วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

อาณาจักรทวารวดี

อาณาจักรทวารวดี
  อาณาจักรทวารวดี  (พุทธศัตวรรษที่ 11 – 16)   เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย  เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่มี เมืองนครปฐม เป็นศูนย์กลาง หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋น และ หลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง)  พ.ศ. 1150  ได้กล่าวไว้ในจดเหตุของท่านว่า  มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า)  และอิสานปุระ (เขมร)ชื่อ โดโลปอดี้ (ทวารวดี)  และอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้างตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860 – 1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม  และแถบเมืองที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่องไปทางภาคะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิได้ครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระของอาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน)  และอาณาจักรเจนละ (หรือเจินละ)  ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ 11 นั้น  ได้มีชนชาติหนึ่งที่แตกต่างกับชาวเจนละ  ในด้านศาสนาและศิลปกรรม  ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน
                   จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. 1172 – 1188  และพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง (I-Sing)  ได้เดินทางไปอินเดียทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น  ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า “โลโปตี้”  หรือ จุยล่อพัดดี้ (ทวารวดี)  เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร)  ปัจจุบันคือ ส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า “สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึง อาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน”
                    ในสมัยแรกๆ ได้มีการสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.ศ. 300  เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11 – 16)  ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือปรากฎ เป็นโบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน  วัดพระประโทนเจดีย์  วัดพระเมรุ  วัดพระงาม และวัดดอยยาหอม เป็นต้น   โบราณสถานที่ค้นพบ ล้วนเป็นฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดบร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้น  มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่ แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน  และที่จังหวัดสุพรรณบุรี  สิงห์บุรี  และชัยนาท ได้พบเหรียญเงินที่มีจารึก “ทวารวดี” ประทับอยู่ด้วย นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์  เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์   นครปฐมเป็นเมืองที่มีการทำเงินขึ้นใช้เอง มีการค้นพบหลักฐาน เงินตราสมัยนั้นหลายรูปแบบ  เช่น รูปสังข์ ประสาท  ตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม)    จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง
                      นอกจากนี้ได้มีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญ ในบริเวณจังหวัดนครปฐม  สุพรณณบุรี  สิงห์บุรี  ชัยนาท  ลพบุรี  และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ – เขมร  เป็นเจ้าของอารยธรรมของทวารวดี  และการที่อาณาจักร ทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  และอยู่ใกล้ทะเลทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดีย เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย  เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี และได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังได้พบโบราณสถาน โบราณวัตถุสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม)  เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)  เมืองละโว้ (ลพบุรี)  เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์)  เมืองฟาแดดสงยาง (กาฬสินธุ์)  เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
                       ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง  เช่น ด้านการปกครอง  รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเปป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเอง แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ  การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม.  พบที่นคปฐม และอู่ทอง พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร”  และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง  ทำให้ชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้ ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียก ทวาราวดี)  ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ  และมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในกลุ่มแม่น้ำท่าจีน)  เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน)
 เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)  เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี ในลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำ เมืองอู่ตะเภา (บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)  เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธี ในแควตากแดด) เมืองซับจำปา (บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี)  และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัดนอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง  เช่น  ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น 
ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ พบที่เมืองจันเสน (ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองบึงโคกช้าง (ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ในแควตากแดด ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง)  เมืองศรีเทพ (จ.เพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน ลุ่มแม่น้ำปิง)  และเมืองบน (อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์  ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
                          ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคตะวันออก มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 18 อยู่ที่เมืองพระรถ (ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งค้นพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า)  มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 – 21 (อยู่ที่ ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี  ลุ่มแม่น้ำบางปะกง)  ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีนและญี่ปุ่น จากเตาอะริตะแบบอิมาริ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22  และติดต่ดถึงเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี)  เมืองดงละคร (จ.นครนายก)  เมืองท้าวอุทัย  และบ้านคูเมือง (จ.ฉะเชิงเทรา)
                         ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจึงเป็นดินแดนของชนชาติมอญโบราณ  มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี)  กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี)  ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.1100  พระนางจามเทวีราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี)  ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน  ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระพบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจี  ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย  เมื่อพุทธศตวรรษที่ 3 – 4 และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ  บาลี สันสกฤต และภาษามอญ  ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียงพบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)  และพบจารึกมอญที่ลำพูน อายุราว พ.ศ. 1628  (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
                          สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน เดิมเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร  มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัยปี พ.ศ. 600 – 1600 จำนวนมาก  นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น
                           แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอดช้างดิน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  พบเงินเหรียญสมัยทวารวดีเป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปหอยสังข์  บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรีชนิดต่างๆ เป็นต้น เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเมืองอู่ทองมีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี
                            เมืองนครไชยศรีโบราณ ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุประโทณ จังหวัดนครปฐม และพบคูเมืองโบราณรูปสีเหลี่ยมขนาด 3,600 x 2,000 เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออไปตัดคลองพระประโทณ  ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียดบ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้นพบที่ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง)  อำเภอกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธุ์  ใกล้แม่น้ำซี  ได้ค้นพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว 1,200 ปี มีอายุเก่าแก่
กว่าสมัยนครวัดของอาณาจักรขอม  ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย  และได้พบเสมหินบางแท่งมีจารึกอัการปัลลวะของอินเดียด้วย
                            สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า “พระเจ้าอนุรุทรมหาราช แห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป” ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต ใน พ.ศ.1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลงทำหให้บรรดาเมือง ประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ  ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวี พระธิดาขอมเป็นมเหสี และได้รับพระนามว่า “ขุนศรีอินทราทิตย์” พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม และให้พ่อขุนบางกลางหาว สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระจากการปกครองของขอม  อาณาจักรทวารวดีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200 ปี  จีงค่อยๆ เสื่อมลง  พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาส ตีเมืองทวารวดี ที่ละเมืองสองเมือง  จนถึง พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลง และตกอยู่ในอำนาจของพวกขอม  พวกขอมได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย นำไปใช้เป็นทาสทำงานต่างๆ จนถึง พ.ศ. 1800 คนไทยในหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้สำเร็จ  แต่เมืองนครปฐมได้กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองที่ไหล ผ่านเมืองทวารวดีได้เปลี่ยนทิศทางใหม่  ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมาก จนทำให้นครปฐม (ทวารวดี) เป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะที่จะทำไร่ทำนา  ผู้คนจึง อพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในเมืองอื่น
https://web.facebook.com/notes/พระใหญ่ทวารวดี-ชัยภูมิ/อาณาจักรทวารวดี/288121911209851/?_rdc=1&_rdr

การสร้างชุมชนของชาวสยาม
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓

            เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้น ชุมชนในตอนใต้ของสยาม เริ่มมีความสัมพันธ์กับ
พวกนับถือศาสนาฮินดูจากอินเดีย ปรากฏว่ามีการพบเทวรูปพระนารายณ์ สวมหมวกแขก
เทวรูปพระวิษณุสวมหมวกทรงกระบอก เทวรูปพระคเนศ และ ศิวลึงค์ ในหลายท้องที่ เช่น
ที่พังแฟม วัดพะโคะ ที่บ้านจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ที่วัดเขียนบางแก้ว
อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รุ่นเจนละ) ที่เขาคา
หมู่ ๑๑ ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล(มีเทวาลัยฮินดูเก่าแก่และคาดว่าเป็นชุมชนแรกที่ค้าขายกับ
อินเดีย) ที่อำเภอขนอม และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
พุทธศตวรรษที่ ๑๒ หลวงจีนเหี้ยนจัง ซึ่งเดินทางจากประเทศจีนไปสืบพระพุทธศาสนา
ที่ประเทศอินเดียได้บันทึกไว้ว่า “ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากนี้ไปตามฝั่งทะเลผ่านภูเขา
และหุบเขาไปแล้วมีแคว้น ชิดหลีซาต๋าล้อ(เชื่อกันว่าคืออาณาจักรศรีเกษตร ลุ่มแม่น้ำอิรวดี
ประเทศพม่า) ถัดไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตอนปากอ่าวเรียกแคว้น มอลังเกีย (น่าจะเป็นเมือง
ลังกาสุกะ ซึ่งอาจจะเป็นปัตตานี) ต่อจากนี้ไปทางทิศตะวันออกเรียกว่าแคว้น โต-โล-โป-ตี้
(คืออาณาจักรทวารวดี มีเมืองสำคัญอยู่ที่นครชัยศรี นครปฐมและเมืองละโว้ ลพบุรี) ต่อไป
ทางทิศตะวันออก คือแคว้น อี๋เซียน้าโป้ล้อ (เชื่อกันว่าคือแคว้นอีศานปุระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของอาณาจักรฟูนัน) ต่อนั้นไปทางทิศตะวันออก คือแคว้นม่อออเจียมปอ ซึ่งชาวจีน เรียกว่า
หลินยี่ คืออาณาจักรจามปาในเวียดนามใต้ ”
ใน พ.ศ.๑๒๑๔–๑๒๓๘(ค.ศ. 671-695) นั้น หลวงจีนอี้จิง ได้บันทึกการเดินทางกลับของ
ขบวนคาราวานพ่อค้าจากจีน ซึ่งไปสืบหาพระธรรมวินัยในอินเดียโดยผ่านเข้ามายังดินแดน
อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งระบุเส้นทางว่าผ่าน ซิลิโฟซิ (นครชัยศรี นครปฐม?) โมโลยู (ยะริง ปัตตานี?)
และ เจียซะ (เคดาห์?) โดยได้พักอยู่ที่เมือง ชีหลี หุดหลี หรือ หลีโพชี ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อเตรียมตัวรอเวลาสมมรสุมเปลี่ยนทิศทาง แล้วลงเรือข้ามอ่าวเบงกอล ไปอินเดีย
พุทธศตวรรษที่ ๑๒ นั้นได้มีการขยายตัวของชุมชนภาคกลางจากลุ่มแม่น้ำท่าจีน
ไปยังแถบแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำเพชรบุรี และทางเหนือนั้นเข้าไปในแถบลุ่มแม่น้ำน้อย
จังหวัดชัยนาท และลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์  ชุมชนที่ตั้งบ้านเมืองนั้นได้ทำการ
พัฒนาเมืองนครชัยศรี และเมืองคูบัว(ในเขตจังหวัดราชบุรี) โดยมีการสร้างเจดีย์ และ
พระพุทธรูปขนาดใหญ่จำนวนมาก ด้วยฝีมือช่างระดับสูง                     

ก่อนพุทธศตวรรษ ๑๕ ชุมชนสยามโบราณที่ตั้งถิ่นฐานในแหลมทองนั้นใช้อักษรปัลลวะ
ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษามอญโบราณหรือขอมโบราณเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสมัยนั้น
อักษรที่เป็นตัวหนังสือไทยยังไม่มีใช้ ดังนั้นเอกสารเก่า คัมภีร์ ใบลานศักดิ์สิทธิ์และ
สมุดข่อยโบราณ จึงมักจารเป็นอักษรขอม อักษรธรรมล้านนา หรืออักษรธรรมอิสาน
ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง มีจารึกระบุไว้ว่า
“…เมื่อก่อน ลายสือไทนี้ บ่มี ปี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ
แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมี…..” แปลความเป็นภาษาไทยปัจจุบันได้ว่า”
แต่ก่อนนี้ยังไม่มีอักษรไทย พ่อขุนรามคำแหงทรงสนใจคิดค้นสร้างอักษรไทยขึ้น
เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖

http://www.siamrecorder.com/h/h34.htm

ส่วนหนึ่งจากบันทึกของหลวงจีนซวนจัง (ถัง ซัมจั๋ง) ซึ่งเขียนราว ค.ศ.632 (พ.ศ.1175) ตอนที่ท่านศึกษาพระศาสนาอยู่อินเดีย บันทึกส่วนนี้เอ่ยถึงดินแดนที่ท่านไม่เคยไป (ขากลับจะผ่านทางทะเล) แต่ท่านฟังความมาจากพ่อค้าและคนที่เคยเดินทางผ่าน ความว่า
"จากนี้ไปตามฝั่งทะเลผ่านภูเขา และหุบเขาไปแล้วมีแคว้น ชิด-หลี-ซา-ต๋า-ล้อ (She-li-ch’a-ta-lo)
ถัดไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตอนปากอ่าวเรียกแคว้น เกีย-มอ-ลัง-เกีย
ต่อจากนี้ไปทางทิศตะวันออกเรียกว่าแคว้น โต-โล-โป-ตี้
ต่อไปทางทิศตะวันออก คือแคว้น อี๋-เซีย-น้า-โป้-ล้อ
ต่อนั้นไปทางทิศตะวันออก คือแคว้น ม่อ-ออ-เจียม-ปอ ซึ่งชาวจีน เรียกว่าหลินยี่"
เท่าที่รวบนวมเอกสารดูก็เห็นว่า สิ่งที่พระถังกล่าวถึง เห็นจะเป็นตามคำบอกเล่าดังว่า เพราะถ้าพระถังกล่าวถึงช้ากว่านี้สักหน่อย ชื่อเมืองคงเปลี่ยนไปแล้ว
จากนาลันทาเลียบอ่าวเบงกอล ผ่านอะระกันโยมา ก็จะถึงศรีเกษตร
เลียบชายฝั่งไปเป็น คามลังกา (อีกชื่อหนึ่งของ ลังกาสุกะ)
เลียบชายฝั่งขึ้นไป ก็เป็นกลุ่มเมือง ทวารวดี
เลยออกไปก็เป็น อิศานปุระ (อาณาจักรเจนละ)
และสุดทางที่ มหาจามปา ซึ่งแคว้นนี้ใกล้จีน จีนเลยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า หลินยี่
จากนั้นอีกไม่นาน ลังกาสุกะก็อ่อนกำลังลง เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ก็สถาปนาอาณาจักรตามพรลิงค์ ควบรวมลังกาสุกะเป็นประเทศราช
ทางศรีเกษตรก็ไม่ต่าง มอญก็มีกำลังขึ้น สถาปนาอาณาจักรสุธรรมวดี (สะเทิม)
1181 อาณาจักรละโว้ก็กำเนิดครอบพื้นที่ฟากตะวันออกของทวารวดี
ทางเหนือในแผ่นดิน ก็เกิดหิรัญนครเงินยาง ขึ้นแทนที่สุวรรณโคมคำ ด้วยเช่นกัน
ก็เหลืออิศานปุระ กับนครจามปา ยังอยู่เหมือนเดิม
U-THong : The Mellinium SEA Ancient City
อู่ทอง ท่ามกลางความสัมพันธ์พันปีอาเซียน
ผ่านรอยลูกปัดและเริ่มแรกพระพุทธศาสนา
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20160817_6)
ผมได้โยงส่งท้ายถึงความสัมพันธ์พันปีของอู่ทอง
กับอาเซียนจาก ๕ อาณาจักรที่พระถังซำจั๋งระบุไว้ดังนี้
“ชิดหลีซาต๋าล้อ 
เกียมลังเกี๋ย 
โตโลโปตี้ 
อี้เซี้ยน้าโป้ล้อ 
ม่อออเจียมปอ”
๕ แคว้น สำคัญที่พระถังซำจั๋งระบุถึง เมื่อไปอยู่ที่อินเดีย ระหว่าง พ.ศ.๑๑๗๒-๑๑๘๘
“จินหลิน” หนึ่งในอาณาจักรสำคัญ ที่กษัตริฟันซิมันแห่งฟูนัน ยกกองทัพเรือมาโจมตี
“สุวรรณภูมิ” ที่พระพุทธศาสนามาเริ่มปักหลักและสถาปนา ณ เอเชียอาคเนย์
ใช่อู่ทองไหม ? 
ต้องตามไปให้ถึงที่ “อู่ทอง” ก่อน จึงจะตอบได้
อาเซียนหรือเอเชียอาคเนย์ที่ไทยเราตั้งอยู่ใจกลางในทุกวันนี้นั้นมีความสัมพันธ์กันมาอย่างต่อเนื่องตลอดมา จากหลักฐานทางบรรพชีวินและธรณีวิทยาดึกดำบรรพ์ สรุปว่าเคยเป็นผืนแผ่นดินที่ต่อเนื่องกันทั่วถึงและเป็นทางผ่านสำคัญของมนุษย์ดึกดำบรรพ์เมื่อนับแสนล้านปีก่อน เพิ่งจะเกิดเป็นเกาะแก่งมีทะเลอยู่ท่ามกลางหลังยุคน้ำแข็งล่าสุดเมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ปีก่อน โดยพบมีการเดินทางถึงกันทั้งทางบกและทะเล ทิ้งร่องรอยหลักฐานสำคัญคือขวานหินและเครื่องประดับตกแต่งตลอดจนของใช้สำคัญรูปแบบต่าง ๆ ที่ยังไม่ย่อยสลายตามกาลเวลา จนกระทั่งเข้าสู่ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ที่กลายเป็นประจักษ์พยานหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกความสัมพันธ์พันปีที่มีอู่ทองเป็นหนึ่งในจุดเชื่อมต่อทั้งในเชิงพื้นที่ กาลเวลา อารยธรรม และ พระพุทธศาสนา
พยู ศรีเกษตร สู่พุกาม พะโค
สุวรรณภูมิ มะละแหม่ง ทวาย ในพม่า
จากอู่ทองเพียงข้ามเทือกเขาตะนาวศรีและถนนธงชัยไม่กี่อึดใจ (ในอนาคต) ก็ถึงทวายที่ฝั่งทะเลอันดามันซึ่งกำลังจะเกิดนิคมการค้าและท่าเรือใหม่ย้อนยุคสมัยเมื่อพันปีที่แล้ว ในฐานะปากประตูตะวันตกที่ต่อเนื่องมาจากอินเดีย บังคลาเทศ ผ่านลุ่มน้ำอิระวดี ที่มี ๔ เมืองโบราณสำคัญ สมัยพยู คือ ฮาลิน เบกถาโน ศรีเกษตร และ พุกาม มายังลุ่มน้ำสะโตง-สาละวิน ที่เต็มไปด้วยเมืองโบราณ อาทิ พะโค สะเทิม Winka ZokThoke Kelasa มะละแหม่ง ลงใต้ไปประชิดอู่ทอง ที่ทวาย Thagara และ Mokti ที่เต็มไปด้วยรอยลูกปัดเมืองโบราณ สถูปวิหารและรอยพระพุทธศาสนาแรกเริ่ม ซึ่งเชื่อกันมาแต่เดิมว่า “สุวรรณภูมิ” อยู่ที่แถบนี้และรอการศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานยืนยันกันอยู่นั้น อย่างน้อยขณะนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ชิดหลีซาต๋าล้อ ที่พระถังซำจั๋งระบุว่าเป็น ๑ ใน ๕ แคว้นสำคัญในสมัยนั้น ร่วมกับ โตโลโปตี้ ซึ่งคือ อู่ทอง–ทวารวดี คือ ศรีเกษตร ที่เป็นหนึ่งในต้นธารประวัติศาสตร์อารยธรรมแห่งพม่ามาถึงทุกวันนี้
ดองซอน ซาหวิ่น ฟูนัน จามปา เจนละ
ในเวียตนาม ลาว และ กัมพูชา
การพบของสำคัญสองสิ่งที่ลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน รวมทั้งที่อู่ทอง คือ กลองดองซอน และ ต่างหูลิงลิงโอ บ่งชี้ว่าเมื่อกว่า ๒,๐๐๐ ปีก่อน ผู้คนที่นี่มีการติดต่อกับผู้คนที่ก้นอ่าวตังเกี๋ยลงมาตลอดแนวชายฝั่งที่เป็นเวียตนามในปัจจุบันจนถึงบริเวณปากแม่น้ำโขงที่ถือเป็นฐานสำคัญของอารยธรรมดองซอนและซาหวิ่น ซึ่งก้าวหน้ามากในเทคโนโลยีโลหะสำริดและการเดินทางค้าขายเครื่องประดับทางทะเล จนกระทั่งเกิดอาณาจักรแรกเริ่มที่ฟูนัน ที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในพื้นที่กัมพูชาและเวียตนามปัจุบัน ซึ่งพบหลักฐานเครื่องประดับ ลูกปัด หัวแหวน ตราประทับ เงินตรานานาชาติ คล้ายมากกับที่พบที่อู่ทองและคลองท่อม จนนักโบราณคดีจำนวนมากสันนิษฐานว่า ทั้ง ๓ แหล่งโบราณคดีนี้อาจเป็นภาคีการค้ากันในสมัยนั้นเมื่อเกือบ ๒,๐๐๐ ปีก่อนพร้อมกับการนำพระพุทธศาสนามาสถาปนา ก่อนที่จะจบสมัยเมื่อกษัตริย์ฟันซิมันแห่งฟูนันจะกรีฑาทัพมาพิชิต “จินหลิน” ซึ่งแปลว่า “แดนทอง” ที่หลายฝ่ายสันนิษฐานว่าอาจคือ “อู่ทอง” หรือ “สุวรรณภูมิ” แต่ที่สำคัญกว่านั้น ๒ ใน ๕ แคว้นสำคัญร่วมกับ โตโลโปตี้ ที่พระถังซำจั๋งระบุว่ามี อี้เซี้ยน้าโป้ล้อ ม่อออเจียมปอ นั้น คือ อีสานปุระ กับ มหาจามปา โดยอีสานปุระครอบคลุมพื้นที่ตะวันออกและอีสานใต้ของไทยต่อเนื่องถึงลาวตอนใต้และกัมพูชาตอนบน ก่อนที่จะคลี่คลายกลายเป็น เจนละ และ กัมพูชา ในทุกวันนี้ ส่วนมหาจามปา นั้น อยู่ที่ตอนกลางและล่างของชายฝั่งเวียตนามต่อเนื่องไปจรดบริเวณปากแม่น้ำโขง ทั้งดองซอน ซาหวิ่น ฟูนัน จามปา และ เจนละ ล้วนเป็นต้นธารประวัติศาสตร์อารยธรรมแห่งเวียตนามและกัมพูชามาถึงทุกวันนี้นี่เอง
ลังกาสุกะ รักตมฤตติกา ศรีวิชัย มะตะราม
ในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และ มาเลเซีย
แคว้นปริศนาที่ ๕ ในบันทึกของพระถังซำจั๋ง คือ เกียมลังเกี๋ย ที่บอกบ่งถึงความสัมพันธ์พันปีกับ โตโลโปตี้ หรือ ทวารวดีที่อู่ทองซึ่งยังมีหลายข้อสันนิษฐานไม่เป็นที่ยุติว่าคือแคว้นอะไรและอยู่ที่ไหนนั้น ส่วนใหญ่เชื่อว่าน่าจะอยู่บนคาบสมุทรไทย-มาเลเซียตอนล่าง ในนามของ ลังกาสุกะ ที่พบแหล่งโบราณคดีจำนวนมากต่อเนื่องจากเมืองโบราณยะรังที่ปัตตานีลงไปในกลันตัน ตรังกานู เคดะห์และเปรัค ซึ่งพบเมืองใหญ่ที่หุบเขาแห่งบุจังและสายน้ำแห่งทอง หรือ สุไหงมาศ ที่สันนิษฐานว่าอาจคือนครดินแดง ที่มีจารึกระบุชื่อไว้ว่า รักตมฤตกา สอดคล้องกับที่จีนบันทึกว่ามี นครดินแดง-เชี๊ยะโท๊ว ซึ่งทั้งหมดมีรอยพระพุทธศาสนามากมายที่คลี่คลายกลายเป็นศรีวิชัยที่มีศูนย์ใหญ่อยู่ที่ปาเล็มบัง จัมบิ ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา รวมทั้งอาณาจักรมะตะรามที่เกาะชวา ซึ่งล้วนถือเป็นอู่อารยธรรมมลายูและอินโดนีเซียทุกวันนี้
ทั้งหมดนี้ยังไม่มีคำตอบชี้ชัดอย่างเต็มร้อย
แต่ร่องรอยหลักฐานที่อู่ทอง อาจบอกอะไรได้อีกหลายอย่าง
หนทางเดียวเท่านั้นที่จะตอบตัวเองได้
คือ อู่ทอง ... ต้องไป
ท่านที่สนใจ ติดต่อตรงที่เพจ บุญจาริก นะครับ
แว่วว่าจะเต็มคันรถใหญ่แล้วครับ
๑๗ สค.๕๙
http://www.bunchar.com/version1/index.php/belovedhomeland/625-20160817-6-u-thong-the-mellinium-sea-ancient-city


หลักฐานที่ค้นพบสมัยทวารวดี
 ชื่อ โดโลปอดี้ (ทวารวดี)  และอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้างตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860 – 1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม  และแถบเมืองที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่องไปทางภาคะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ 
             ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิได้ครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระของอาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน)  และอาณาจักรเจนละ (หรือเจินละ)  ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ 11 นั้น  ได้มีชนชาติหนึ่งที่แตกต่างกับชาวเจนละ  ในด้านศาสนาและศิลปกรรม  ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน
                                           

จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. 1172 – 1188  และพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง (I-Sing)  ได้เดินทางไปอินเดียทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น  ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า “โลโปตี้”  หรือ จุยล่อพัดดี้ (ทวารวดี)  เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร)  ปัจจุบันคือ ส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย
          พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า “สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึง
อาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน”
           ในสมัยแรกๆ ได้มีการสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.ศ. 300  เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคย
เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11 – 16)  ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือปรากฎ
เป็นโบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน  วัดพระประโทนเจดีย์  วัดพระเมรุ  วัดพระงาม และวัดดอยยาหอม เป็นต้น   โบราณสถานที่ค้นพบ
ล้วนเป็นฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดบร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้น  มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่
แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน  และที่จังหวัดสุพรรณบุรี  สิงห์บุรี  และชัยนาท ได้พบเหรียญเงินที่มีจารึก
 “ทวารวดี” ประทับอยู่ด้วย
                                            นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์  เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์   นครปฐมเป็นเมืองที่มีการทำเงินขึ้นใช้เอง มีการค้นพบหลักฐาน เงินตราสมัยนั้นหลายรูปแบบ  เช่น รูปสังข์ ประสาท  ตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม)    จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง
                                            นอกจากนี้ได้มีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญ ในบริเวณจังหวัดนครปฐม  สุพรณณบุรี  สิงห์บุรี  ชัยนาท  ลพบุรี  และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ – เขมร  เป็นเจ้าของอารยธรรมของทวารวดี  และการที่อาณาจักร ทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  และอยู่ใกล้ทะเลทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดีย เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย  เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี และได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังได้พบโบราณสถาน โบราณวัตถุสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม)  เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)  เมืองละโว้ (ลพบุรี)  เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์)  เมืองฟาแดดสงยาง (กาฬสินธุ์)  เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
                                             
ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง  เช่น ด้านการปกครอง  รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเปป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเอง แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ  การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง
              หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม.  พบที่
นครปฐม และอู่ทอง พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร”  และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง  ทำให้ชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้
ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียก ทวาราวดี)  ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ  และมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่
 เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในกลุ่มแม่น้ำท่าจีน)  เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน)
 เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)  เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี ในลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำ
เมืองอู่ตะเภา (บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)  เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธี ในแควตากแดด)
 เมืองซับจำปา (บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี)  และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัด
นอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง  เช่น  ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
               ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ พบที่เมืองจันเสน (ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองบึงโคกช้าง (ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ในแควตากแดด ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง)  เมืองศรีเทพ (จ.เพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน ลุ่มแม่น้ำปิง)  และเมืองบน (อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์  ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
               ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคตะวันออก มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 18 อยู่ที่เมืองพระรถ (ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งค้นพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า)  มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 – 21 (อยู่ที่ ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี  ลุ่มแม่น้ำบางปะกง)  ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีนและญี่ปุ่น จากเตาอะริตะแบบอิมาริ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22  และติดต่ดถึงเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี)  เมืองดงละคร (จ.นครนายก)  เมืองท้าวอุทัย  และบ้านคูเมือง (จ.ฉะเชิงเทรา)
                  ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจึงเป็นดินแดนของชนชาติมอญโบราณ  มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี)  กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี)  ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.1100  พระนางจามเทวีราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี)  ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน  ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระพบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจี  ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย  เมื่อพุทธศตวรรษที่ 3 – 4 และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ  บาลี สันสกฤต และภาษามอญ  ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียงพบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)  และพบจารึกมอญที่ลำพูน อายุราว พ.ศ. 1628  (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
                                        
    สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน เดิมเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร  มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัยปี พ.ศ. 600 – 1600 จำนวนมาก  นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น
                  แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอดช้างดิน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  พบเงินเหรียญสมัยทวารวดี
เป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปหอยสังข์  บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรี
ชนิดต่างๆ เป็นต้น เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเมืองอู่ทองมีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี
                   เมืองนครไชยศรีโบราณ ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุประโทณ จังหวัดนครปฐม และพบคูเมืองโบราณรูปสีเหลี่ยม
ขนาด 3,600 x 2,000 เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออไปตัดคลองพระประโทณ  ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด
บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 
หลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้นพบที่ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง)  อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์  ใกล้แม่น้ำซี  ได้ค้นพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว 1,200 ปี มีอายุเก่าแก่
กว่าสมัยนครวัดของอาณาจักรขอม  ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย  และได้พบ
เสมาหินบางแท่งมีจารึกอัการปัลลวะของอินเดียด้วย
                                            
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า “พระเจ้าอนุรุทรมหาราช
แห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป”
           ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต ใน พ.ศ.1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลงทำหให้บรรดาเมือง
ประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ  ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ
พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวี พระธิดาขอมเป็นมเหสี และได้รับพระนามว่า “ขุนศรีอินทราทิตย์” พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้
ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม และให้พ่อขุนบางกลางหาว สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระจาก
การปกครองของขอม
            อาณาจักรทวารวดีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200 ปี  จีงค่อยๆ เสื่อมลง  พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาส
ตีเมืองทวารวดี ที่ละเมืองสองเมือง  จนถึง พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลง และตกอยู่ในอำนาจของพวกขอม  พวกขอมได้กวาดต้อนผู้คนไป
เป็นเชลย นำไปใช้เป็นทาสทำงานต่างๆ จนถึง พ.ศ. 1800 คนไทยในหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี
ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้สำเร็จ  แต่เมืองนครปฐมได้กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองที่ไหล
ผ่านเมืองทวารวดีได้เปลี่ยนทิศทางใหม่  ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมาก จนทำให้นครปฐม (ทวารวดี) เป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะที่จะทำไร่ทำนา  ผู้คนจึง
อพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในเมืองอื่น  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น