วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

ตะลึงแลบุโรพุทโธ๔

ตะลึงแลบุโรพุทโธ๔


บุโรพุทโธ  หรือบรมพุทโธ  เขียนในภาษาอังกฤษว่า BOROBUDUR ในเอกสารเก่าแก่ภาษาชวา  เรียกสถานที่นี้ว่า NAGARAK RETAGAMA 

บุโรพุทโธเป็นพุทธสถานฝ่ายมหายาน  สร้างโดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์  สมัยอาณาจักรศรีวิชัย  สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างประมาณ ๗๐-๘๐ ปีระหว่างพศ๑๓๒๑ – ๑๓๙๙ (ก่อนนครวัด ๓๐๐ ปี  และก่อนโบสถ์นอสเตรอะดาม ๒๐๐ ปี)

ในยุคนั้นทั้งศาสนาพุทธและฮินดูคงเจริญรุ่งเรืองอย่างมากบนเกาะชวา  และคงได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากกษัตริย์  เห็นได้จากศาสนาสถานอันงดงามทั้งพุทธและฮินดูถูกสร้างขึ้นในยุคเดียวกันหลายแห่ง  ที่งดงามและยิ่งใหญ่พอ ๆ กันก็คงจะเป็น SHIVA PRAMBANAN ของฮินดู และบุโรพุทโธของพุทธ  ซึ่งอยู่ห่างกันเพียง ๑๐ กิโลเมตร

บุโรพุทโธตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะชวา  ห่างเมืองย็อกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ๔๐ กิโลเมตร   บนที่ราบ KEDU ระหว่างภูเขาไฟ ๒ คู่  คือ SUNDORO-SUMBING และ MERBABU-MERAPI  และแม่น้ำ ๒ สายซึ่งเปรียบเสมือนคงคากับยมุนาแห่งชวา คือ PRAGO และ ELO

ไม่มีการระบุแน่ชัดว่าบุโรพุทโธถูกทิ้งไปด้วยสาเหตุใด  แต่คาดว่าประมาณ ปีพศ.๑๔๗๑ หรือประมาณ ๗๐ ปีหลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์  สถานที่แห่งนี้ก็ค่อย ๆ ลดความสำคัญลง  อาจเป็นเพราะศูนย์กลางแห่งอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยถูกย้ายไปอยู่ทางภาคตะวันตก  หรืออิทธิพลของศาสนาอิสลามที่เข้ามา  หรือจะเป็นเพราะภูเขาไฟที่อยู่ใกล้เคียงเกิดระเบิด  หรือทั้งหมดที่ว่ามาก็เป็นได้

พุทธสถานอันยิ่งใหญ่งดงามนี้มาถูกค้นพบโดยอังกฤษเจ้าอาณานิคมระหว่างปีพศ.๒๓๕๔-๒๓๕๙  หลังจากนั้นก็ใช้เวลานานมากกว่าจะได้บูรณะให้งดงามอย่างที่เห็นในวันนี้  เพราะเจ้าอาณานิคมไม่ว่าอังกฤษหรือดัทช์ไม่ได้สนใจจริงจัง  มีอยู่ยุคหนึ่งเจ้าอาณานิคมถึงกับไปสร้าง teahouse ไว้พักผ่อนดื่มน้ำชาอยู่บนยอดเจดีย์องค์ใหญ่เสียด้วยซ้ำ

ในหนังสือชื่อ  Borobudur : Golden Tales of  the Buddhas ที่เขียนโดย John Miksic เขียนไว้ว่า เมื่อปีพศ.๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ของเราเสด็จชวา  และได้รับของบรรณาการเป็นรูปปั้นจากบุโรพุทโธถึง ๘ เล่มเกวียน  ในนี้มี ภาพแกะสลักจากหิน ๓๐ ภาพ  พระพุทธรูป ๕ องค์  สิงโต ๒ ตัว  สัตว์ประหลาดที่อ้าปากคายน้ำฝนอีก ๑ ตัว  นอกนั้นก็มีหน้ากาลจำนวนหนึ่ง  รวมทั้งทวารบาลที่ค้นพบจาก Bukit Dagi เนินเขาซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือหลายร้อยเมตร  ในหนังสือระบุว่า  สิงโตและทวารบาลจากชวาเหล่านี้ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

บุโรพุทโธเริ่มได้รับการบูรณะอย่างจริงจังเมื่อปีพศ๒๔๙๘  เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียได้ร้องขอการสนับสนุนจากองค์การยูเนสโก  เสร็จสมบูรณ์เปิดให้คนทั้งโลกเข้าชมได้เมื่อปีพศ.๒๕๑๖ ใช้งบประมาณ ๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐ  ลองเปรียบเทียบเวลาในการสร้างซึ่งอยู่ในศตวรรษที่ยังต้องใช้แรงงานทั้งหมด  กับเวลาในการบูรณะซ่อมแซมท่ามกลางเทคโนโลยีและเครื่องทุ่นแรงสมัยใหม่  ก็จะเห็นได้ว่า  บุโรพุทโธนั้นยิ่งใหญ่เหลือจะกล่าว

 
ปีพศ๒๕๓๔ องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก

พุทธสถาน ‘บุโรพุทโธ’ หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

แหล่งอารยธรรมอินโดนีเซีย
พุทธสถาน ‘บุโรพุทโธ’
หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก


‘บุโรพุทโธ’ หรือ ‘โบโรบูดูร์’ (borobodur) พุทธสถานอันงามสง่า หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่ใจกลางเกาะชวา อยู่ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakata) หรือยอกยา ของอินโดนีเซีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งสมัยนั้นหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของฮินดูและพุทธเป็นอย่างมาก แต่กษัตริย์ของศรีวิชัยซึ่งเป็นชาวฮินดู เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และชนชาวศรีวิชัยส่วนใหญ่ก็นับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ทำให้เกาะชวาเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัยนี้

มหาสถูปบุโรพุทโธ อันงดงามนั้นรังสรรค์ขึ้นด้วยความรักความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นต่อพระพุทธศาสนาของชนชาวศรีวิชัย ประติมากรรมแต่ละชิ้นได้รับการจัดวางอย่างงดงามลงตัวและมีความหมายอันมีนัยถึงธรรม ธรรมชาติ หรือจักรวาล โดยสร้างขึ้นจากหินลาวา มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 55,000 ตารางเมตร รูปทรงด้านฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 123 เมตร แต่ละด้านมีบันไดและซุ้มประตูขึ้นสู่มหาเจดีย์ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ชั้น ชั้น 1-6 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนชั้นที่ 7-10 มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม

ส่วนฐานของบุโรพุทโธ ประกอบด้วยขั้นบันไดใหญ่ 4 ขั้น กำแพงรอบฐานมีภาพสลักประมาณ 160 ภาพ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ที่ยังข้องอยู่ในกาม ผูกพันกับความสุข สนุกสนาน ความปรารถนาทางโลกอันไม่รู้จบ ส่วนนี้จัดอยู่ในขั้นกามภูมิ

ในส่วนที่สอง คือส่วนบนของฐานนั้น ผนังทั้งด้านนอกด้านในมีรูปสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกต่างๆ ประมาณ 1,460 ภาพ ในส่วนนี้ถือเป็นขั้นรูปภูมิ คือขั้นตอนที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสทางโลกมาได้บางส่วน

Image
พุทธศาสนิกชนร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และเวียนเทียนที่พุทธสถานบุโรพุทโธ


ส่วนที่สาม คือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ จำนวน 72 องค์ แต่ละองค์บรรจุด้วยพระพุทธรูป ตั้งเรียงรายอยู่ 3 ระดับ โอบล้อมพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สุดยอดของบุโรพุทโธ จำนวน 72 นั้น หากพิจารณาในทางธรรมแล้วหมายถึง รูป 18 เจตสิก 52 จิต 1 นิพพาน 1 และฐานพระเจดีย์ที่เป็นรูปบัวผลิบานนั้นบ่งบอกถึงการรู้ตื่นและเบิกบาน ส่วนพระเจดีย์องค์ใหญ่นั้นภายในไม่ได้บรรจุสิ่งใดไว้ อาจสื่อให้เห็นถึงความว่าง อันถึงที่สุดของนิพพานแล้ว ย่อมไร้ลักษณ์ ไร้รูปรอยใดๆ ในส่วนนี้ถือเป็นขั้นอรูปภูมิ ที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป

บุโรพุทโธคงความยิ่งใหญ่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้คน ผ่านกาลผ่านสมัยจวบจนเข้าต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งใกล้สิ้นยุคของศรีวิชัย ซึ่งในเวลานั้นชาวโปรตุเกสได้เริ่มเข้ามายึดครองหมู่เกาะต่างๆ และอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาแทนที่ บุโรพุทโธได้ถูกลืมเลือนไปและถูกทิ้งร้างท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 24 เซอร์โทมัส แสตนฟอร์ด ราฟเฟิล ชาวดัทซ์ ได้ค้นพบบุโรพุทโธขึ้นอีกครั้งในสภาพที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรก ในระหว่าง พ.ศ.2448-2453

ต่อมาใน พ.ศ.2516 รัฐบาลอินโดนีเซียได้เริ่มต้นโครงการปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งโดยมีองค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติ ได้ให้ทุนสนับสนุน รวมทั้งเงินทุนอุดหนุนจากบางประเทศที่นับถือพุทธศาสนา ซึ่งประเทศไทยก็มีส่วนร่วมด้วย (ขอเพิ่มเติมว่า ท่ารำของระบำศรีวิชัยในบ้านเรานั้น ได้ค้นคว้ามาจากภาพจำหลักที่บุโรพุทโธนี่เอง)

แล้ว...ความสง่างามของบุโรพุทโธก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เฉกเช่นในอดีต !!

Image
‘บุโรพุทโธ’ พุทธสถานอันงามสง่า


ไม่อาจจะสรรหาคำใดมาอธิบายความยิ่งใหญ่ ของบุโรพุทโธได้ แต่เผอิญได้มีโอกาสอ่านหนังสือของท่านเขมานันทะ เรื่อง ‘บุรีแห่งบรมพุทโธ’ ซึ่งท่านเขียนได้ลึกซึ้งกินใจมาก เลยขอถือโอกาสนำบางส่วนมาถ่ายทอดความรู้สึกปิดท้ายกันตรงนี้

“...โบโร คือพลังสร้างสรรค์บริสุทธิ์...คือพลังแรงแห่งน้ำใจและน้ำมือมนุษย์เดินดิน ด้วยรักและตระหนักรู้ต่อพุทธธรรมว่าจะเกื้อกูลค้ำจุนโลกได้แท้จริง...

ถ้าว่าความรัก ความงาม ความจริง และความดีมีอยู่จริง โบโรบูดัวหรือบรมพุทโธเป็นอันนั้นคือ การุณยธรรมอันสำแดงออกในงานศิลปะชั้นสูงส่งเท่าที่มนุษย์เคยสร้างสรรค์แล้วในโลกพิภพ...

บรมพุทโธ คือ สื่อสืบสานมโนคติ หากได้สัมผัสคงเป็นบุญแห่งขันธ์และการจาริกมาก็เป็นบุญกิริยา และแม้ไม่มา เพียงรู้ล้วนๆ ในช่วงขณะใดขณะหนึ่ง ล่วงพ้นนิมิตต่างๆ ก็ชื่อว่ามาถึงบุรีแห่งพุทโธ และถ้ามันกลายเป็นวาสนาบารมีไปแล้ว การเข้าผ่านประตูกาลมุขนั้น ก็คือการเข้าถึงไวโรจนพุทธะ สภาพตื่นผลิบานอันรุ่งเรือง คือ พระสถูปมหาสุญญตา แต่การภาวนาที่โน้มทั้งกาย วาจา และใจ เข้าทางธรรมนั้นนับว่างดงาม...”

ตามรอยสังฆราชา ณ บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย (ตอนที่ 1)

ธรรมาภิวัตน์ : ตามรอยสังฆราชา ณ บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย (ตอนที่ 1)

เผยแพร่:    โดย: MGR Online


เป็นเวลากว่า 45 ปีแล้ว ที่ประเทศไทยโดยพระธรรมทูตได้เดินทางไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ด้วยพระเมตตาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
หากมองย้อนกลับไปในแดนอิเหนาหรืออินโดนีเซียนั้น คุณผู้อ่านก็คงคิดเหมือนกับผมนะครับว่า น่าจะไม่ใช่เมืองพุทธ น่าจะเป็นอิสลามมากกว่า
เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือกว่า 90% ส่วนศาสนาพุทธมีผู้นับถือเพียง 2% เท่านั้น แต่หากคิดเป็นตัวเลขจำนวนประชากรของอินโดนีเชียที่มีอยู่ 250กว่าล้านคนแล้ว ผู้ที่นับถือพุทธก็มีจำนวนถึง 5 ล้านคน ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
ยิ่งปัจจุบันนี้มีพ่อค้าคนจีนเข้าไปตั้งรกรากทำการค้าในอินโดนีเซียมากขึ้น ก็ทำให้มีแรงสนับสนุนต่อพุทธศาสนานิกายมหายานมากตามไปด้วย โดยคหบดีชาวจีนในอินโดนีเซีย มีส่วนสำคัญที่ทำให้พุทธศาสนานิกายมหายาน เริ่มมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้นครับ ซึ่งเถรวาทเองก็ได้รับอานิสงส์ด้วย
ในช่วงที่ผมหาข้อมูลเพื่อจะเดินทางไปท่องเที่ยวท่องธรรมตามรอยสังฆราชา ณ บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย นั้น ผมได้อ่านหนังสือชื่อ "อินโดนีเซีย" ของสำนักพิมพ์สู่โลกกว้าง เขียนโดยคุณศิริพร โตกทองคำ เล่าเอาไว้ตอนหนึ่งว่า
"...พระพุทธศาสนาในอินโดนีเซียมีส่วนผสมของฮินดู จนบางครั้งแยกกันไม่ออก ฮินดูและพุทธจึงอยู่ร่วมกันจนมีผู้มองว่า ศาสนาพุทธแตกกิ่งก้านมาจากฮินดู แต่มีความอ่อนโยนและลึกซึ้งกว่า แผ่ขยายสู่จีนและผ่านทางการออกธุดงค์ของพระสงฆ์ ก่อนเข้าสู่ชวาและสุมาตรา
โดยพื้นฐานแล้วศาสนาพุทธแตกสาขามาจากฮินดูก็จริง แต่ละทิ้งแนวคิดเรื่องวรรณะเช่นเดียวกับความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าหลายองค์ และเสนอแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม ชาวพุทธในอินโดนีเซียส่วนใหญ่เป็นคนจีน แม้จะเป็นพุทธที่ผสมผสานกับความเชื่อของบรรพบุรุษคือลัทธิเต๋าและขงจื้อ แต่คนจีนส่วนใหญ่ชอบบอกว่าตนเป็นคนพุทธ...”

ข้อมูลนี้สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายอย่างครับ เพราะถึงแม้ว่าในปัจจุบันอินโดนีเซียจะเป็นประเทศนับถือศาสนาอิสลาม แต่ในอดีตนั้นพบว่า เคยมีพระพุทธศาสนาแบบมหายานเข้ามาในอินโดนีเซีย รวมทั้งแหลมมลายู ขึ้นมาถึง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราชของไทย ซึ่งในสมัยหนึ่งคืออาณาจักรศรีวิชัยนั่นเองครับ เพราะมีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดาและบริเวณภาคใต้ของไทย (บางส่วน) กลายเป็นดินแดนที่ยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนามาก เป็นอาณาจักรที่นับถือพุทธศาสนามหายาน ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย 2 ทาง คือ จากราชวงศ์โจฬะ (อินเดียใต้) และราชวงศ์ปาละ (เบงกอล) ซึ่งนำพุทธศาสนาวัชรยาน (Vajrayana) หรือตันตระ (Tantra) เข้ามา
ดังนั้น ศรีวิชัยจึงเป็นอาณาจักรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานอย่างแพร่หลาย พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก อาทิ พระพิมพ์ดินดิบ และพระโพธิสัตว์ เป็นต้น
ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ที่มีการติดต่อกับราชวงศ์ปาละแห่งเบงกอล ได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน มีการส่งพระภิกษุไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย ซึ่งกษัตริย์เบงกอลก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันทางเบงกอลก็ได้ส่งพระภิกษุมาเผยแผ่พุทธศาสนา ส่งช่างฝีมือมาสอนศิลปะสมัยปาละ ให้แก่ชาวศรีวิชัยด้วย
มีการค้นพบหลักฐานจากบันทึกการเดินทางของพระสมณะอี้จิง ที่ได้จาริกผ่านมายังเกาะสุมาตรา ระหว่างเดินทางไปอินเดีย ได้เล่าถึงอาณาจักรศรีวิชัยว่า
"เมืองนี้มีพระสงฆ์มากกว่า 1,000 รูป พระวินัยและพิธีสงฆ์เหมือนกับที่อินเดีย ท่านอยู่ศึกษาไวยากรณ์สันสกฤตที่อาณาจักรศรีวิชัย 6 เดือน ก่อนเดินทางไปอินเดีย และตอนขากลับจากอินเดียได้ใช้เวลาแปลคัมภีร์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนอีก 4 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมืองศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน รวมทั้งมีหลักฐานให้เชื่อได้ว่า อาณาจักรแห่งพระพุทธศาสนา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตราแห่งนี้"
ราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีการสร้างมหาสถูปโบโรบุดูร์ หรือบรมพุทโธ หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า "บุโรพุทโธ" (ภาษาอินโดนีเซีย : Chandi Borobudur) สร้างโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร ให้เป็นศาสนสถานของพุทธนิกายมหายาน และถือได้ว่าเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก สื่อถึงสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ สื่อถึงความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อพุทธศาสนา นอกจากนี้ องค์การยูเนสโกยังได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลกเมื่อพ.ศ.2534
บุโรพุทโธเป็นสถูปแบบมหายาน สร้างขึ้นด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุต บนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เอาหินแต่ละก้อนมาเรียงโดยไม่ใช้ปูนมาก่อขึ้นเป็นรูปทรงแบบพีระมิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้นสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นลดหลั่นกันไป ที่สำคัญคือเมื่อเกิดแผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด สถูปเจดีย์ไม่ทรุด ยังทรงอยู่ได้ น่าอัศจรรย์มากครับ
สถูปเจดีย์ที่มีรูปทรงโอ่งคว่ำเป็นแบบทึบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของ “อรูปธาตุ” (ไม่ปรากฏร่างกาย) และเป็นเพียงสัญลักษณ์พระสถูปเจดีย์ดังกล่าว อันเป็นพลังสากลทั่วไปที่แผ่ไปทั่วสกลจักรวาล ฐานชั้นล่างสุดซึ่งเป็นชั้นที่ 1 ของบุโรพุทโธ จะมีภาพสลักทั้งหมด 160 ภาพ โดยทุกภาพเป็นการเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์ธรรมวิภังค์” ว่าด้วยเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ซึ่งก็คือเรื่องของบาป บุญ คุณ โทษ
เชื่อกันว่าแผนผังของบุโรพุทโธคงหมายถึง “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงโดยสถูปที่บนยอดสุดก็ได้แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาล แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือชั้นบนสุดได้แก่ “อรูปธาตุ” ชั้นรองลงมาคือ “รูปธาตุ” และชั้นต่ำสุดคือ “กามธาตุ”
ส่วนพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่บนยอดสูงสุดของบุโรพุทโธ ก็คือสัญลักษณ์แทนองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุด ในคติความเชื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งนั่นเองครับ
พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ไม่ผิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เมื่อมีเกิดได้ก็ต้องมีดับได้เป็นธรรมดาโลก ศาสนาก็เหมือนกันครับ เกิดได้ เจริญรุ่งเรืองได้ ก็ย่อมดับได้ ยุคเสื่อมของพุทธศาสนาในอินโดนีเซีย อยู่ในช่วงพ.ศ. 1836-2043 เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) เข้ามามีอำนาจแทน
ประมาณปี พ.ศ. 2027 ในสมัยของกษัตริย์ "ระเด่นปาทา" มีอำนาจอันเกิดจากการปิตุฆาตพระบิดา คือพระเจ้าองควิชัย และได้สถาปนาตัวเองเป็นสุลต่านแผ่อำนาจไปทั่วหมู่เกาะชวา เกาะสุมาตรา ทั่วทั้งแหลมมลายูก็กลายเป็นมุสลิมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพระองค์ทรงเกิดความเลื่อมใสในศาสนาอิสลาม ทรงยกย่องให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และห้ามเผยแผ่พุทธศาสนา เจ้าเมืองต่างๆที่เกรงกลัวต่างพากันเข้ารีตนับถืออิสลาม ส่วนผู้ที่มั่นคงในศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาได้พากันหนีภัยลงไปอยู่ที่เกาะบาหลี
ในช่วงนั้นชาวพุทธในอินโดนีเซียไม่ได้มีบทบาทใดเลย จนกลายเป็นชนกลุ่มน้อยไปในที่สุด เนื่องจากชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่พระพุทธศาสนาตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมตลอดระยะเวลาอันยาวนาน 
กระทั่งพุทธสถานบุโรพุทโธ ซึ่งถือได้ว่ามีความเก่าแก่และใหญ่โต เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของอาณาจักรศรีวิชัย ยังเหลือเพียงซากปรักหักพังที่จมอยู่ใต้ดินทราย คิดดูแล้วกันครับว่า พุทธศาสนาในสมัยนั้นตกต่ำย่ำแย่เพียงใด
พุทธศาสนาในอินโดนีเซียเริ่มกระเตื้องขึ้นมาบ้าง ในยุคที่ฮอลันดาเข้ามาปกครอง และได้รับเอกราชในเวลาต่อมา
โดยช่วงก่อนหน้านั้น รัฐบาลอาณานิคม (Nethelands East Indies) ของฮอลแลนด์ ซึ่งตั้งเมืองหลวงที่ปัตตาเวีย (Batavia) ได้เฝ้าติดตามผู้นำอิสลามอย่างใกล้ชิด และเฝ้าระวังมิให้เจ้าหน้าที่สุเหร่า โรงเรียนอิสลามและครูสอนศาสนา กระทำการปลุกระดมประชาชน เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐอาณานิคม ซึ่งต้องพยายามแยกอิสลามที่เป็นศาสนากับอิสลามที่เป็นพลังทางการเมืองออกจากกัน ทว่าหาได้เป็นการแทรกแซงในศาสนาอิสลามไม่ ประกอบกับระยะหลังอินโดนีเซียถูกกดดันอย่างหนักภายหลังการประกาศอิสรภาพ ว่าอินโดนีเซียควรเป็นรัฐทางโลก (Secular State) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องศาสนาในประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541เป็นต้นมา รัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มมีนโยบายที่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่นๆ แก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างของศาสนาพุทธที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้การสนับสนุนการจัดงานเฉลิมฉลอง เนื่องในวันวิสาขบูชา และยังได้ประกาศยกย่องให้วันนี้เป็นวันหยุดแห่งชาติอีกด้วย
ไทยเรามีความสัมพันธ์กับดินแดนอิเหนามาช้านาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันตั้งแต่ยุคชวา สมัยนั้นมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางด้านวรรณคดี อาหาร เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี
มีพระมหากษัตริย์ไทยถึง 3 พระองค์ได้เคยเสด็จฯดินแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จฯ เยือน 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2414 พ.ศ. 2439 และ พ.ศ. 2444
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯเยือนในปีพ.ศ. 2472 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยือน ใน พ.ศ.2503 โดยได้เสด็จฯ ไปกรุงจาการ์ตา เมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก จังหวัดย็อกยาการ์ตา และจังหวัดบาหลี
ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2493 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปได้ด้วยดีครับ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในระดับทวิภาคีและกรอบพหุภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในกรอบอาเซียน
นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆอย่างสม่ำเสมอ นั่นถือเป็นสัญญาณดีที่ไทยเราในฐานะเมืองหลวงพุทธแห่งแดนสุวรรณภูมิ จะได้เข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินโดนีเซียทั้งชวา ภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันตก ให้รุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง
พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร เล่าให้ "ธรรมาภิวัตน์" ฟังถึงตำนานตอนหนึ่งของอินโดนีเซียที่ว่า
"พระพุทธศาสนาในอินโดนีเซีย ในช่วงที่อาณาจักรมัชปาหิตปกครองนั้นตกต่ำลงอย่างมาก แต่ก็มีคำกล่าวทำนายของ "ปุชังคะ" เป็นตำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายพระพุทธศาสนาของพระราชสำนัก ซึ่งมีอยู่ 2 ท่าน คือ ท่านสัปโดปาลอน และนายยะเคงคอง ในตอนนั้นไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม ได้กราบทูลว่า “อีก 500 ปี พระพุทธศาสนาจะกลับมา” จากนั้นก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย จวบจนถึงกึ่งพุทธกาลเศษ แสงเรืองรองแห่งพระพุทธศาสนาก็เริ่มปรากฏ และเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ก็ได้มีบทบาทร่วมจุดแสงเรืองรองนี้"
พื้นที่หน้ากระดาษหมดลงในตรงนี้พอดี ในธรรมลีลาฉบับหน้าผมจะเขียนเล่าต่อครับว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการนำแสงแห่งธรรมเข้าไปยังแดนอิเหนาได้อย่างไร อย่าลืมติดตามนะครับ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 160 เมษายน 2557 โดย กานต์ จอมอินตา ผู้อำนวยการโครงการธรรมาภิวัตน์ สถานีโทรทัศน์ ASTV)






แผนผังของบุโรพุทโธ
แผนผังของบุโรพุทโธ

งานฉลองวิสาขบูชา ณ มหาสถูปบุโรพุทโธ
งานฉลองวิสาขบูชา ณ มหาสถูปบุโรพุทโธ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยือนบุโรพุทโธ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยือนบุโรพุทโธ

ที่มา
https://mgronline.com/dhamma/detail/9570000036750

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

SMART FARM กับการเกษตรยุคดิจิทัล

SMART FARM กับการเกษตรยุคดิจิทัล
06 พฤศจิกายน 2561
1,069
คำว่า "SMART FARM" ได้เข้ามาทำให้เกษตรกร รวมถึงเรา ๆ ทุกคน เกิดความสงสัยมาระยะเวลาหนึ่ง แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่า "SMART FARM" อะไรบ้างที่จะเป็นตัวช่วยในการทำเกษตรในยุคนี้
ในยุคที่แต่ละประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แรงงานในภาคการเกษตรลดลง รวมถึงเป็นยุคที่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุ และคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะสนใจอาชีพเกษตรกรซักเท่าไหร่ แต่มนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะบริโภคสินค้าเกษตรเพื่อการยังชีพ ทำให้ภาคเกษตรเริ่มมีการปรับตัวเองโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประเทศผู้นำอย่างเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย เป็นต้น จนทำให้เกิดคำว่า SMART FARM หรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ "เกษตรอัจฉริยะ"

SMART FARM หรือ เกษตรอัจฉริยะ คือ การทำเกษตรในยุคใหม่ ยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร นวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาใช้ในการทำงาน ที่สำคัญต้องปลอดภัยทั้งต่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำเกษตรอัจฉริยะ คือ การเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture หรือ Precision Farming) โดยเป็นการทำเกษตรที่เข้ากับสภาพพื้นที่โดยเน้นพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ เน้นประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จนถึงกระบวนการปลูกที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจวัดทั้งเรื่องของสภาพดิน ความชื้นในดิน แร่ธาตุในดิน ความเป็นกรดด่าง (หรือที่เรียกกันว่า ดินเค็ม/ดินเปรี้ยว) สภาพปริมาณแสงธรรมชาติ รวมถึงเรื่องศัตรูพืชต่างๆ บางประเทศมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมผ่านการปลูกในโรงเรือน เพื่อป้องกันศัตรูพืชและสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆได้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นบางแห่งได้ลองตั้ง "โรงงานปลูกผัก" ในหลายประเทศ เช่น บริษัทฟูจิซึ ได้ตั้ง "โรงงานปลูกผัก" ในฟินแลนด์เนื่องจากประเทศฟินแลนด์ประสบปัญหาไม่สามารถปลูกพืชได้ เนื่องจากในฤดูหนาวมีแสงอาทิตย์น้อย โรงงานนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาให้ปลูกพืชในระบบปิดหรือปลูกในที่ร่ม โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแสง อุณหภูมิ น้ำ ให้เป็นไปแบบอัตโนมัติ และคาดว่าจะให้ผลผลิต 240 ตัน/ปี หรือบริษัทชาร์ปที่มีโรงงานปลูกสตรอเบอร์รี่ในตะวันออกกลาง มีการฟอกอากาศด้วยเทคโนโลยี "พลาสมาคลัสเตอร์" ทำให้ได้สตรอเบอร์รี่ที่หวานเหมือนปลูกในญี่ปุ่น การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยแบบนี้ทำให้ไม่มีศัตรูพืช ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง จึงปลอดภัย ได้ราคาและคุณภาพสูง ปลูกได้ตลอดปี แต่มีข้อเสียที่ต้นทุนสูงกว่าปลูกแบบธรรมชาติ

ความแตกต่างของภูมิประเทศแต่ละที่ทำให้สภาพของดิน น้ำ ความสมบูรณ์ของแร่ธาตุต่างๆ แสง ศัตรูพืช พืชท้องถิ่น แมลงท้องถิ่น ที่เป็นปัจจัยจำนวนมากในการสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพและได้พืชผลตามขนาดที่ต้องการ จะเห็นได้ว่าฟาร์มอัจฉริยะมีความต้องการและความแตกต่างจากการทำเกษตรแบบปกติเป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์อีกข้อหนึ่งคือ การไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ดังนั้นความแม่นยำในการเสริมปัจจัยต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด จึงเป็นกุญแจสำคัญในการทำเกษตรอัจฉริยะที่ได้ประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำ สมาร์ทฟาร์ม จะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ดังต่อไปนี้

1. การระบุตำแหน่งพื้นที่เพาะปลูก
2. การแปรวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรงกับระยะเวลาของการเพาะปลูกพืช
3.การบริหารจัดการพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร และต้องเข้ากับการเพาะปลูกพืชในชนิดนั้นๆ

ปัจจุบันในบ้านเราเองก็มีตัวอย่างการทำสมาร์ทฟาร์ม ที่ประยุกต์เอาเทคโนโลยีมาช่วย อย่างกรณีของอาจารย์ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ได้คิดค้นแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ที่เลี้ยงปลานิลส่งขาย ภายในแอพพลิเคชั่นสามารถแสดงสภาพอากาศ คุณภาพ ปริมาตรน้ำ ผลตอบแทน ราคา วัดน้ำหนักและขนาดปลาได้ เพิ่มความสำเร็จในการสร้างรายได้มากขึ้นเพียงปลายนิ้วคลิก

ล่าสุดที่พึ่งเปิดตัวไป กับ ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่อย่าง DTAC ที่ได้จับมือกับ บริษัทรักบ้านเกิด และรีคัลท์ พัฒนา แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ กับแอพฯ Farmer Info ที่เปิดให้บริการแก่เกษตรกรมากว่า 5 ปี ด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ ที่ชื่อว่า "ฟาร์มแม่นยำ" กับการนำเทคโนโลยีดาวเทียม Big Data จากทั่วโลก ช่วยในเรื่องของการพยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่ การตรวจสุขภาพพืช รวมไปถึงการวางแผนการเพาะปลูก ที่สามารถบอกข้อมูลรายแปลงได้อย่างแม่นยำ

และยังมีตัวอย่างคนไทยอีกรายที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม ได้ประกอบอุปกรณ์สำหรับแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ ให้มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ค่ากรดต่างๆ ใช้ Relay (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร) ในการควบคุมปั๊มแรงดันเพื่อพ่นละอองน้ำ ทำให้สะดวกในการปลูกและไม่เสียเวลาดูแลมากนัก มองอีกแง่หนึ่ง ถือเป็นโอกาสดีสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเกษตรที่จะใช้ความถนัดด้านการพัฒนาด้านซอฟแวร์ หรือผลิตเครื่องจักรกลด้านการเกษตรเข้ามาทำตลาดได้

ปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกษตรกรไทย สามารถจับต้องได้ และใช้งานได้จริง เพียงแค่เปิดรับ และกล้าที่จะปรับเปลี่ยน พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน มันสามารถจะช่วย่ให้การดูแล และการจัดการแปลงเกษตรของเราทำได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหนก็ตาม จากการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เพื่อก้าวสู่การเป็น SMART FARMER อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้การเกษตรเป็นเรื่องง่าย ๆ แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส


ขอขอบคุณ
http://www.mitrpholmodernfarm.com/news
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/606451
https://www.facebook.com/smartfarmthailand/?ref=ts&fref=ts
https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_23510
http://www.thairath.co.th/content/448146
https://brandinside.asia/smart-farming-thailand-opportunity/

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน การติดตั้งโรงเรือน

เรียนรู้ "การติดตั้งโรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ " เครื่องมือการผลิตพืชผักที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน ดิน ปฐมบทแห่งการปลูกพืช

คงไม่ใช่คำพูดที่กล่าวเกินจริง หากจะบอกว่า..ดินเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก เพราะตัวชี้ขาดความสำเร็จของการทำเกษตรคือดิน ถ้าดินดี-มีความอุดมสมบูรณ์ ย่อมถือว่าเกษตรกรคนนั้นมีชัยไปเกินครึ่ง ...แล้วดินแบบไหน? จึงจะดีและเหมาะสมสำหรับการปลูกและการเจริญเติบโตของพืช

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน ระบบน้ำเพื่อการเพาะปลูก

เมื่อใครสักคนตัดสินใจทำการเกษตร ประโยคที่มักถูกถามเสมอก็คือ “มีแหล่งน้ำแล้วหรือยัง” เพราะน้ำเป็นหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเพาะปลูก เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ที่มีน้ำเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตและการดำรงชีพ การใช้น้ำเพื่อการเกษตรในสมัยก่อนยังพึ่งพาธรรมชาติอยู่มาก ต่อเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจุดประกายให้เกิดการคิดค้นและพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรในหลากหลายรูปแบบ

เก็บตกกิจกรรม Club Farmday Workshop “ใช้น้ำอย่าง Smart เลือกตลาดให้เป็น”

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน โรคและแมลงศัตรูพืช

ดูเป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่เลือกซื้อหาผักที่สด ใหม่ ใบสวย มากกว่าผักที่มีรูพรุน ใบขาดแหว่ง หรือมีจุดเล็กๆ เป็นสีๆ เพราะเข้าใจว่าคือผักที่ปลอดภัย ไว้ใจได้ แม้ความเชื่อเหล่านี้จะได้รับคำอธิบายว่าไม่จริงเสมอไป คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพืชผักน่าจะมาจากสองสาเหตุใหญ่ๆ คือ โรคพืชและแมลงศัตรูพืช แต่ในความเป็นจริงกลุ่มของศัตรูพืชมีมากกว่านั้น และพบได้ตลอดระยะเวลาของการปลูกพืช ขึ้นกับว่าศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นเป็นอะไรและเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดของการเพาะปลูก
“ปลิว” หรือ พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เจ้าของฟาร์ม “แก้วพะเนาว์” ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีแนวทางการทำเกษตรบนพื้นฐานหลักวิชาด้านเกษตรที่ร่ำเรียนมา บวกกับประสบการณ์ที่เรียนรู้จากประเทศอิสราเอล หลอมหลวมให้เขานำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้พลิกผืนดินแห้งแล้งบ้านเกิดกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่สร้างรายได้ และกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัดมหาสารคาม ไม่เพียงปรับเปลี่ยนพื้นที่ตัวเอง แต่เขาได้ขยายความรู้และสร้างเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจ 6 กลุ่มใน 6 หมู่บ้านของตำบลนาภู และกำลังขยับไปสู่การจัดตั้งเป็น “สหกรณ์”   ความตั้งใจแรกที่กลับมาทำเกษตรบนพื้นที่ 7 ไร่ของครอบครัว “ปลิว” ต้องการทำให้เหมือนรูปแบบบริษัท จัดระบบการเพาะปลูกให้ครบวงจรในพื้นที่ ด้วยคิดว่าตัวเองทำได้ "กลับมาทำที่บ้านก็ต้องทำของตนเองก่อน คนที่กลับมาแล้วทำให้ชุมชนได้เลย อันนั้นเขามีทุน ตอนที่เริ่มทำ คิดว่าจะบริหารตัวเองได้ แต่ปรากฏว่าเรารับความเสี่ยงคนเดียว เราดูแลไม่ไหว ต้องจ้างคน แล้วก็มาคิดว่าถ้าจะทำเป็นธุรกิจ ต้องมีวัตถุดิบ ซึ่งเราทำเองทั้งหมดไม่ได้” และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ “ปลิว” เข้าไปเกี่ยวข้องกับ “ชุมชน” โดยเริ่มจากชุมชนหมู่ 17 ที่ติดกับพื้นที่ของเขา ปลิวเข้าไปชักชวนให้ปลูกผัก โดยให้ความรู้ทุกขั้นตอนการผลิต วางปฏิทินการเพาะปลูก กำหนดปริมาณผลผลิตที่ต้องการ จนเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจปลูกผักอินทรีย์หมู่ 17 มีพื้นที่ปลูกผักรวม 10 ไร่ ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการแบ่งโควต้าการผลิตให้เกษตรกรแล้วนำผลผลิตที่ได้มารวมกัน โดย “ปลิว” เป็นผู้เชื่อมโยงตลาด กลุ่มวิสาหกิจปลูกผักอินทรีย์หมู่ 17 เกิดขึ้นหลังจากที่ “ปลิว” กลับมาทำเกษตรได้ 3 ปี ปัจจุบันเขาได้ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจในตำบลนาภูอีก 5 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มปลูกผักหมู่ 8 กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ กลุ่มธนาคารใบไม้ กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ และกลุ่มหมู่บ้านทฤษฎีใหม่ ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากที่ชุมชนเข้ามาขอคำแนะนำจากเขา จากจุดเริ่มความคิดที่จะทำเกษตรในรูปแบบบริษัทในพื้นที่ของตนเอง ขยับสู่งานส่งเสริมชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่ม ภารกิจ “ส่งเสริมชุมชน” ที่ไม่ได้เป็นหมุดหมายของการกลับมาทำเกษตร แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ปลิว” ไปแล้ว และกลายเป็นจิ๊กซอว์สู่การสร้างสหกรณ์ของตำบล “ความคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากส่งเสริมชุมชนแรกและได้รู้จักคุณค่าของการส่งเสริม คนที่ได้สิ่งที่เราให้ เขามีความสุข เราก็มีความสุขกับเขา” การเกิดขึ้นของกลุ่มวิสาหกิจทั้ง 6 กลุ่มที่ “ปลิว” เข้าไปเป็นที่ปรึกษา เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่ “ปลิว” มองว่าจะนำไปสู่การจัดตั้งเป็น “สหกรณ์” จิ๊กซอว์แต่ละตัวเป็นต้นทางของวัตถุดิบในการปลูกผักทั้งเมล็ดพันธุ์ ขี้วัว หรือปุ๋ย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากแต่ละกลุ่มจะถูกส่งเข้าสหกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงตลาด “การเป็นสหกรณ์มีคณะกรรมการบริหาร มีการตรวจสอบ มีความน่าเชื่อถือ ชุมชนมีส่วนร่วม คณะกรรมการได้รับค่าตอบแทน แต่หากเป็นกลุ่มวิสาหกิจ กรรมการไม่มีค่าตอบแทน คนทำก็ท้อ สุดท้ายก็ล้ม” ทุกวันนี้ “ปลิว” ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แต่ละกลุ่ม เข้าไปช่วยคิด ให้ความรู้และแนะนำแนวทางให้กลุ่ม “มาทำแบบนี้เหมือนจิตอาสา ไม่ได้อะไร แต่ได้ความสุข เป็นภาระมั้ย ถ้าว่างก็ไม่เป็นนะ อยากเห็นชุมชนทั้งหมดที่เราช่วยไปต่อได้ ก็เกิดความคิดแปลกๆ ว่า ถ้าเราไม่ทำ แล้วใครจะทำ ทำไปเถอะ เดี๋ยวก็ไม่อยู่แล้ว"




Club Farmday ตอน ชุดตรวจโรคพืชของคนไทย

ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ทีมวิจัยต้องการให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้ชุดตรวจที่ง่าย สะดวก ราคาไม่แพง ที่สำคัญช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการแปลงได้ทันท่วงที หากพบการติดเชื้อโรคในแปลงปลูก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากผลผลิตที่เสียหายได้ “ปัจจุบันนอกจากบริษัทเมล็ดพันธุ์จะซื้อชุดตรวจนี้ให้เกษตรกรที่เป็นลูกไร่ใช้แล้ว ทีมวิจัยเองอยากผลักดันให้เกษตรกรที่ปลูกผลสดได้ใช้ เช่น เมล่อน ใช้ตรวจตอนเป็นต้นอ่อน ถ้ามีอาการโรคในช่วงต้นอ่อน ถ้าพบว่าเป็นโรค เขาสามารถแจ้งเคลมไปที่บริษัทเมล็ดพันธุ์นั้นได้” นอกจากนี้ทีมวิจัยยังอยู่ระหว่างพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชที่ครอบคลุมชนิดพืชผักเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้น ทั้งเชื้อกักกันและเชื้อที่ระบาดในประเทศ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการระบาดของเชื้อในแปลงเกษตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรและการส่งออกของประเทศได้ “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ผลิตภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์ หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้เฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรค และเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานสำหรับประเทศไทยและมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่าของต่างประเทศ จึงนับเป็นอีกความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการเกษตรของประเทศ “ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า” ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก โดยพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งหนึ่งในผลงานชุดตรวจวินิจฉัยที่ผลิตจำหน่ายแล้วคือ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียจากเชื้อ Acidovorax citrulli (Aac) ในพืชตระกูลแตง (แตงโม แตงกวา เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง ฟัก บวบ มะระ)


บ่อยครั้งที่เครื่องมือหรือเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากต่างประเทศที่ว่าดีที่ว่าเยี่ยม แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศเราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นดังที่หวัง เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เราจึงเห็นความพยายามของคนไทยที่พยายามพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับบริบทของบ้านเรา ดังเช่น “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” ผลงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยไทย
ดร.อรประไพ คชนันทน์ หัวหน้าทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กล่าวว่า ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชช่วยแยกหรือวินิจฉัยว่าพืชเป็นโรคอะไร เพื่อช่วยจัดการควบคุมโรคได้ บริษัทเมล็ดพันธุ์หรือหน่วยงานราชการที่ปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์ต้านทาน ต้องอาศัยชุดตรวจเพื่อช่วยตรวจเชื้อโรค ขณะเดียวกันการใช้ชุดตรวจมีความจำเป็นต่อการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นไม่มีเชื้อกักกัน
ทีมวิจัยของดร.อรประไพ มีความเชี่ยวชาญผลิตวัตถุชีวภาพที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคนั้นๆ ทีมวิจัยจึงได้นำคุณลักษณะนี้มาพัฒนาเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคพืชให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชในบ้านเรา
“ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า”
ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก โดยพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งหนึ่งในผลงานชุดตรวจวินิจฉัยที่ผลิตจำหน่ายแล้วคือ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียจากเชื้อ Acidovorax citrulli (Aac) ในพืชตระกูลแตง (แตงโม แตงกวา เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง ฟัก บวบ มะระ)
“เชื้อแบคทีเรีย Acidovorax citrulli ทำให้เกิดโรคผลเน่าในพืชตระกูลแตง  เชื้อนี้ทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตมากในพืชตระกูลแตงในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเชื้อนี้ถ่ายทอดผ่านเมล็ดพันธุ์ได้และอยู่ในเมล็ดพันธุ์ได้เป็นเวลานานหลายสิบปี เมื่อนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะ เชื้อสามารถเพิ่มปริมาณ ทำให้เกิดอาการของโรคและระบาดไปทั้งแปลงปลูก ซึ่งชุดตรวจนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปตรวจในแปลงปลูกได้”
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรีย หรือที่เรียกว่า ชุดตรวจ Aac detection Kit นี้เป็นชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ Immunochromatographic Strip Test มีความจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อ Aac ไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกับเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น และสามารถตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างต้นอ่อน ใบ และเปลือกของผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหนึ่งชุดตรวจประกอบด้วย ถาดพลาสติกสำหรับหยดน้ำยา น้ำยาสำหรับสกัดเชื้อ หลอดหยด และถุงเก็บตัวอย่างใบพืช ราคาจำหน่าย 1 กล่อง (10 ชุด) 1,000 บาท ซึ่งวิธีการใช้งานง่าย เกษตรกรเก็บใบพืชที่คาดว่าจะเป็นโรคลงในถุงเก็บตัวอย่าง จากนั้นหยดน้ำยา 2 หยดในถุง แล้วบดใบพืชให้ละเอียด แล้วนำหลอดหยดดูดน้ำจากในถุง หยดลงบนถาด 3 หยด ทิ้งไว้ 5 นาที หากพืชติดเชื้อโรคจะมีแถบสีปรากฏ 2 แถบ แต่ถ้าไม่มีเชื้อโรคจะขึ้นเพียงหนึ่งแถบ ทั้งนี้แต่ละชุดตรวจใช้งานได้ครั้งเดียว
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ทีมวิจัยต้องการให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้ชุดตรวจที่ง่าย สะดวก ราคาไม่แพง ที่สำคัญช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการแปลงได้ทันท่วงที หากพบการติดเชื้อโรคในแปลงปลูก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากผลผลิตที่เสียหายได้
“ปัจจุบันนอกจากบริษัทเมล็ดพันธุ์จะซื้อชุดตรวจนี้ให้เกษตรกรที่เป็นลูกไล่ใช้แล้ว ทีมวิจัยเองอยากผลักดันให้เกษตรกรที่ปลูกผลสดได้ใช้ เช่น เมล่อน ใช้ตรวจตอนเป็นต้นอ่อน ถ้ามีอาการโรคในช่วงต้นอ่อน ถ้าพบว่าเป็นโรค เขาสามารถแจ้งเคลมไปที่บริษัทเมล็ดพันธุ์นั้นได้”
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังอยู่ระหว่างพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชที่ครอบคลุมชนิดพืชผักเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้น ทั้งเชื้อกักกันและเชื้อที่ระบาดในประเทศ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการระบาดของเชื้อในแปลงเกษตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรและการส่งออกของประเทศได้
“ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ผลิตภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์ หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้เฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรค และเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานสำหรับประเทศไทยและมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่าของต่างประเทศ จึงนับเป็นอีกความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการเกษตรของประเทศ
# # #

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช”
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3331 
สนใจสั่งซื้อ “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรีย”
บริษัท พาร์เวล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
โทรศัพท์ 0 2434 3671-3

smart farming ระบบควบคุมสภาพภูมิอากาศโรงเรือนแบบอัจฉริยะ

smart farming ระบบควบคุมสภาพภูมิอากาศโรงเรือนแบบอัจฉริยะ



เผยแพร่เมื่อ 20 ก.พ. 2015

ติดตาม 4.9K
ระบบควบคุมสภาพภูมิอากาศโรงเรือนแบบอัจฉริยะ SMART FARMING ผลงานชนะเลิศด้านการเกษตร เวทีนักคิดสิ่งประดิษฐ์ 2558 ฝีมือ ผศ. ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม รองอธิการบดี คณาจารย์และนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร ให้เกษตรกรรวยได้ ไม่ต้องแคร์ ฟ้า ฝน!!!

กล่องคอนโทรลระบบอุณหภูมิ ความชื้น 2500บาทโทร 0878718889 เผยแพร่เมื่อ 15 ก.ค. 2017

ตู้ควบคุม อุณหภูมิ และ ความชื้น สำหรับโรงเพาะเห็ด 



เผยแพร่เมื่อ 4 ก.พ. 2018

ติดตาม 2.9K
ตู้ควบคุม อุณหภูมิ และ ความชื้น สำหรับโรงเพาะเห็ด ตู้ควบคุม อุณหภูมิ และ ความชื้น โรงเพาะเห็ด สั่งปั๊มน้ำพ่นหมอก +พัดลมระบายอากาศเพื่อ ลดความร้อน ตู้ควบคุม อุณหภูมิ และ ความชื้น สั่งปั๊มน้ำ 1 ตัว + พัดลม 2 ตัว ตู้ควบคุมระบบ (สมาร์ท ฟาร์ม) smart farm ตู้ควบคุม อุณหภูมิ และความชื้น ใช้สำหรับโรงเพาะเห็ด หรือ ฟาร์มเมล่อน (ธุระกิจเลี้ยงนกนางแอ่น) ระบบจะตรวจจับ -ความชื้นถ้าต่ำกว่า% ที่ตั้งไว้ระบบ จะสั่งปั๊มพ่นหมอกทำงาน เพื่อรักษาความชื้นให้ คงที่ตลอดเวลา เช่น เดียวกับ -อุณหภูมิ ถ้าในโรงเรือนมีอุณหภูมิสูง เกิน องศา ที่ตั้งไว้ ระบบจะสั่งพัดลม ระบายความร้อน ออก จนกว่าอุณหภูมิ จะลดลง เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต ให้ มากขึ้น สม่ำเสมอ คงคุณภาพ ระบบการทำงาน


ทำไมต้อง fogeasy ชุดพ่นหมอกแรงดันต่ำ ติดตั้งง่าย fogeasy.com