วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

แนวทางต่างๆในการสอนประวัติศาสตร์ในโลกยุคปัจจุบัน

แนวทางต่างๆในการสอนประวัติศาสตร์ในโลกยุคปัจจุบัน

ปฏิรูปการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ดีว่าส์ชวนมองย้อนหลังเพื่อเดินไปข้างหน้า โลกก้าวไกล เด็กไทยต้องก้าวทัน

วิชาประวัติศาสตร์ สอนให้จำทำให้ลืม


ครูพล ให้สังคมสอนนักเรียน

'ครูพล' คุณครูวิชาสังคมที่ให้สังคมสอนนักเรียน เพราะครูพลเชื่อว่า 1.ครูทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงประเทศ 2. ห้องเรียนคือสนามต่อสู้ทางความคิด ให้เด็กๆ เห็นทางเลือกใหม่ คำตอบใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีเพียงหนึ่งเดียว 3. การศึกษาคือเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กๆ คิดและออกแบบสังคม 4. หนังสือหรือตำรา คือ เนื้อหาที่ครูต้องตีความใหม่ กระตุ้นให้เด็กๆ ต้องตั้งคำถาม ถกเถียง และต่อยอด ไม่ย้ำและย่ำอยู่กับของเดิม และ 5. การศึกษาคือ อำนาจ อำนาจที่จะ 'ไม่สอน' ... ครูพล-อรรถพล ประภาสโนบล คิดเช่นนั้น

วันครู คืนครูสู่ห้องเรียน

[ เมื่องานหลักของครูไทย ไม่ใช่งานสอน ! ] วันครูเวียนมาอีกครั้ง เป็นข้อพิสูจน์ว่าเวลาหมุนไปข้างหน้า ส่วนครูไทยไม่เพียงหยุดอยู่กับที่ แต่กลับเหมือนถูกภาระยัดเยียดบางอย่างผลักให้ถอยหลังกลับไปมิติไหนก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น หากครูมีเวลาสอนครึ่งเดียว จะเป็นไปได้อย่างไรที่เด็กจะได้ความรู้เต็มร้อย "ครูพล" อรรถพล ประภาสโนบล ครูมัธยมและสมาชิกกลุ่ม "พลเรียน" เล่าให้ "ครูจุ๊ย" กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ "รัฐมนตรีเงา" กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับมอบหมายให้เฝ้าติดงานด้านนี้ฟังว่า ส่วนแบ่งเวลาที่พรากครูไปจากห้องเรียน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ผู้ปกครองทุกคนรู้แล้วจะต้องสะท้อนสะเทือนใจ นี่แหละเหตุผลของการต้อง ‘ปฏิว้ติการศึกษา’ คืนครูให้นักเรียนเต็มเวลา ยกงานที่ครูต้องทำโครงการกลวงเปล่า งานเอกสารทั้งหลายทิ้งให้หมด ให้ครูได้เป็นครู อย่าให้ครูต้องครวญคร่ำกับระบบคิดที่บิดเบี้ยวกลายเป็นว่า... “งานสอน คือ ของแถมของชีวิตการเป็นครู” ติดตามกลุ่มพลเรียน การศึกษาเชิงวิพากษ์ และครูรุ่นใหม่ ที่ www.fb.com/eduzenthai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น