาโล (She-li-ch’a-ta-lo) คือศรีเกษตรซึ่งเป้นชื่อเมืองแปรในสมัยโบราณ (ภาษาพม่าว่า ถเยเขตตยะ Thayekhettaya) ที่ตั้งของราชธานีของพยูโบราณตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศพม่า แก่บริเวณเมืองโบราณที่โมซาใกล้กับเมืองแปร เมืองนี้มีกำแพงอิฐก่อเป็นรูปวงกลมล้อมรอบ มีการค้นพบพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียแบบคุปตะรุ่นหลัง ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 11 มีการค้นพบศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและนิกายมูลสรรวาสติวาทินใช้ภาษาสันสกฤตในเมืองศรีเกษตรด้วย  นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศิลาจารึกในกลางพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นภาษาพยูกล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ดังนี้
.. 1231 พระเจ้าสูรยวิกรมสิ้นพระชนม์ พระชนมายุ 64 พรรษา
.. 1238 พระเจ้าหริวิกรมสิ้นพระชนม์ พระชนมายุ 41 พรรษา
.. 1261 พระเจ้าสีหวิกรมสิ้นพระชนม์ พระชนมายุ 44 พรรษา
ยังมีพระนามของพระมหากษัตริย์อีก 2 พระองค์คือ พระเจ้าประภุวรมันและพระเจ้าชัยจันทรวรมันอีกด้วย (สุภัทรดิศ ดิศกุล, 2549: 93-94)
ชาวพยูจึงน่าจะเป็นชนชาติที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนชาวพม่าดั้งเดิม  ตามที่นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าชาวพยู อาจจะเป็นชาวพม่าอย่างแท้จริงโดยชาวพยูมีอาชีพหลัก คือ การทำเกษตรกรรม เนื่องจากที่ดินในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของชาวพยูนั้น  มีลักษณะเป็นที่ราบสูง (คล้ายๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานในประเทศไทย) ที่ตั้งของเมืองพยู มีแม่น้ำไหลผ่าน ในช่วงหน้าร้อน อากาศจะร้อนและแล้งจัด ชาวพยูก็มีความสามารถปรับตัวกับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี โดยการใช้วิธีการผันน้ำจากแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำสายรองเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำเกษตรกรรม และยังมีการขุดคูคลองรอบๆ เมือง พร้อมอ่างเก็บน้ำ เพื่อไว้ใช้น้ำในยามหน้าแล้ง
อาณาจักรศรีเกษตรซึ่งพัฒนาขึ้นจากชาวพยูนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกล่าสุดพร้อมกับร่องรอยอารยธรรมบริเวณใกล้เคียงศรีเกษตร อย่างเช่น เมืองเบคถาโน และเมืองฮาลิน  ทั้ง 3 เมือง ได้รับการผนวกรวมกันแล้วขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของพม่าในชื่อเมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Acient Cities)

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้กล่าวถึง งานศิลปะ สถาปัตยกรรมที่ชาวพยูสร้างสรรค์ไว้ ที่น่าสนใจมีดังนี้
ศิลปะปยุหรือพยู (Pyu) ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 มีเมืองสำคัญคือ เมืองไบค์ถาโนหรือเบคถาโน (Beikthano) ตั้งอยู่ตอนกลางของเมืองฮาลิน (Halin) ตั้งอยู่ทางเหนือ และเมืองศรีเกษตรหรือถเยชิตตะเย (Thayekhittaye) ตั้งอยู่ใกล้เมืองแปร (Prome) 
งานสถาปัตยกรรม เมืองศรีเกษตรยังคงเหลือหลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ เจดีย์ โดยสามารถแบ่งเจดีย์ออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ 
1. กลุ่มเจดีย์ลอมฟางหรือทรงกระบอก ได้แก่ ปยาจี (Payagyi) ปยามา (Payama) และบอบอจี (Bawhawgyi) 
2. กลุ่มเจดีย์วิหารกู่ปายา หมายถึง มีวิหารอยู่ด้านล่างสามารถเดินเข้าไปได้และมียอดเป็นเจดีย์ ได้แก่ วิหารเซกูตะวันออก (East Zegu Temple) วิหารเลมเยธนา (Lemyethna Temple) และวิหารเบเบ (Bebe Temple) 

กลุ่มที่ 1 เจดีย์ทรงลอมฟางหรือทรงกระบอก
วัฒนธรรมพยูพบหลักฐานของเจดีย์ที่เมืองไบค์ถาโน พบเพียงส่วนฐาน ได้แก่ เจดีย์หมายเลข KKG 2 และ KKG 14 ส่วนของฐานเจดีย์องค์ KKG 2 มีส่วนฐานขององค์ระฆังขนาดใหญ่ที่มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ทิศ ลักษณะของเจดีย์จึงน่าจะเป็นเจดีย์ระฆังในผังทรงกลม น่าจะเป็นอิทธิพลของสถูปสมัยอมราวดี ส่วนหมายเลข KKG 14 น่าจะมีแผนผังแบบเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณที่มีมุขด้านหน้าเป็นทางขึ้นเจดีย์ แต่ไม่มีมุขประจำทิศทั้ง 4 รูปทรงของเจดีย์น่าจะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง (แบบโอคว่ำ)    หรืออาจจะเป็นทรงกระบอกก็ได้
ภาพสลักสถูปจำลองได้รับการค้นพบเป็นจำนวนมาก ลักษณะของสถูปจำลองมีรูปแบบเดียวกัน แต่มีการประดับตกแต่งแตกต่างกันบ้าง องค์หนึ่งพบที่เนินซิ่นบา (Khinba) ในเมืองศรีเกษตร เป็นสถูปจำลองสลักบนแผ่นหิน ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองศรีเกษตร ลักษณะสถูปเป็นองค์ระฆังเป็นทรงโอคว่ำ ที่ฐานประดับพระพุทธรูปในซุ้มจระนำโดยเรียงเป็นแถว 5 องค์
เจดีย์ทรงลอมฟาง คือ เจดีย์ที่มีรูปแบบขององค์ระฆังมีลักษณะคล้ายกับลอมฟาง ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร เพราะมีรูปแบบที่แตกต่างจากเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะอื่นๆ ลักษณะเป็นฐานเขียงรอบรับองค์ระฆังซึ่งเป็นทรงลอมฟางและทรงกระบอก ส่วยอดเป็นทรงกรวย ไม่น่าจะมีบัลลังก์และปล้องไฉน น่าจะมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 
 กลุ่มที่ 2 เจดีย์วิหารกู่ปายา
น่าจะพัฒนามาจากศาสนสถานเป็นทรงปราสาทในศิลปะอินเดีย ที่เมืองศรีเกษตรนี้พบเพียง 3 แห่ง ได้แก่ วิหารเซกูตะวันออก (East Zegu Temple) วิหารเลมเยธนา (Lemyethna Temple) และวิหาร (Bebe Temple) สำหรับวิหารเซกูตะวันออกเหลือเฉพาะส่วนอาคาร ส่วนยอดพังทลายลงหมดแล้ว วิหารเลมเยธนา ส่วนบนเหลือเฉพาะฐานซึ่งน่าจะเป็น
ฐานเจดีย์ เนื่องจากมีฐานเขียงซ้อนกัน วิหารเบเบยังเหลือส่วนยอดให้ศึกษาได้ ส่วนยอดเป็นเจดีย์และเป็นเจดีย์ทรงลอมฟางซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศรีเกษตร กล่าวคือ แผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาด้านหน้าเป็นทางเข้าภายใน ส่วนอีก 3 ด้านเป็นซุ้มจระนำ มีการประดับเสาติดผนังน่าจะพัฒนามาจากเครื่องไม้ ภายในอาคารมี 2 แบบ คือ แบบไม่มีแกนรับน้ำหนัก มีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ท้ายอาคาร มีทางเข้าด้านเดียว เช่น วิหารเซกูตะวันออก อีกแบบหนึ่งเป็นอาคารจัตุรมุข มีทางเข้า 4 ด้าน มีแกนกลางหรือแท่งอยู่กลางอาคารใช้เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนยอด และที่แกนกลางนี้นิยมประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน   มีทางเดินประทักษิณภายในอาคาร เช่น วิหารเลมเยธนา    ส่วนวิหารเบเบ มีส่วนบนเป็นเจดีย์ทรงลอมฟางที่เป็นรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นในศิลปะศรีเกษตร แต่เป็นวิหารขนาดเล็ก ไม่มีแกนกลางรับน้ำหนัก
(ศักดิ์ชัย สายสิงห์, 2557: 52-62)
งานประติมากรรม พบในศาสนาพุทธทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู แต่ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมเนื่องในศาสนาพุทธแบบเถรวาท กล่าวคือ พระพุทธรูปเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งมีงานประติมากรรมนูนสูงที่น่าจะสร้างขึ้นเพื่อประดับโบราณสถาน การสร้างพระพุทธรูปนิยมทำปางสมาธิ ปางมารวิชัย และมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นอดีตพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ และ 5 พระองค์ 
ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้กล่าวถึงรูปแบบศิลปกรรม ที่แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 
ระยะที่ 1 อิทธิพลศิลปะคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-14 
ที่พบมีพระพุทธรูปทองคำ พระอดีตพุทธเจ้า 4 พระองค์เป็นพระพุทธรูปดุนเงิน พระพุทธรูปปางทรงแสดงธรรม พระอดีตพุทธเจ้า 5 พระองค์กะไหล่ทองประดับฐานผอบ และภาพสลักพระพุทธรูปอดีตพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ประดับฐานสถูปจำลอง แสดงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะชัดเจนมากที่สุด พระพุทธรูปที่พบที่เนินขิ่นบา เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบเหนือบัลลังก์ที่ยกสูง ลักษณะคล้ายฐานบัวคว่ำบัวหงาย เบื้องหลังมีมกรออกทั้งสองข้าง พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก มีพระอุษณีษะเตี้ยๆ ไม่มีพระรัศมี พระขนงต่อเป็นรูปปีกกา พระโอษฐ์หนาและแบะเล็กน้อย ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเรียบเป็นอิทธิพลแบบคุปตะ
ระยะที่ 2 อิทธิพลปาละ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-16
พบทั้งที่เป็นประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดู ที่สำคัญพบ ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา พบที่เนินยองนิบินเป็นรูปพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เบื้องหลังเป็นปราสาททรงศิขร ใต้ฐานประดับ
ธรรมจักรกับกวางหมอบ แวดล้อมด้วยพระสาวกและเบื้องล่างเป็นภาพบุคคล ส่วนสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ารับอิทธิพลปาละ เช่น พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร และอาคารทรงศิขรแบบอินเดียภาคเหนือ นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ พระนารายณ์กับพระลักษมี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 
(ศักดิ์ชัย สายสิงห์, 2557: 62-67)
แม้ว่าในปัจจุบัน ทั้งเมืองศรีเกษตร เบคถาโน และ ฮาลิน จะมีเพียงซากปรักหักพัง ของโบราณสถาน เนื่องจากการจัดการในพื้นที่ของรัฐบาลเมียนมายังไม่ดีพอ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ ซากเมืองโบราณ คูน้ำ กำแพงเมือง เจดีย์และประติมากรรมที่พบแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต ซากปรักหักพังของเมืองโบราณมีเสน่ห์ดึงดูดผู้ที่หลงใหลเมืองเก่า ประวัติความเป็นมาของมนุษย์ สถานที่หนึ่ง เชิญชวนให้ผู้สนใจใคร่รู้ประวัติศาสตร์และนักท่องเที่ยวทั่วไปเดินทางเข้าไปท่องเที่ยว เมืองโบราณแห่งนี้ 
ปัจจุบัน แหล่งโบราณคดีในเขตเมืองเก่าของชาวพยู น่าจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้นจากองค์กรยูเนสโก และรัฐบาลของเมียนมา เนื่องจาก เมืองโบราณแห่งนี้ มิได้เป็นเพียงสมบัติของเมียนมาเท่านั้น แต่นับต่อจากนี้ไป เมืองเก่าแก่อายุนับพันปีแห่งนี้ จะเป็นสมบัติของคนทั้งโลกที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาสืบต่อไป การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศเมียนมาในปัจจุบันสะดวกสบายยิ่งขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นภัตตาคาร สถานที่พัก บริษัทนำเที่ยวที่มีมาตรฐานรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก จึงน่าจะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวเมืองโบราณแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง

* อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
บรรณานุกรม
เชษฐ์ ติงสัญชลี. 2558. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส
ด ารงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2514) เที่ยวเมืองพม่า ธนบุรี: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. 2557. ศิลปะพม่า. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. 2549. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง .. 2000. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา
--------. 2543. ศิลปะพม่า ลังกา ชวา ขอม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
บูรพา โชติช่วง. มรดกโลกพม่า (ออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.siamrath.co.th/web/?q 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น