วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผักโขม (Amaranth) ปวยเล้ง (Spinach)

ผักขม : สรรพคุณสารพัดประโยชน์ แต่ใช่ผักชนิดเดียวกับที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลังหรือไม่

ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน

ปักชำผักโขม#โตไวไม่ใช้เมล็ด

ใช้ต้นผักโขมปักดินโดยใช้กิ่งที่เหลือทิ้งเราเอามาปักชำ10วันแตกกิ่งมีใบโตสมบูรณ์ไวกว่าในเมล็ดและที่สำคัญไม่ทิ้งกิ่งที่เหลือได้ประโยชน์ได้ผักเพิ่มไว้ทาน

เก็บผักโขมแดง #บำรุงสายตา #กินแล้วผิวสวย วิตามินซีสูง


ผักโขมยักษ์ ผักโขมจีน ผักโขมทุกชนิด มีสรรพคุณทางอาหาร ทางยา มากมาย ปลูกด้วยเมล็ด


วิธีปลูกผักโขม / How to grow spinach / 如何种植菠菜


ผักโขมเขียว : ภัตตาคารบ้านทุ่ง (16 ก.พ. 62)


“ปวยเล้ง” ผักดีมีประโยชน์ แต่มีอันตรายแอบแฝง


ปวยเล้ง (Spinach) หรือที่ใครหลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นผักโขม (Amaranth) เป็นอีกหนึ่งผักดีมีประโยชน์ที่ชาวไทย รวมถึงชาวต่างชาตินิยมรับประทานกันมาอย่างยาวนาน (ผักตัวจริงที่ให้พลังงานแก่ป็อปอาย คือผักปวยเล้งนี่แหละ หาใช่ผักโขมไม่) เพราะปวยเล้งมีวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายเยอะ หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพง และรสชาติดี จึงทำให้ปวยเล้งถูกดัดแปลงไปทำเป็นเมนูอาหารได้อย่างหลากหลายทั้งอาหารตะวันตก และตะวันออก
ประโยชน์ของปวยเล้ง
ปวยเล้งมีทั้งธาตุเหล็กบำรุงเลือด แคลเซียมบำรุงกระดูก โพแทสเซียมที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด มีวิตามินซีป้องกันหวัด วิตามินบี 2 ช่วยในการเจริญเติบโต บำรุงเล็บ ผิวหนัง ผม มีกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อการสร้างสารที่ให้ความสุขอย่างซีโรโทนิน ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ไม่ให้หงุดหงิดงุ่นง่าน รวมถึงช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้ ช่วยบำรุงสายตา กระดูก และผิวพรรณ
มีงานวิจัยว่า ปวยเล้ง ช่วยบำรุงสมอง ลดโอกาสในการเกิดโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ และยังช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
ปวยเล้ง อร่อยดี มีประโยชน์ แต่แฝงโทษเอาไว้ด้วย
แม้ว่าปวยเล้งจะมีประโยชน์มากมาย แต่ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ หรือโรคนิ่ว อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการทานปวยเล้ง หรือควบคุมการทานไม่ให้มากเกินไป เพราะปวยเล้งมีกรดออกซาลิคอยู่มากพอสมควร ซึ่งเมื่อรวมตัวกับแคลเซียม ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วได้ และอาจทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก และโฟเลตได้น้อยลง นอกจากนี้ยังมีกรดยูริกหรือทำให้อาการของโรคเกาต์แย่ลงได้
ทานปวยเล้งอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด
เพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม และโฟเลตได้มากขึ้น ควรทานปวยเล้งกับผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น ฝรั่ง มะเขือเทศสด ส้ม และเพื่อลดกรดออกซาลิก จึงควรนำมาลวกน้ำทิ้งก่อน 1 ครั้ง ก่อนนำมาปรุงอาหารต่อ โดยวิธีนี้สามารถลดปริมาณกรดออกซาลิกได้มากถึง 80% เลยทีเดียว
วิธีเลือกซื้อปวยเล้ง
เราควรเลือกซื้อปวยเล้งที่มีก้านสีเขียวอ่อน และใบสีเขียวเข้ม วิธีที่นิยมนำมาทานกันอยู่บ่อยๆ คือการนำมาลวกแล้วใส่ลงไปในผักสลัด นำไปต้มในแกงจืด นำไปผัดกับไข่ หรือเนื้อสัตว์ หรือแม้กระทั่งนำไปทำเป็นไส้ในขนมอบต่างๆ เช่น พาย คีช เป็นต้น ส่วนปวยเล้งที่ทานไม่หมด ควรล้างและเก็บในถุง หรือกล่องเก็บอาหาร แล้วเอาเข้าตู้เย็น แต่ไม่ควรเก็บนานเกินไปจนใบเหี่ยวเฉา หรือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ทางที่ดีควรรีบทาทานให้หมดภายใน 2-3 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น