ดูให้รู้ : เมื่อปลาคืนชีพได้ (6 มี.ค. 59)
ดูให้รู้ : ปลา 5 ปี สดเหมือนเพิ่งขึ้นจากทะเล (17 ม.ค. 59)
CAS freezing
28 กุมภาพันธ์ 2559
28 กุมภาพันธ์ 2559
เพิ่งจะผ่านมหกรรมความหนาว ที่ไม่ได้เจอในรอบหลายสืบปีในเมืองไทย เลยติดใจ ขอคุยเรื่อง freezing กันต่อสักหน่อยนะ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีโอกาสดู Japan Technology ของ NHK เป็นเรื่องเกี่ยวกับ freezing ที่ใช้ถนอมอาหารให้สดใหม่ตลอดเวลา
เทคโนโลยีนี้ มีชื่อทางการค้าว่า CAS ที่ย่อมาจาก Cells Alive System เขาได้สาธิตให้ดูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ส่องดูเนื้อปลาดิบจาก 3 ตัวอย่างคือ ปลาดิบสด ปลาดิบที่ defroze จากการแช่แข็งธรรมดา และ ปลาดิบที่ defroze จากการแช่แข็งแบบ CAS เปรียบเทียบกัน
ดูแล้ว เนื้อปลาดิบที่ผ่านการแช่แข็งแบบ CAS แทบจะไม่แตกต่างจากเนื้อปลาดิบสดเลย เห็นลวดลายเส้นขาวๆของน้ำ เหมือนกัน แต่เนื้อปลาดิบที่ผ่านการแช่แข็งแบบธรรมดา เส้นขาวๆนี้ จะหายไปหมด
แรงขับที่ทำให้คุณ Norio Owada (เดี๋ยวนี้เป็น Mr. Freezer ไปเสียแล้ว) ผู้ก่อตั้งบริษัทอาบิ (ABI Corporation) เจ้าของเทคโนโลยี CAS freezer เพื่อรักษาอาหารนี้มาจากข่าวเรื่องการค้นพบซากช้าง Mammoth ในไซบีเรีย (ช้างขนยาว งางอน สูญพันธุ์ไปแล้ว) ที่ถูกแช่แข็งอยู่ในน้ำแข็งใกล้ขั้วโลก จนแม้แต่เนื้อของมัน เมื่อทำการ defroze หรือละลายน้ำแข็งแล้ว สามารถกินได้เลย (สเต็กเนื้อช้าง mammoth 250,000 ปี - ว้าว!! เว่อร์ไปหรือเปล่าเนี่ย)
นอกจากนั้น ข้อมูลที่เขาได้รับจากนักบิน เกี่ยวกับอากาศแถวแคนาดา ก็กระตุ้นความสนใจของเขา เกี่ยวกับเรื่อง frozing rain ที่น้ำฝนกลายเป็นน้ำแข็งทันที อันเนื่องมาจาก supercool ในที่ที่อุณภูมิต่ำกว่าศูนย์
เขาก็เลยปิ๊งไอเดียว่า จะต้องทำ supercool เพื่อแช่เย็นอาหารโดยให้มันเย็นอย่างรวดเร็ว หรือ fast frozing ให้เหมือนกับ frozing rain
ช้าง Mammoth ในไซบีเรียก็ทำให้เขานึกถึงสนามแม่เหล็ก เพราะไซบีเรียอยู่ใกล้ขั้วโลก สนามแม่เหล็กโลกแรงๆแถวนั้น น่าจะมีผลอะไรบ้างละน่า
เขาเริ่มต้นด้วยการเอาแม่เหล็ก ไปแปะไว้ในตู้เย็นตามตำแหน่งต่างๆ ลองผิดลองถูกอยู่ 5 ปี
วันที่ออกรายการ เขาสาธิตให้พิธีกรของ NHK ดู โดยให้ถือก้อนแม่เหล็ก เดินเข้าไปในห้อง freezer พิธีกรบอกว่า รู้สึกว่าแม่เหล็กมันสั่น
เขาเปิดเผยทีหลังว่า trick ก็คือ เปิดสนามแม่เหล็ก ในห้อง freezer ทำให้โมเลกุลของน้ำสั่น และไม่เป็นน้ำแข็ง แม้กระทั่งอุณหภูมิจะลดลงมาถึง -10 C แล้วก็ตาม (ผมนึกถึงการเอาเครื่องไมโครเวพขนาดจิ๋ว เอาไปเปิดในช่อง freezer ในตู้เย็นขนาดยักษ์ยังงั้นแหละ) ขั้นต่อไปก็คือ ปิดสนามแม่เหล็กโครมเดียว น้ำเลยจุดเยือกแข็งไปนานแล้ว กลายเป็นน้ำแข็งทันที กระโดดข้ามขั้นตอนของการเป็นผลึกน้ำแข็ง (ice crystals) ไปเลย เรียกว่า supercool (สงสัยคนคิดตอนเด็กๆ คงจะเคยดูหนังเรื่องนาเนีย) น้ำที่อยู่ในเซลจึงแข็งตัวอยู่ที่เดิม ไม่หายไปไหน เมื่อทำการ defroze หรืออุ่นกลับมาที่อุณหภูมิปกติ ของที่แช่แข็งนั้น จะยังสดอยู่เหมือนเดิม มีสีสัน เหมือนกับว่าเซลยังไม่ตาย เปรียบเทียบกับการแช่เย็นตามปกติ น้ำในเซลมักจะหายไปบ้าง จึงกลับมาไม่เหมือนเดิมเสียทีเดียว แม้แต่สีก็อาจจะเปลี่ยนไป
ทางบริษัทอาบิ (ABI) เขาบอกมาแต่เพียงหลักการ เพื่อโฆษณาให้โลกรู้ว่า เขามีเทคโนโลยีอย่างนี้นะ และจดสิทธิบัตรไว้ด้วย แต่รายละเอียดไม่เปิดเผย (ความลับทางธุรกิจ) อย่างเช่นอุณหภูมิเท่าไร สนามแม่เหล็กแรงแค่ไหน สั่นด้วยความถี่เท่าไหร่ นานเท่าใด เพราะเขาบอกว่า ขึ้นอยู่กับของที่เอาไปแช่ว่า เป็นอะไร และเขาเองก็ลองผิดลองถูกมา มากกว่า 5 ปี ก็สมควรอยู่หรอกที่จะไม่บอกใคร ผมยังนึกเปรียบเทียบถึงการปรุงอาหารเลยว่า ต่อให้รู้เครื่องปรุงทั้งหมด แต่ไม่รู้เคล็ดลับ เช่นไฟอ่อน-แรงแค่ไหน เร็วช้าอย่างไร ทำยังไงก็ไม่อร่อยเท่าแน่นอน
ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา บริษัท ABI ได้เริ่มทำห้องเย็นด้วยเทคโนโลยี CAS freezing ขายให้กับภัตตาคารหลายแห่ง เพื่อจะได้มีวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารที่สดใหม่
ปัจจุบัน การใช้ CAS freezing สามารเก็บของสดได้นานถึง 5 ปี เขาตั้งเป้าจะให้ได้นานถึง 10 ปี (คงติดใจเนื้อช้าง Mammoth)
นอกเหนือไปจากการเก็บอาหาร ตอนนี้คุณ Owada ก้าวข้ามขั้นไปถึงเรื่องการเก็บเนื้อเยื่อในห้อง lab แล้ว
ในห้องเย็นของ lab ที่ใช้เก็บ stem cell มีการใช้ CAS freezing เพื่อเก็บรักษาไม่ให้เซลตาย นักวิจัยบอกว่า ถ้าเก็บในห้องเย็นธรรมดา โอกาสรอดแค่ 5% แต่ถ้าใช้ CAS เทคโนโลยี โอกาสรอดเพิ่มขึ้น 5 เท่า
มหาวิทยาลัยฮิโรชิมาก้าวหน้าไปอีกขั้น โดยทำการเก็บฟันพร้อมเนื้อเยื่อรากฟันด้วยวิธี CAS freezing นี้ และอ้างว่า สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 40 ปี
ก้าวต่อไปของมหาวิทยาลัยฮิโรชิมาคือ การเก็บอวัยวะภายใน เพื่อรอการเปลี่ยนถ่าย เช่นไต
ดูเรื่องนี้ของ NHK จบ ผมนึกถึงคลิปวีดิโอ ที่เพื่อนส่งมาให้ เป็นปลาที่เขาหยิบออกมาจาก freezer แข็งโป๊กเลย แล้วเอามาใส่กาละมังที่มีน้ำใส่ไว้แล้ว มันก็ลอยแข็งทื่ออยู่สักพัก และแล้ว มันก็ว่ายน้ำปร๋อเลย!! ว้าว!! สงสัยจะเป็น freezer ของ ABI ละมั้ง งานนี้ มัมมี่ชิดซ้าย
เอ้า - ใครอยากจะหลับไปสัก 100 ปี แล้วตื่นขึ้นมาในศตวรรษหน้าบ้าง ยกมือขึ้น
สุดยอดเทคโนโลยีแช่แข็ง CAS (Cells Alive System)
วิธีการแช่แข็งแบบเดิมๆ : พ่นลมเย็น -40 ถึง -50 องศา ทำให้อาหารแข็งตัวโดยเริ่มจากผิวนอกและเข้าสู่เนื้อในตามลำดับ จึงมีข้อเสีย คือ โครงสร้างเซลล์ถูกทำลาย น้ำภายในถูกดูดซับไปที่ผิว และเมื่อทำการ Defrost อาหารจึงมีรสชาติไม่อร่อย
วิธีการแช่แข็งแบบ CAS : สร้างสนามแม่เหล็กเพื่อให้น้ำในอาหารสั่น และลดอุณหภูมิลง เมื่อถึงระดับต่ำพอ ก็จะแข็งตัวพร้อมกันทั้งเซลล์และน้ำในอาหาร จึงมีข้อดี คือ เซลล์ไม่ถูกทำลาย รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง !!!
ปัจจุบัน ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งแบบ CAS มีวางจำหน่ายในญี่ปุ่น ในราคาประมาณ 7 หมื่นบาท
พัฒนาสู่กระบวนการแพทย์
จากการทดลองล่าสุด นักวิจัยได้นำรังไข่ของลิง ไปแช่แข็งด้วย CAS แล้วนำกลับไปปลูกถ่ายในลิงได้สำเร็จ โดยอวัยวะยังคงทำงานได้เป็นปกติ
การค้นคว้าในขั้นต่อไป ตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาใช้กับมนุษย์ เช่น ในกรณีที่สตรีป่วยเป็นมะเร็ง ต้องบำบัดทางเคมี ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ทำให้มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ยาก อาจมีการผ่าตัดนำรังไข่ไปแช่แข็งก่อน แล้วค่อยปลูกถ่ายกลับมา
เป้าหมายสูงสุดในอนาคต น่าจะมองไปถึงการแช่แข็งมนุษย์ ซึ่งมั่นใจว่าด้วยความสามารถของมนุษย์ จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้อย่างแน่นอน
วิธีการแช่แข็งแบบเดิมๆ : พ่นลมเย็น -40 ถึง -50 องศา ทำให้อาหารแข็งตัวโดยเริ่มจากผิวนอกและเข้าสู่เนื้อในตามลำดับ จึงมีข้อเสีย คือ โครงสร้างเซลล์ถูกทำลาย น้ำภายในถูกดูดซับไปที่ผิว และเมื่อทำการ Defrost อาหารจึงมีรสชาติไม่อร่อย
วิธีการแช่แข็งแบบ CAS : สร้างสนามแม่เหล็กเพื่อให้น้ำในอาหารสั่น และลดอุณหภูมิลง เมื่อถึงระดับต่ำพอ ก็จะแข็งตัวพร้อมกันทั้งเซลล์และน้ำในอาหาร จึงมีข้อดี คือ เซลล์ไม่ถูกทำลาย รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง !!!
ปัจจุบัน ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งแบบ CAS มีวางจำหน่ายในญี่ปุ่น ในราคาประมาณ 7 หมื่นบาท
พัฒนาสู่กระบวนการแพทย์
จากการทดลองล่าสุด นักวิจัยได้นำรังไข่ของลิง ไปแช่แข็งด้วย CAS แล้วนำกลับไปปลูกถ่ายในลิงได้สำเร็จ โดยอวัยวะยังคงทำงานได้เป็นปกติ
การค้นคว้าในขั้นต่อไป ตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาใช้กับมนุษย์ เช่น ในกรณีที่สตรีป่วยเป็นมะเร็ง ต้องบำบัดทางเคมี ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ทำให้มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ยาก อาจมีการผ่าตัดนำรังไข่ไปแช่แข็งก่อน แล้วค่อยปลูกถ่ายกลับมา
เป้าหมายสูงสุดในอนาคต น่าจะมองไปถึงการแช่แข็งมนุษย์ ซึ่งมั่นใจว่าด้วยความสามารถของมนุษย์ จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้อย่างแน่นอน
ABOUT CAS(Cells Alive System)
CAS - Keeping Frozen Cells Alive
ABI’s Cells-Alive Technology (CAS)
When water starts to freeze, water molecules clump together and form a large ice crystal. The complex energy created by CAS Function Generator of ABI makes the water clusters to vibrate, with which it prevents water molecules to gather together and keep them under super-cooling condition to attain small ice crystal formation.
When water starts to freeze, water molecules clump together and form a large ice crystal. The complex energy created by CAS Function Generator of ABI makes the water clusters to vibrate, with which it prevents water molecules to gather together and keep them under super-cooling condition to attain small ice crystal formation.
Small ice crystals cannot rupture cell membranes and for this reason, original freshness is restored after thawing.
Food Freezing Image by Quick Freezer with CAS Function
Problems of Food Freezing by Quick Freezing System
What makes CAS different?
- Present refrigeration systems are not appropriate for maintaining freshness of food products since their color and quality are denaturalized in a couple of days. Therefore, loss and waste will be unavoidable unless perishable substances such as vegetables and fruits are completely used up en mass.However, ABI refrigeration storage system can preserve deliciousness of just harvested materials and freshness of high quality food products for a certain period. This results in eliminating the producing of loss and waste.
- A present freezing system in the market incurs freezer burn by causing the substance to lose its water content and therefore, destroys product quality. However, ABI freezing system keeps the substance internal moisture and prevents freezer burn phenomenon to occur.
Other Benefits of Cells Alive System (CAS) Function:
- No dripping after being thawed, therefore, the loss of nutritional components such as protein, etc. is prevented.
- The water-holding capacity is retained.
- Keep the tastiness.
- Keep the amino acids.
- Keep the original fresh flavor.
- Keep the food color, texture and quality intact.
- Preventing oxidation.
- Restrain denaturalization of protein.
- significant reduction in the waste amount.
How the Freezer with CAS Function Differs from the Conventional Freezers in Freezing Aspect:
About ABI Co., Ltd.
By combining the quick freezing and the CAS, the company developed an innovative technology for freezing and storage of foods. This technology is also used for medical transportation and regeneration medicine in the medical field. Click here for more details.
By combining the quick freezing and the CAS, the company developed an innovative technology for freezing and storage of foods. This technology is also used for medical transportation and regeneration medicine in the medical field. Click here for more details.
El Blog de Bertus cuenta con una nueva colaboradora, María Lavilla, que comienza hoy su andadura en la blogosfera con un excelente artículo sobre una novedosa técnica de congelación, el «Cell Alive System» o CAS.
María es Doctora en Ciencia y Tecnología de los Alimentos por la Universidad de Zaragoza y ahora está trabajando en AZTI, Centro Tecnológico de Investigación Marina y Alimentaria, una gran fichaje para el blog que seguro que nos sorprende con intersantísimos artículos, como ya ha hecho Guillermo Saldaña y pronto hará Guiye Alcusón. ¡Bienvenida!
A continuación podéis leer el post de María que he acompañado por el vídeo de arriba que he editado a partir de diferentes clips encontrados en Youtube sobre la tecnología.
La congelación de los alimentos ha llevado asociado durante mucho tiempo la problemática de la calidad sensorial de los productos tras la descongelación. Así, unas malas prácticas de congelación pueden generar texturas no deseadas, excesivo exudado de los productos, etc. Lo que conlleva no sólo pérdida de calidad organoléptica, sino pérdida de producto y por lo tanto, de eficiencia y rentabilidad para la industria alimentaria.
Por otra parte, los consumidores cada vez abogamos más por productos frescos o productos que mantengan sus propiedades lo más similares posibles a las del producto fresco. Sin embargo, nos gusta tener todos los productos “de temporada” disponiblesen los mercados de forma perpetua, ¿cómo conseguir esto?
La tecnología CAS, desarrollada por la empresa japonesa ABI, abre importantes oportunidades para la industria alimentaria, ofreciéndole la posibilidad de cubrir las demandas de un mercado alimentario cada vez más exigente. Las siglas CAS corresponden a Cell Alive System, una tecnología emergente de congelación que se presenta como una prometedora alternativa a los procesos de congelación tradicionales.
Fundamentos de la tecnología CAS
La tecnología CAS se basa en la congelación de los productos alimenticios a través de ondas electromagnéticas combinadas con frío mecánico (congelado tradicional).
El fundamento de la congelación por CAS se basa en la generación de una vibración de baja frecuencia en las moléculas de agua que componen el alimento. Así, la congelación por CAS, trabaja sobre el simple principio de que las moléculas de agua no pueden agregarse si están en continuo movimiento durante el proceso de congelación. Es este movimiento de rotación el que previene la agregación de las moléculas de agua y evita la formación de grandes y heterogéneos cristales de hielo. Mientras que los microondas hacen vibrar las moléculas de agua para generar calor homogéneo, la tecnología CAS utiliza campos eléctricos rotatorios para hacer girar a las moléculas de agua.
IMAGEN: Ejemplo de simulación de la congelación mediante la tecnología CAS. La imagen permite comparar de forma sencilla los efectos en los alimentos congelados mediante la tecnología CAS de congelación (1) con la tecnología de congelación rápida convencional (2). La congelación con CAS congela el agua uniformemente, mientras que en un congelador rápido se congela el agua y la materia roja del colorante de forma separada, formándose zonas heterogéneas.
Dado que el responsable de la pérdida de sabor y textura de los productos congelados es el daño producido por estos cristales de hielo en las células, el resultado final de la congelación por CAS, es un producto congelado con un daño por congelación prácticamente inexistente. Los productos congelados por CAS y posteriormente descongelados adecuadamente, retienen un 99.7% de su aroma, sabor y textura originales. Incluso los alimentos grasos, altamente susceptibles de desarrollar oxidaciones y sabores rancios durante la congelación (almacenados a -60ºC durante 1 año), ven aumentada su vida útil a dos años o más cuando son almacenados a -40ºC en un ambiente “CAS”.
Ventajas de la tecnología CAS
En resumen, las ventajas de la tecnología son múltiples ya que aporta numerosas en lo que respecta a la calidad del producto, y por consiguiente, a la rentabilidad de la industria alimentaria.
En lo que respecta a la calidad, como ya se ha dicho, debido a que la congelación del producto se produce de forma más homogénea y se generan cristales más pequeños que en la congelación tradicional, las características sensoriales de los productos (aspecto, sabor, textura, etc.) se preservan al máximo tanto en el producto congelado como tras la descongelación.
Además y debido a la misma causa, los exudados que se generan al descongelar los productos son también menores. También permite prevenir la oxidación y el consiguiente deterioro de los productos mediante la absorción del oxígeno en el aire frío que es bombeado alrededor de los productos.
Por todo ello, la tecnología tiene un importante potencial para su aplicación en un amplio espectro de productos alimenticios, como productos pesqueros, frutas y hortalizas, entre otros.
En definitiva, esta tecnología aporta soluciones a los principales problemas a los que tradicionalmente ha tenido que hacer frente la congelación de los alimentos, permitiendo acortar las diferencias entre el producto descongelado y el producto fresco. Esto hace posible que las empresas y productores sean capaces de proveer a los mercados productos de temporada de alta calidad en condición de “fresco descongelado” durante todo el año.
Un artículo de María Lavilla.
El vídeo en Vimeo | CAS, Cell Alive System, otra manera de congelar
También en Alimentatec | Lo último en congelación para la industria alimentaria
Más información (en japonés) | ABI (CAS Technology) y Fruity Seven
การถนอมอาหารโดยใช้ความเย็น (Refrigeration and freezing)Freezing is also one of the most commonly used processes, both commercially and domestically, for preserving a very wide range of foods, including prepared foods that would not have required freezing in their unprepared state. For example, potato waffles are stored in the freezer, but potatoes themselves require only a cool dark place to ensure many months' storage. Cold stores provide large-volume, long-term storage for strategic food stocks held in case of national emergency in many countries.
ที่มา :http://en.wikipedia.org/wiki/Food_preservation#Freezing
การใช้ความเย็น (Refrigeration and Freezing)
การใช้ความเย็นในการแปรรูปและการถนอมอาหารมีความสำคัญต่อการผลิตอาหาร
ทั้งในระดับครัวเรือนและในระดับอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก
ทั้งในระดับครัวเรือนและในระดับอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก
พัฒนาการของการใช้ความเย็นในการถนอมและการแปรรูปอาหาร
การใช้ความเย็นในการถนอมรักษาอาหารได้มีวิวัฒนาการมาแต่โบราณจากประสบการณ์ และการสังเกตของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตหนาวเย็นของโลก
ดังเช่นการแช่เย็นไวน์ด้วยหิมะผสมเกลือโพเเทสเซียมไนเตรทในสมัยโรมัน ในปี ค.ศ. 1842 เอช เบนจามิน (H. Benjamin) ได้จดลิขสิทธิ์สำหรับการ
แช่แข็งอาหารโดยการจุ่มลงในตัวทำความเย็นที่อังกฤษ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนากระบวนการแช่เย็นอาหารต่าง ๆ เรื่อยมา จนถึงปี ค.ศ. 1880 อุตสาหกรรมแช่แข็งผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และปลาในสหรัฐอเมริกากลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมแช่เย็นในยุคแรก ๆ คือ แคลเรนซ์ เบิร์ดเซย์ (Clarence Birdseye) ซึ่งทำการวิจัยค้นคว้า ออกแบบเครื่องแช่แข็ง ก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมแช่แข็งที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป และเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการคัดเลือก การเตรียมการ การเก็บรักษา การขนย้ายและจัดจำหน่ายที่มีต่อคุณภาพของอาหารแช่แข็ง
วงการอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งได้มีการพัฒนาอย่างมีระบบ มีขั้นตอน ประกอบกับความก้าวหน้าในด้านวิศวกรรมเครื่องเย็นและแช่แข็ง ทำให้มีการออกแบบสร้างเครื่องแช่แข็งที่ทันสมัยขึ้น เช่น ในช่วงปี ค.ศ. 1960-1962 มีการพัฒนาเครื่องแช่แข็งแบบลอยตัวในลมเย็น (Fluidized-bed Freezer) เครื่องแช่แข็งแบบไอ คิว เอฟ (Individually Quick Freezing) และ เครื่องแช่แข็งแบบแช่ในไนโตรเจนเหลว เป็นต้น จากนั้นอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งก็ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้แต่ในประเทศไทยก็มีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งพวกไก่และผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็งปีละหลายหมื่นล้านบาทดังเช่นการแช่เย็นไวน์ด้วยหิมะผสมเกลือโพเเทสเซียมไนเตรทในสมัยโรมัน ในปี ค.ศ. 1842 เอช เบนจามิน (H. Benjamin) ได้จดลิขสิทธิ์สำหรับการ
แช่แข็งอาหารโดยการจุ่มลงในตัวทำความเย็นที่อังกฤษ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนากระบวนการแช่เย็นอาหารต่าง ๆ เรื่อยมา จนถึงปี ค.ศ. 1880 อุตสาหกรรมแช่แข็งผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และปลาในสหรัฐอเมริกากลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมแช่เย็นในยุคแรก ๆ คือ แคลเรนซ์ เบิร์ดเซย์ (Clarence Birdseye) ซึ่งทำการวิจัยค้นคว้า ออกแบบเครื่องแช่แข็ง ก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมแช่แข็งที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป และเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการคัดเลือก การเตรียมการ การเก็บรักษา การขนย้ายและจัดจำหน่ายที่มีต่อคุณภาพของอาหารแช่แข็ง
ความสำคัญของการถนอมและแปรรูปอาหารด้วยความเย็น
การนำความเย็นมาเก็บถนอมอาหาร ทำให้มีการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบทางการเกษตรได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยสามารถเก็บวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปของโรงงานได้นานขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแช่เย็นแช่แข็งหลากหลายชนิด ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย การใช้ความเย็นถนอมอาหารมีความสำคัญดังนี้
ระดับครัวเรือน ทำให้เก็บรักษาเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ และอาหารอื่น ๆ ได้นานขึ้น
ระดับอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลิตผลเกษตรได้มากขึ้น โดย
1. ช่วยรักษาคุณภาพของวัตถุดิบและชะลอการเสื่อมเสียระหว่างรอการผลิต และการเก็บวัตถุดิบไว้ผลิตได้นานขึ้น รวมทั้งช่วยปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบ
2. ช่วยให้เกิดผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงหรือพร้อมบริโภคมากมาย เช่น ซาละเปา เนื้อและปลาบดทอดแช่แข็ง ชุดอาหารซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของผัก เนื้อ และเครื่องปรุงต่าง ๆ เป็นต้น
อาหารต่างชนิดกันจะมีช่วงอุณหภูมิที่ใช้ในการถนอมต่างกัน โดยทั่วไปการควบคุมอุณหภูมิในการแช่เย็นอาหารจะตั้งไว้ที่เหนือจุดเยือกแข็งเล็กน้อย ส่วนอาหารแช่แข็งจะควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ประมาณ - 18 องศาเซลเซียล ส่วนอุณหภูมิของขั้นตอนทำความเย็นที่ใช้ในกระบวนการผลิตจะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า เพื่อให้อัตราการแช่แข็งเร็วขึ้น ซึ่งอุณหภูมิในห้องแช่แข็งจะควบคุมไว้ที่ - 40 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นที่ใช้และประสิทธิภาพของเครื่องทำความเย็นนั้น ปกติแล้วอุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียสหรืออุณหภูมิในตู้เย็นธรรมดาหรือห้องเย็น จุลินทรีย์ทั่วไปที่มีในอาหารไม่เจริญเติบโต แต่จะมีจุลินทรีย์ที่ทนความเย็น (Psychophilic organism) เจริญได้ แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส จะไม่มีจุลินทรีย์ใดที่เจริญได้
ระดับของการใช้ความเย็นในการถนอมอาหาร การใช้ความเย็นแยกได้ตามระดับของการใช้อุณหภูมิได้ 2 ระดับ คือ การแช่เย็นหรือการใช้อุณหภูมิเหนือจุดเยือกแข็ง และการแช่แข็งหรือการใช้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
การแช่เย็น (Refrigeration) การเก็บเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำเหนือจุดเยือกแข็งหรือการเก็บเนื้อสัตว์ไว้ในห้องเย็นหรือตู้เย็น เรียกว่า การแช่เย็น (refrigeration) ณ อุณหภูมิประมาณ 0 - 5 ํซ การใช้ความเย็นในการถนอมรักษาเนื้อสัตว์เป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เท่านั้น ไม่ใช่การทำลายจุลินทรีย์ อุณหภูมิต่ำทำให้กระบวนการเมตาบอลิซึม (metabolism) ช้าลง โดยเฉพาะที่อุณหภูมิต่ำใกล้จุดเยือกแข็ง เมตาบอลิซึมของจุลินทรีย์จะช้าลงมาก ปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ก็ช้ามากด้วย ดังนั้นจุลินทรีย์จึงเจริญเติบโตได้ช้ามาก ทำให้การเน่าเสียกินเวลานานขึ้น
สัตว์เมื่อทำการฆ่าโดยวิธีการทางสากล แล้วจะเก็บในสภาพเย็น (chilled) ก่อนทำการตัดแต่งซาก หรือแม้หลังจากตัดซากแล้วก็เก็บในสภาพแช่เย็นเช่นกัน การถนอมอาหารโดยการแช่เย็นจึงเป็นวิธีการถนอมอาหารที่จำเป็นสำหรับเนื้อสัตว์วิธีหนึ่ง ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เนื้อสัตว์เน่าเสียได้ง่าย
ภาพ: ชนิดของจุลินทรีย์ที่เจริญได้ที่อุณหภูมิต่าง ๆ
เนื้อสัตว์เมื่อตัดแต่งซากแล้วจะต้องลดอุณหภูมิภายในชิ้นเนื้อให้เหลือ 5 ํซ หรือต่ำกว่าอย่างรวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการเน่าเสียรอบ ๆ ต่อมน้ำเหลือง (lymph nodes) ซึ่งฝังอยู่ในซาก ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "bone-souring" ซากวัวที่ถลกหนังแล้วจะห่อด้วยผ้าบาง ๆ ก่อนนำเข้าห้องเย็นเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนักและการหดตัว ส่วนลูกวัวอาจถลกหรือไม่ถลกหนังก่อนแช่เย็นก็ได้ สุกรและแกะไม่ถลกหนังก่อนแช่เย็น
ในการแช่เย็นซากวัวน้ำหนักมาก ๆ ควรใช้ห้องเย็น 2 ห้อง โดยห้องแรกเป็นห้องที่ลดอุณหภูมิของซากให้ต่ำลง (chilling room) โดยใช้อุณหภูมิ -4 ํซ ถึง -2 ํซ เนื่องจากซากสัตว์อุ่นคายความร้อนจะทำให้อุณหภูมิของห้องเย็นให้สูงขึ้น จะต้องระมัดระวังไม่ให้บรรจุซากมากจนเกินไป อุณหภูมิของห้องจะต้องเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 3 ํซ ตลอดเวลา ห้องนี้เครื่องทำความเย็นจะต้องมีความจุเพียงพอที่ลดอุณหภูมิของซากร้อนให้ลดลงจากช่วง 30-39 ํซ เหลือไม่เกิน 5 ํซ และห้องเย็นห้องที่ 2 เป็นห้องเก็บซากที่ลดอุณหภูมิลงแล้วให้มีความเย็นคงที่ โดยใช้ความเย็นช่วง 0 - 3 ํซ ตลอดเวลาจนกว่าจะมีการส่งไปขายหรือทำผลิตภัณฑ์
ซากสุกร แกะ และลูกวัว ภายหลังลดอุณหภูมิของซากในห้องแรกแล้ว จะนำออกจำหน่ายได้แต่ซากวัวจะเก็บไว้ในห้องแรก 1 - 3 วัน ให้อุณหภูมิภายในเป็น -1 ํซ จนกระทั่งซากหดเกร็งตัวทั้งหมดก่อน จึงนำไปเก็บห้องที่สอง 1 - 5 สัปดาห์ เรียกว่านำไปบ่ม (age) เพื่อให้เนื้อนุ่มก่อนจำหน่าย หากต้องการใช้เวลาในการบ่มให้น้อยลงสามารถทำได้โดยใช้อุณหภูมิให้สูงขึ้น แต่จะเสี่ยงต่อการเน่าเสียโดยจุลินทรีย์
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการเก็บเนื้อสัตว์ในห้องเย็น
1) ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีก่อนการเก็บ หากปริมาณจุลินทรีย์ที่มีก่อนการเก็บมีปริมาณมาก ก็จะทำให้อายุการเก็บน้อยลง จุลินทรีย์เหล่านี้อาจมาจากการปนเปื้อนระหว่างการฆ่า การตัดแต่งซาก การผลิต และการใช้วัสดุหีบห่อ
2) อุณหภูมิ การคงอุณหภูมิการเก็บให้คงที่ที่ 3 ํซ หรือต่ำกว่านี้ มีความจำเป็นต่อคุณภาพของเนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อ เพราะหากปล่อยให้อุณหภูมิสูงกว่านี้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษอาจเจริญเติบโตได้
3) ความชื้น ห้องเย็นควรรักษาความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) ให้อยู่ระหว่างร้อยละ 88 และ 92 หากความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่านี้มีการสูญเสียน้ำหนักมาก หรือมีการหดตัว (shrink) ซึ่งเป็นผลให้ผิวนอกแห้ง เหี่ยวย่น และสีคล้ำไม่เป็นที่พอใจของผู้บริโภค และหากความชื้นสัมพัทธ์มากกว่านี้ จะทำให้เนื้อสัตว์เน่าเสียได้ง่าย เนื่องจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดเมือกที่ผิว (Slime) และเชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
คุณค่าทางโภชนาการของอาหารแช่เย็น
ในระหว่างแช่เย็นอาหารสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่า เมื่อเก็บที่อุณหภูมิปกติดังในตาราง ซึ่งแสดงปริมาณวิตามินที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่
ตาราง: แสดงปริมาณวิตามินบีในเนื้อหมูที่ยังคงเหลืออยู่เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 38 0ฟ (14 0ซ)
ดัดแปลงจาก Rice, E.E., Squires, E.M., and Fried, J.F. 1958. Stability of B complex vitamins in pork.Food Research 13, 195-197.
*ปริมาณวิตามินบีสองเพิ่มขึ้นหลังจากเก็บไว้เพราะเนื้อหมูมีแบคทีเรียบางชนิดสามารถสังเคราะห์วิตามินบีสองได้ทำให้มีปริมาณมากขึ้น
การแช่แข็ง (freezing) การแช่แข็งเป็นการเก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งหรือต่ำกว่า 0 ํซ การแช่แข็งเป็นการถนอมอาหารระยะยาว
ที่หากปฏิบัติอย่างถูกต้องจะสามารถรักษาสี กลิ่น รส และคุณค่าทางอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะสามารถรักษาเนื้อสัมผัสได้ปานกลางเท่านั้น
ที่หากปฏิบัติอย่างถูกต้องจะสามารถรักษาสี กลิ่น รส และคุณค่าทางอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะสามารถรักษาเนื้อสัมผัสได้ปานกลางเท่านั้น
ในกระบวนการแช่แข็งนั้น อุณหภูมิของอาหารถูกลดลงมา เราสามารถดึงความร้อนออกเพื่อลดอุณหภูมิของอาหารลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยที่น้ำในอาหารยังไม่เป็นน้ำแข็ง ในสภาพที่อุณหภูมิของอาหารต่ำกว่าจุดเยือกของอาหารนั้นจะเป็นสภาพที่เรียกว่าเย็นยิ่งยวด เมื่อจะเกิดผลึกน้ำแข็งขึ้น จำเป็นจะต้องดึงความร้อนแฝงของการเกิดผลึก (Latent heat of crystallization) ออกด้วย ซึ่งก่อนที่จะมีการดึงความร้อนออกจะต้องมีการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเป็นผลึกน้ำแข็งก่อนหรือการเกิดนิวเคลียสน้ำแข็ง ในขณะที่มีการดึงความร้อนแฝงออกอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดผลึกน้ำแข็งขึ้น
ขั้นตอนการเกิดการแช่แข็ง
การแช่แข็งเป็นกรรมวิธีการถ่ายทอดความร้อนระหว่างผลิตภัณฑ์กับสารให้ความเย็น โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1) การลดลงของอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ (period of temperature deceraseing) จากอุณหภูมิเริ่มต้นถึงอุณหภูมิเยือกแข็ง จุดเยือกแข็งของอาหารทุกชนิดจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ (0 ํซ หรือ 32 ํฟ) เนื่องจากน้ำภายในเซลล์ของอาหารจะมีสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์หลายชนิดละลายอยู่ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีอุณหภูมิเยือกแข็งที่ต่างกัน ดังตาราง
ตาราง : แสดงอุณหภูมิเยือกแข็งของอาหารต่าง ๆ และปริมาณน้ำที่มีในอาหารนั้น ๆ
2) ขั้นตอนของการตกผลึกเป็นน้ำแข็ง (Period of ice crystal formation)
การเกิดผลึกของน้ำแข็งคือการรวมตัวอย่างเป็นระเบียบของส่วนที่เป็นของแข็ง โดยเกิดปรากฏการ 2 อย่างต่อเนื่องกันได้แก่ การก่อนิวเคลียสผลึก (Nucleation) และการเพิ่มขนาดของผลึก(Crystal Growth)
การก่อนิวเคลียสผลึก (Nucleation) คือปรากฎการณ์ที่โมเลกุลของน้ำมารวมตัวกันอย่างเป็นระเบียบจนเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ขึ้น ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของผลึกต่อไป โดยเมื่อความร้อนถูกกำจัดออกจากระบบไปแล้ว จนกระทั่งผ่านสภาพที่เรียกว่าการทำให้เย็นยิ่งยวด (super cooling) ซึ่งก็คือการที่อุณหภูมิของน้ำในอาหารลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของผลิตภัณฑ์ แต่ยังไม่เกิดผลึก จากนั้นจะมีการชักนำให้เกิดผลึกและอุณหภูมิจะขึ้นมาอยู่ที่จุดเยือกแข็งของอาหาร ความร้อนจะถูกกำจัดออกไปในรูปของความร้อนแฝงของน้ำ (latent heat) ทำให้น้ำเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็ง โดยเริ่มต้นจากการเกิดนิวเคลียสผลึกก่อน อัตราการเกิดนิวเคลียสผลึกจะเร็วมากเมื่ออุณหภูมิลดลง
ขั้นตอนต่อไปคือ การเพิ่มขนาดของผลึก (Crystal Growth) หลังจากที่เกิดนิวเคลียสผลึกจำนวนมากพอก็จะเกิดการเพิ่มขนาดของผลึกน้ำแข็ง ซึ่งเกิดได้ที่อุณหภูมิใกล้จุดหลอมเหลว โดยโมเลกุลของน้ำจะเคลื่อนตัวเข้ามาเกาะอยู่กับนิวเคลียสผลึกมากกว่าที่จะก่อเกิดนิวเคลียสใหม่ เพราะโมเลกุลของน้ำในสภาวะที่เป็นของเหลวมีขนาดเล็กและเคลื่อนที่ได้นอัตราที่สูง และจะหยุดเมื่อกระทบกับผิวหน้าของนิวเคลียสผลึก
3) ขั้นตอนการลดลงของอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ต่อไปจนถึง -18 ถึง -20 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่แนะนำให้ใช้ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์แช่แข็ง หลังจากที่เครื่องแช่แข็งดึงความร้อนจากอาหาร ทำให้อุณหภูมิของอาหารลดลงมาถึง -18 องศาเซลเซียสจะนำมาเก็บไว้ในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า - 18 องศาเซลเซียส
อัตราเร็วของการแช่แข็งมีผลต่อคุณสมบัติทั้งทางเคมี และทางฟิสิกส์ของเนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อ อัตราเร็วของการแช่แข็งนอกจากจะขึ้นอยู่กับวิธีการแช่แข็งแล้ว ยังขึ้นกับอัตราส่วนของเนื้อแดงและไขมันของผลิตภัณฑ์เนื้อนั้น ๆ ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณไขมันสูงจะสามารถแข็งตัวได้รวดเร็วกว่าชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันปริมาณต่ำกว่า
การแช่แข็งแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1) การแช่แข็งแบบช้า (slow freezing) เป็นการแช่แข็งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นเยือกแข็งโดยอาจใช้เวลาตั้งแต่ 3 - 72 ชั่วโมง โดยใช้อุณหภูมิต่ำกว่า -15 ํซ (5 ํฟ) การแช่แข็งจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ โดยเกิดจากภายนอกเข้าไปสู่ภายในของผลิตภัณฑ์ น้ำที่อยู่ภายนอกเซลล์ (extracellular water) จะแข็งตัวเร็วกว่าน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ เนื่องจากน้ำภายนอกเซลล์มีความเข้มข้นของตัวถูกละลายต่ำกว่า ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็ง การทำให้อาหารแข็งตัวอย่างช้า ๆ น้ำค่อย ๆ แยกตัวออกจากเซลล์กล้ามเนื้อรวมตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็ง น้ำแข็งจะเป็นผลึกใหญ่และมีขนาดไม่สม่ำเสมอและอยู่ระหว่างเซลล์ ในบริเวณที่มีน้ำอิสระมากน้ำที่ขยายตัวเมื่อแข็งอาจดันให้เซลล์แตกได้ เมื่อนำเอาอาหารแช่แข็งประเภทนี้มาละลาย น้ำจะไหลออกจากอาหาร ถ้าเซลล์แตกจำนวนมาก สารอาหารต่าง ๆ ก็จะไหลออกมามาก รสชาติของอาหารจะด้อยลงและมีลักษณะแข็ง
วิธีการแช่แข็ง
วิธีการแช่แข็งมีหลายวิธีตามลักษณะการให้ความเย็นแก่ผลิตภัณฑ์และชนิดของเครื่องแช่แข็ง ซึ่งมีผลต่อความเร็วในการดึงความร้อนออกจากอาหารในกระบวนการแช่แข็ง ได้แก่
1. การแช่แข็งในตู้แช่แข็งที่ไม่มีลมเป่า (still air freezing) เป็นการแช่แข็งในตู้แช่แข็งขนาดเล็กดังเช่น ตู้เย็นที่ใช้กันตามบ้านเรือน อาจทำความเย็นได้ถึง -20 ํฟ แต่พอใส่เนื้อเข้าไปอุณหภูมิอาจสูงขึ้นมาเป็น 0 ํฟ ของที่แช่แข็งจะเยือกแข็งช้ามากเพราะเครื่องขนาดเล็กมาก
2. การแช่แข็งในตู้แช่แข็งที่มีลมเป่า (Air Blast freezing) เป็นการแช่แข็งที่ใช้เครื่องเป่าลมเย็น ด้วยความเร็ว 1300 - 1500 ฟุตต่อนาที การถ่ายเทความเย็นทำได้อย่างทั่วถึงและเร็วช่วยให้อาหารแข็งตัวเร็ว แต่ต้องมีสิ่งห่อหุ้มอาหารไว้เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ มักใช้กับห้องเย็นที่มีขนาดใหญ่ และเครื่องแช่แข็งที่ใช้แช่เป็นครั้งคราว แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
เครื่องแช่แข็งแบบอุโมง (Tunnel Freezer) อาจมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้ เวลาต้องการแช่แข็งต้องเรียงผลิตภัณฑ์บนถาด และวางลงบนชั้น หรือทำเป็นรถเข็นหลาย ๆ ชั้น แต่ละชุดของชั้นวางผลิตภัณฑ์จะต้องวางไว้ให้เป็นช่องทางสำหรับลมผ่าน เมื่อต้องการแช่แข็งก็จะนำเข้าเป็นชุด และเมื่อต้องการจะเอาออก ก็จะเอาออกมาทั้งชุดเช่นกัน ในกรณีที่เป็นห้องเย็นใหญ่ เครื่องทำความเย็นอาจติดตั้งหลายชุดในระหว่างช่องสำหรับชั้นวางของก็ได้
เครื่องแช่แข็งแบบสายพาน (Belt Freezer) เครื่องแช่แข็งแบบนี้ได้มีการดัดแปลงเพื่อความสะดวกในการขนถ่ายของโดยใช้สายพานซึ่งนิยมทำด้วยโลหะ วัตถุดิบจะถูกลำเลียงบนสายพานและเคลื่อนที่ผ่านไอเย็นจากเครื่องทำความเย็นที่มักจะมีพัดลมเป่าให้ลมเย็นลงมาถูกอาหารตลอดเวลา ใช้อุณหภูมิประมาณ - 40 องศาเซลเซียส เวลาประมาณ 20-30 นาที จนแข็งตัวและเปิดออกอีกด้านหนึ่งเพื่อทำการบรรจุหีบห่อได้เลย เครื่องทำความเย็นประเภทนี้สามารถปรับความเร็วของสายพานให้พอดีกับระยะเวลาที่ต้องการใช้ในการทำให้ผลิตภัณฑ์เยือกแข็งได้ เครื่องทำความเย็นชนิดนี้อาจต่อเข้ากับสายพานที่ส่งวัตถุดิบที่ผ่านการตัดแต่ง หรือแปรรูปจากห้องผลิตมาแล้ว ก็จะทำให้สะดวกมากขึ้น และลดการปนเปื้อนในช่วงขนถ่ายจากห้องผลิตภัณฑ์ไปยังห้องแช่เยือกแข็งได้ เครื่องแช่แข็งแบบนี้เหมาะสำหรับการแช่แข็งแบบแยกชิ้น หรือที่เรียกว่า ไอ คิว เอฟ (Individual Quick Freezing) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแช่แข็งแบบนี้จะเป็นชิ้น ๆ ไม่มีน้ำแข็งติดกันเป็นก้อน ปัจจุบันเป็นที่นิยมของลูกค้าต่างประเทศเพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้เลย ไม่ต้องนำมาละลาย
เครื่องแช่แข็งแบบเป่าลอยตัวในอากาศ (Fluidized Bed Freezer) เครื่องแช่แข็งแบบนี้คล้ายกับเครื่องแช่แข็งแบบสายพาน (Belt Freezer) คือมีส่วนของสายพานนำวัตถุดิบเข้าไปในเครื่องทำความเย็นและผ่านออกเมื่อผ่านการแช่แข็งแล้ว แต่ที่แตกต่างกันคือ สายพานของเครื่องแช่แข็งแบบนี้จะสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ่งของที่วางบนสายพานไม่อาจติดกับสายพานได้ จะกระดอนขึ้นด้านบนขณะที่มีไอเย็นพัดให้ตกลงมาบนสายพาน ดังนั้นสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแช่แข็งแบบนี้จะต้องแข็งสม่ำเสมอตลอดชิ้น วิธีนี้เหมาะกับอาหารที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา แต่มีปริมาณมาก ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแช่แข็งแบบนี้ถือว่าเป็น IQF
3. การแช่แข็งด้วยแผ่นโลหะให้ความเย็น (plate freezing) เป็นวิธีการแช่แข็งโดยนำผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกล่องแล้ววางบนแผ่นโลหะเย็น หรือ อาจถูกอัดอยู่ระหว่างแผ่นโลหะเย็น 2 แผ่นโดยผลิตภัณฑ์จะถูกสัมผัสทั้ง 2 ด้าน เครื่องแช่แข็งประกอบด้วยแผ่นโลหะหลาย ๆ แผ่นจัดเรียงเป็นชั้น ๆ คล้ายชั้นวางของ ระหว่างชั้นของแผ่นโลหะจะเป็นที่วางอาหาร ช่องว่างระหว่างชั้นสามารถปรับให้มากหรือน้อยได้ เมื่อจะทำการแช่แข็งก็จะปรับแผ่นโลหะนี้ให้ผิวหน้าสัมผัสกับอาหารทั้งสองด้านเพื่อให้ถ่ายเทความร้อนได้เร็ว ภายในของแผ่นโลหะแต่ละชั้นจะมีน้ำยาของเครื่องทำความเย็นมาระเหย และเก็บความร้อนไปทิ้งได้อย่างรวดเร็ว วิธีนี้การถ่ายเทความร้อนจะเป็นไปได้ดีมาก ทำให้การแช่แข็งเป็นไปอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาสั้น ข้อจำกัดของการเลือกใช้วิธีนี้คือผลิตภัณฑ์จะต้องมีขนาดและรูปร่างสม่ำเสมอ บรรจุอยู่ในกล่องแม่แบบขนาดเดียวกันตลอดทั้งรุ่นที่นำเข้าไปแช่เยือกแข็ง
4. การแช่แข็งโดยจุ่มลงในของเหลว (liquid freezing) เป็นการแช่แข็งโดยนำอาหารจุ่มลงในของเหลวที่มีจุดเยือกแข็งต่ำ เช่น เมทานอล (methanol) แคลเซียมคลอไรด์ (calcium chloride) และไกลคอล (glycol)หรือน้ำเกลือ เป็นต้น สำหรับเนื้อสัตว์ควรมีการบรรจุหีบห่อก่อนการจุ่มในของเหลว เมื่อเนื้อสัตว์เยือกแข็งแล้วจึงนำไปแช่ต่อในตู้แช่แข็งธรรมดา การแช่ในเมทานอลจะทำความเย็นได้ถึง -20 ํฟ
5. การแช่แข็งด้วยก๊าซเหลว (freezing with liquidified gasses) เป็นวิธีการแช่แข็งที่มีอัตราเร็วมากโดยการให้ผลิตภัณฑ์อาหารสัมผัสกับสารที่ให้ความเย็นขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะ (cryogenic freezing) สารให้ความเย็นได้แก่ ก๊าซที่กลั่นตัว เช่น ไนโตรเจนเหลว (ที่อุณหภูมิ -195 ๐ ซ หรือ -319 ํฟ) ไนตรัสออกไซด์เหลว (จุดเดือด -95 ํซ) หรือน้ำแข้งแห้ง (CO2, จุดระเหิด -78 ํซ) การจุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อลงไปในก๊าซเหลวโดยตรงทันทีอาจไม่ทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นจึงมีการออกแบบเครื่องแช่เยือกแข็งให้ผลิตภัณฑ์อาหารวางอยู่บนสายพานคล้ายกับเครื่องแช่แข็งชนิดมีสายพาน ขณะทำการแช่แข็งผลิตภัณฑ์จะมีการพ่นไนโตรเจนเหลวอุณหภูมิต่ำลงมาแทนที่จะใช้พัดลมเป่าไอเย็น ผิวด้านนอกของผลิตภัณฑ์จึงแข็งตัวเร็วมาก บางครั้งอาจมีการแตกร้าวของผลิตภัณฑ์ได้เนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผลิตภัณฑ์กับอุณหภูมิตัวกลางให้ความเย็นมีมาก อย่างไรก็ตามหากมีการปรับความเร็วของสายพานให้เหมาะสม วิธีการนี้ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งเล็กมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อน้อยมาก ความเย็นเข้าถึงภายในจุดกึ่งกลางของชิ้นเนื้อได้เร็วกว่าแบบอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดี เก็บได้ทนนาน แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก ไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีความหนามากจนเกินไปเพราะจะเปลืองก็าซไนโตรเจน
การบรรจุและการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแช่แข็งแล้วจะนำมาบรรจุลงถุงพลาสติก หรือกล่อง แล้วบรรจุลงกล่องบรรจุสินค้าสำหรับการขนส่ง แล้วติดสายรัดกล่องให้แน่น กล่องบรรจุสินค้าจะต้องมีความคงทนและเหมาะสมสำหรับการขนส่ง เพื่อป้องกันสินค้าภายในไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนระหว่างการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการบรรจุเรียบร้อยแล้วจะเก็บเข้าห้องเย็นเพื่อรอการจำหน่าย โดยที่อุณหภูมิของห้องเย็นจะต้องต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ประมาณร้อยละ 70 ทั้งต้องมีประตูห้องปิดสนิท
การเปลี่ยนแปลงของอาหารที่ผ่านการถนอมโดยการแช่แข็ง
การถนอมอาหารโดยการแช่แข็งถือว่าเป็นการถนอมอาหารที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากเก็บอาหารไว้ได้นานโดยที่ลักษณะจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก อย่างไรก็ตาม ในการแช่แข็งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอาหารได้ดังนี้
1) ความชื้นลดลง การลดลงของความชื้นเนื่องมาจากการระเหยน้ำจากผิวหน้าของเนื้อ ทำให้เกิดลักษณะไม่น่ารับประทาน เนื้อมีสีคล้ำ แห้ง กระด้างและไม่มีรส ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "freezer burn" ซึ่งอาจป้องกันได้โดยการห่อหรือบรรจุภาชนะให้มิดชิด
2) เกิดการเหม็นหืน การเหม็นหืนเกิดขึ้นจากการออกซิไดส์ของไขมัน เนื้อที่มีไขมันประเภทอิ่มตัวอยู่มาก เช่น เนื้อวัวและเนื้อแกะ จะมีความต้านทานต่อการเหม็นหืนได้ดีกว่าเนื้อที่มีไขมันประเภทไม่อิ่มตัวอยู่มาก เช่น เนื้อหมู การใช้สารกันหืนในผลิตภัณฑ์เนื้อแช่แข็งยังไม่มีการยืนยันว่าได้ผลหรือไม่ ดังนั้น การปกปิดผิว หรือบรรจุหีบห่อที่ป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนก็ช่วยชะลอการเหม็นหืนได้
3) จุลินทรีย์ แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่เติบโตที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ยกเว้น ยีสต์บางชนิดซึ่งถ้าอาหารยังไม่แข็ง สามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 ํฟ โดยทั่วไปยีสต์และราสามารถเติบโตได้ในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าแบคทีเรีย นอกจากนั้นแบคทีเรียยังต้องการน้ำสำหรับดำรงชีวิตมากกว่าราและยีสต์ เมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง แบคทีเรียก็ไม่สามารถใช้น้ำนั้นได้ การแช่แข็งเป็นเวลานานหรือการทำให้ละลายและแช่แข็งสลับกันอีก จึงสามารถฆ่าแบคทีเรียที่กำลังเติบโตได้ แต่สปอร์ของมันไม่ถูกทำลาย ปริมาณของจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหารมีผลต่ออายุการเก็บของอาหารนั้น หากปริมาณจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหารมีน้อย อาหารนั้นก็สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน
4) เอ็นไซม์ เอ็นไซม์ยังทำงานได้อย่างช้า ๆ ที่อุณหภูมิของอาหารแช่แข็ง พบว่าเอ็นไซม์บางตัวสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิต่ำถึง -100 ํฟ ฉะนั้นความเย็น ณ อุณหภูมิแช่แข็งจึงเพียงแต่ชะลอปฏิกิริยาของเอ็นไซม์เท่านั้น หากจะควบคุมปฏิกิริยาของเอ็นไซม์จึงต้องใช้วิธีอื่นนอกเหนือไปจากการใช้ความเย็น
5) พยาธิ การแช่แข็งผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ในการทำลายพยาธิบางตัว ตัวที่ถูกทำลายได้ผลที่สุดคือ Trichinella spiralis ถ้าเก็บเนื้อหมูที่มีพยาธิตัวนี้ไว้ที่อุณหภูมิ 0 ํฟ พยาธิจะตายหมด
6) คุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการแช่แข็งไม่ทำให้สารอาหารสลายตัว อุณหภูมิยิ่งต่ำสารอาหารยิ่งมีความคงตัว อาหารที่แช่แข็งสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการในขั้นเตรียมอาหารก่อนแช่แข็งเป็นส่วนใหญ่ การบรรจุหีบห่อช่วยป้องกันการสูญเสียสารอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะวิตามิน คุณค่าทางโภชนาการของอาหารแช่แข็งเปลี่ยนไปดังนี้
วิตามิน วิตามินบีหนึ่งสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน จึงถูกทำลายเมื่อลวก ระหว่างการเก็บสูญเสียบ้างเล็กน้อย วิตามินบีสองสูญเสียไปน้อยมาก ทั้งในระหว่างการเตรียมและการเก็บอาหารแช่แข็ง การทำให้ละลายเป็นอีกขั้นหนึ่งที่ทำให้สูญเสียวิตามินไปกับน้ำได้
ตารางที่ 6.3 แสดงการสูญเสียวิตามินของเนื้อวัวแช่แข็งระหว่างการทำให้ละลาย โดยค้างคืนที่อุณหภูมิของห้อง
ชนิด
|
ปริมาณวิตามินที่สูญเสีย (ร้อยละ)
|
Panthotenic acidNiacinPholic acid |
33
14.5
8
|
ดัดแปลงจาก Pearson, A.M., Burnside, J.E., Edwards, H.M., Glasseock, R.S., Cunha, T.J., and Norak,A.F., Vitamin losses in drip obtained upon defrosting frozen meat. Food Research,16:85687 (1951)
โปรตีน กระบวนการแช่แข็งอาจทำให้โปรตีนเปลี่ยนสภาพธรรมชาติ แต่มิได้ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของโปรตีนเปลี่ยนแปลงไป
ไขมัน อาหารแช่แข็งประเภทที่มีไขมันสูงจะเกิดการเหม็นหืนแบบการเติมออกซิเจนได้ (oxidative rancidity) เนื้อหมูจะเหม็นหืนภายหลังที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 0 0ฟ. เป็นเวลา 6 เดือน ส่วนเนื้อวัวยังคงมีคุณภาพดีภายหลังจากการเก็บแล้ว 2 ปี การเก็บอาหารแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำมาก เช่นที่ อุณหภูมิ –30 0ฟ. จะช่วยให้เกิดการเหม็นหืนช้าลง
1.4 การเก็บและการใช้อาหารแช่แข็ง
อุณหภูมิของตู้แช่แข็งมีผลต่อระยะเวลาที่เก็บอาหาร อุณหภูมิยิ่งต่ำก็ยิ่งช่วยให้เก็บอาหารได้นานขึ้น ในการแช่แข็งควรใช้อุณหภูมิต่ำกว่า -18 ํซ (0 ํฟ) ตู้เย็นตามบ้านชนิดที่แยกประตูช่องระหว่างช่องแช่เย็นและช่องแช่แข็ง ปกติช่องแช่แข็งมีอุณหภูมิต่ำกว่า -15 ํซ แต่ตู้เย็นที่ชนิดที่ไม่มีประตูของช่องแช่แข็งแยกต่างหาก ช่องแช่แข็งก็จะมีอุณหภูมิสูงกว่านั้น จึงเก็บอาหารแช่แข็งไม่ได้นานเท่าที่ควร
ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับอาหารแช่แข็งมีดังนี้
1. เมื่อซื้ออาหารแช่แข็งมาควรรีบเก็บในช่องน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว อย่าปล่อยให้ละลายเพราะน้ำในอาหารจะไหลออกมา อาหารจะเสียรสและคุณค่าทางโภชนาการไปกับน้ำ
2. วิธีละลายน้ำแข็งจากอาหาร (thawing) ก่อนนำไปทำอาหารที่ดีที่สุด ทำได้โดยหยิบอาหารออกจากช่องน้ำแข็งมาใส่ตู้เย็นชั้นล่าง ถึงแม้จะใช้เวลานานก็ดีกว่าละลายนอกตู้เย็นเพราะอุณหภูมิภายนอกตู้สูงกว่า จุลินทรีย์เจริญเติบโตรวดเร็ว อาหารก็เน่าเปื่อยเสียง่าย ไม่ควรละลายโดยเทน้ำราดอาหารเพราะน้ำจะพาสารต่าง ๆ ที่ให้รสชาติและคุณค่าทางโภชนาการออกไปด้วย
3. การแช่แข็งตามบ้าน ควรกะปริมาณของอาหารสำหรับแช่แข็งที่พอเหมาะจะใช้แต่ละคราว บรรจุภาชนะแยกเป็นส่วน ๆ ส่วนที่ทำให้ละลายแล้วต้องใช้หมดในคราวเดียวกัน ไม่ควรนำอาหารมาละลายแล้วแช่แข็งอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้สูญเสียน้ำและสารอาหารมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น