磯山さやかの旬刊!いばらき『茨城の名産レンコン』(平成30年1月19日放送)
Beautiful Japan Lotus Root Field - Japan Lotus Root Farm and Harvest
14 มี.ค. 2019
野菜中継 茨城 「レンコン」 Lotus root
レンコンの収穫風景(白石町)2011.11.16撮影
稲敷市特産「浮島れんこん」の出荷始まる
蓮根掘り取り掘り丸1
蓮根掘り取り掘り丸2
蓮根掘り取り.掘り丸3
เก็บ れんこんチャンネル『蓮根の掘り方と成り方』
ล้าง れんこんチャンネル『レンコンの原価』
連島レンコン生産者 倉敷市 田辺さんの圃場インタビュー
これが徳島のれんこんじゃ〜」Part.1
倉敷市連島レンコンの収穫
レンコン除草作業
れんこん栽培の1年間
れんこん太陽熱消毒マニュアル
太陽熱消毒の手順
蓮根掘り
ハウス栽培のレンコン、収穫ピーク【佐賀新聞】
ตามไปชมชีวิต “แรงงานเก็บรากบัว” วัย 50 อัพ เก็บวันละ 400 กก. หนาวติดลบก็ไม่เว้น
รากบัว - อาหารญี่ปุ่นถนน
สุขชาวบ้าน | วิถีชีวิตนักขุดรากบัวบึงบอระเพ็ด | 18 มีนาคม 2559
มีทั้งแบบเชื่อมน้ำผึ้งและตากแห้ง
รากบัว เป็นพืชสมุนไทยที่ช่วยลดอาการร้อนใน ช่วยดับกระหาย ที่นิยมมากในปัจจุบัน เมื่อเรากระหายแล้วดื่มน้ำ สักพักเราก็จะคอแห้งอีก ต่างจากเมื่อดื่มน้ำรากบัว จะทำให้สดชื่น ลดการกระหาย
รากบัวยังมีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ไอ แก้เสมหะ แก้ปวดบวม เป็นยาเย็นที่ใช้เป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณ และนอกจากจะนำรากบัวมาต้ม เอาน้ำมาดื่มแล้ว สามารถคั้นน้ำจากรากบัว
สำหรับรากบัวนะครับ ก็หาซื้อได้ทั่วไปครับ ตามตลาดทั่วๆไปก็มีครับ แต่ที่หัวใหญ่ๆเช่นในรูปนี้ ผมได้มาจากตลาดเยาวราชครับ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามันเป็นของไทย รึเปล่า เพราะเค้าอาจจะปลูกในจีนแล้วนำเข้ามาในเมืองไทยก็ได้ครับ
การขยายพันธุ์
การขยายสายพันธุ์ :
บัวแต่ละชนิดนั้นจะมีการขยายสายพันธ์ที่แตกต่างกันซึ่งสามารถจำแนกการขายสายพันธุ์บัวชนิดต่างได้ดังนี้
บัวหลวง :
– ขยายสายพันธุ์ได้จากเหง้า ไหล และเมล็ดบัว (ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไหลมากที่สุด)
– การแยกไหลบัวหลวงเพื่อนำไปปลูก จะแยกออกจากเหง้าโดยห่างประมาณ 2 ข้อ แล้วจึงนำไปปลูกในกระถาง (แต่ต้องระวังไม่ให้ยอดของไหลและใบเลี้ยงหักเด็ดขาด)แล้วจึงกลบดินเพื่อไม่ให้ต้นลอย
บัวหลวงจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือไหล ถ้าปลูกโดยใช้เมล็ดสามารถปลูกได้โดยตรงหรือนำไปเพาะในน้ำจนงอกก่อน แล้วนำมาปลูก หากปลูกด้วยไหล จะฝังไหลตามแนวนอน ลึกลงไปในดิน 1-2 นิ้ว เพราะบัวหลวงจะเจริญเติบโตตามแนวนอน
บัวเป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็น เหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบติดอยู่ที่หลังใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ กลีบดอกมีทั้งชนิดซ้อนและไม่ซ้อน มีสีสันแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3 สกุล คือ
สกุลบัวหลวง (Lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือ บัวหลวง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดียและไทย มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้าและไหลซึ่งเมื่อยังอ่อนจะมีลักษณะเรียวยาว เมื่อโตเต็มที่จะอวบอ้วนเนื่องจากสะสมอาหารไว้มาก มีข้อปล้องเป็นที่เกิดของราก ใบและดอกเกิดจากหน่อที่ข้อปล้องแล้วเจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะกลมใหญ่สีเขียวอมเทา ขอบใบยกผิวด้านบนมีขนอ่อนๆ ทำให้เมื่อโดนน้ำจะไม่เปียกน้ำ เมื่อใบยังอ่อนใบจะลอยปิ่มน้ำ ส่วนใบแก่จะช฿พ้นน้ำ ก้านใบและก้านดอกมีหนาม ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ชูสูงพ้นผิวน้ำ มีทั้งดอกป้อมและดอกแหลม บานในเวลากลางวันมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ ด้านนอกมีสีเขียว ด้านในมีสีเดียวกับกลีบดอก กลีบดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและไม่ซ้อน สีของกลีบดอกมีทั้งสีขาว ชมพู หรือเหลือง แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ บัวในสกุลนี้เป็นบัวที่รู้จักกันดีเพราะเป็นบัวที่มีดอกใหญ่นิยมนำมาไหว้พระและใช้ในพิธีทางศาสนา เหง้าหรือที่มักเรียกกันว่ารากบัวและไหลบัวรวมทั้งเมล็ดสามารถนำมาเป็นอาหารได้
การขยายพันธุ์
การแยกเหง้า บัวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวที่มีลำต้นเป็นแบบเหง้าสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีแยกหน่อหรือต้นอ่อนจากเหง้าต้นแม่ไปปลูก โดยตัดแยกเหง้าที่มีหน่อหรือต้นอ่อนยาว 5-8 ซม. ตัดรากออกให้หมด ถ้าเป็นต้นอ่อนสามารถนำไปปลูกยังที่ต้องการได้เลย ถ้าเป็นหน่อให้นำไปปลูกในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-25 ซม. ฝังดินให้ลึกประมาณ 3-5 ซม. กดดินให้แน่น เทน้ำให้ท่วมประมาณ 8-10 ซม. ดินที่ใช้ควรเป็นดินเหนียวเพื่อช่วยจับเหง้าไม้ให้ลอยขึ้นเหนือผิวน้ำ เมื่อหน่อเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่จึงย้ายไปปลูกยังที่ต้องการ
การแยกไหล บัวในเขตร้อนโดยเฉพาะบัวหลวงจะสร้างไหลจากหัวหรือเหง้าของต้นแม่แล้วไปงอกเป็นต้นใหม่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีตัดเอาไหลที่มีหน่อหรือปลิดต้นใหม่จากไหลไปปลูก การตัดไหลที่มีหน่อไปปลูกควรตัดให้มีขนาดความยาวประมาณ 2-3 ข้อ และมีตาประมาณ 3 ตา นำไหลที่ตัดฝังดินให้ลึก 3-5 ซม. กดดินให้แน่น ต้นอ่อนจะขึ้นจากตาและเจริญเป็นต้นใหม่ต่อไป
การแยกต้นอ่อนที่เกิดจากใบ บัวในเขตร้อนสกุลบัวสายบางชนิดจะแตกต้นอ่อนบนใบบริเวณกลางใบตรงจุดที่ต่อกับก้านใบหรือขั้วใบ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยตัดใบที่มีต้นอ่อนโดยตัดให้มีก้านใบติดอยู่ 5-8 ซม. เสียบก้านลงในภาชนะที่ใช้ปลูกให้ขั้วใบที่มีต้นอ่อนติดกับผิวดิน ใช้อิฐหรือหินทับแผ่นใบไม่ให้ลอย เติมน้ำให้ท่วมยอด 6-10 ซม. ประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นอ่อนจะแตกรากยึดติดกับผิวดินและเจริญเติบโตต่อไป
การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมปฏิบัติเนื่องจากยุ่งยากและต้องใช้เวลานาน ยกเว้นบัวกระด้งที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเท่านั้น นอกจากนี้การเพาะเมล็ดมักนิยมใช้กับเมล็ดบัวที่ได้จากการผสมพันธุ์บัวขึ้นมาใหม่แล้วเก็บเอาเมล็ดนำมาเพาะ เพื่อสะดวกในการคัดแยกพันธุ์ วิธีการเพาะเมล็ดมีดังนี้ เตรียมดินเหนียวที่ไม่มีรากพืช ใส่ลงในภาชนะปากกว้างที่มีความลึกประมาณ 25-30 ซม. โดยไส่ดินให้สูงอย่างน้อย 10 ซม. ปรับแต่งหน้าดินให้เรียบและแน่น เติมน้ำให้สูงจากหน้าดินประมาณ 7-8 ซม. นำเมล็ดที่จะใช้เพาะโรยกระจายบนผิวน้ำให้ทั่ว เมล็ดจะค่อยๆ จมลงใต้น้ำ สำหรับเมล็ดบัวหลวงและบัวกระด้งเมล็ดมีขนาดใหญ่ ให้กดเมล็ดให้จมลงไปในดินแล้วเติมน้ำให้สูงจากผิวดินประมาณ 15 ซม. นำภาชนะที่เพาะไปไว้ในที่มีแดดรำไร ประมาณ 1 เดือน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นอ่อนแข็งแรงและมีใบประมาณ 2-3 ใบ จึงแยกนำไปปลูกยังที่ต้องการ
วิธีการดูแล
การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา
ดิน ที่เหมาะในการใช้ปลูกบัวคือ ดินเหนียว ดินท้องร่องที่มีธาตุโปแตสเซียมสูง ไม่ควรใช้ดินที่มีซากอินทรีย์วัตถุที่ยังย่อยสลายไม่หมดเพราะจะทำให้น้ำเสียและอาจทำให้ต้นเน่าได้
น้ำ ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-8.0 อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 15-35 องศาเซลเซียส ไม่ควรเกิน 50 องศาเซลเซียส ระดับความลึกของน้ำที่บัวต้องการแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
น้ำตื้น คือบัวที่ต้องการน้ำลึกระหว่าง 15-30 ซม. มีผิวหน้าของน้ำในการแผ่กระจายของใบประมาณ 50X50 ซม.
น้ำลึกปานกลาง คือบัวที่ต้องการความลึกระหว่าง 30-60 ซม. มีผิวหน้าของน้ำในการแผ่กระจายของใบประมาณ 1X1 เมตร
น้ำลึกมาก คือบัวที่ต้องการความลึกของน้ำอยู่ระหว่าง 60-120 ซม
ระดับน้ำที่เหมาะสมกับความต้องการของบัวสังเกตุได้จาก ก้านดอกจะส่งดอกตั้งตรงในแนวดิ่ง ก้านใบไม่ควรแผ่กว้างกว่า 45 องศา
แสงแดด บัวเป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด จึงควรให้บัวได้รับแสงแดดเต็มที่วันละ 4 ซม. เป็นอย่างน้อย ถ้าปลูกบัวในที่ร่มเกินไปบัวจะออกดอกน้อยหรือไม่ออกดอกเลย
การให้ปุ๋ย เมื่อเห็นว่าบัวที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโต ใบเล็กลงกว่าปกติ ใบด้านขาดความมัน เหลือง แก่เร็วขึ้น แสดงว่าบัวขาดธาตุอาหารหรือปุ๋ย วิธีการให้ปุ๋ยบัวจะแตกต่างกับการให้ปุ๋ยพืชชนิดอื่นคือ ต้องทำปุ๋ย "ลูกกลอน" โดยนำปุ๋ยสูตรเสมอ 10-10-10 หรือ 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา ห่อด้วยดินเหนียวแล้วปั้นเป็นลูกกลอนผึ่งลมให้แห้ง ถ้าปลูกบัวไม่มากอาจใช้กระดาษหนังสือพิมพ์แทนดินเหนียว ห่อ 2-3 ชั้น นำปุ๋ยลูกกลอนที่ทำไว้ฝังห่างจากโคนต้นประมาณ 5-8 ซม. สำหร้บบัวเผื่อน บัวสาย และจงกลณีที่มีการเจริญเติบโตในทางดิ่งให้ฝังด้านใดก็ได้ แต่สำหรับบัวหลาง บัวฝรั่ง และอุบลชาติ ซึ่งมีการเจริญเติบโตในแนวนอนให้ฝังด้านหน้าแนวการเจริญเติบโตของเหง้าหรือไหล
โรคและศัตรูของบัว
โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา ระบาดมากในช่วงฤดูฝนซึ่งสภาพอากาศมีความชื้นสูง มักเกิดบนใบบัวที่แก่ อาการของโรคจะเป็นแผลหรือจุดวงกลมสีเหลือง เมื่อแผลขยายกว้างจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตรงกลางแผลแห้ง ป้องกันและแก้ไขโดยเด็ดใบที่แก่หรือเป็นโรคทิ้ง
โรคเน่า มักเกิดกับบัวกลุ่มอุบลชาติและบัวกระด้ง สาเหตุเกิดจากดินที่ใช้ปลูกมีมูลสัตว์ที่ยังเน่าเปื่อยไม่หมด ทำให้หัว เหง้า หรือโคนต้นเละ ต้นแคระแกนและตาย เมื่อเห็นว่าต้นแสดงอาการควรรีบนำต้นขึ้นมาตัดส่วนที่เน่าทิ้ง เปลี่ยนดินปลูกใหม่ หรือเก็บต้นและดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสีย
เพลี้ยไฟ มักเกิดกับบัวที่ยังอ่อนอยู่ ทำให้ใบหงิกไม่คลี่ ด้านหลังใบจะมีรอยช้ำเป็นสีชมพูเรื่อๆ ต่อมาจะแห้งและดำ ถ้าเข้าทำลายดอกและก้านดอกจะทำให้ดอกที่ตูมอยู่เหี่ยวและแห้งเป็นสีดำ ก้านดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลและหักง่าย
เพลี้ยอ่อน จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนก้านดอก ก้านใบ และใบอ่อนที่โผล่เหนือน้ำ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลดำ ทำให้ดอกตูมและใบมีขนาดเล็ก สีเหลืองซีดและแห้งตาย
หนอน ได้แก่ หนอนชอนใบ , หนอนกระทู้ , หนอนผีเสื้อ , หนอนกอ จะดูดน้ำเลี้ยงและกัดกินใบบัว หนอนและแมลงที่กล่าวมาสามารถกำจัดและควบคุมได้โดยใช้ โมโนโครโตฟอส (Monocrotophos) ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า อะโซดริน60 (Azodrin60) มาลาไธออน (Malathion) ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า มาลาเฟซ (Malafez) โดยใช้ในอัตรา 1 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ สัปดาห์จนกว่าหนอนและแมลงศัตรูจะหมด
หอย จะเป็นตัวบอกว่าน้ำในบ่อดีหรือเสีย ถ้าน้ำเสียออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอหอยจะลอยตัวหรือเกาะอยู่ตามขอบบ่อเพื่อหาออกซิเจนหายใจ ถ้าเป็นเช่นนี้ให้รีบเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อปลูก แต่ถ้าในบ่อมีหอยมากเกินไปหอยจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนหรือทำให้ก้านใบขาดได้ จึงควรกำจัดออกบ้างโดยการเก็บออก หรือถ้าปลูกในบ่อที่มีขนาดใหญ่อาจจะเลี้ยงปลาช่อนให้ช่วยกินตัวอ่อนของหอยก็ได้
ปลูกบัวไหลขาย จ.ปราจีนบุรี
ส่วนต่างๆ ของบัว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แม้กระทั่ง “ไหลบัว” ซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของต้นบัวที่อยู่ใต้น้ำ ก็สามารถนำมาบริโภคได้ จนทำให้เกิดอาชีพการปลูกบัวขายไหลสร้างรายได้ให้เกษตรกร
ที่ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง เป็นแหล่งปลูกบัวเพื่อขายไหลแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี แต่เดิมเกษตรกร เก็บไหลบัวจากธรรมชาติเพื่อบริโภค ส่วนที่เหลือจึงขาย แต่เมื่อประชาชนนิยมมากขึ้น จึงลดพื้นที่ทำนาส่วนหนึ่งมาปลูกบัวเป็นอาชีพเสริม
พันธุ์บัวที่เกษตรกรนำมาปลูก คือ บัวหลวง การปลูกมีวิธีคล้ายกับการทำนา แต่สภาพพื้นที่ต้องมีความลึกประมาณ 1 เมตร หลังจากไถเตรียมดินแล้ว จึงปล่อยน้ำลงในนาให้มีความลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร จากนั้นนำเหง้าบัวมาปักดำในดินคล้ายการปักดำข้าว หลังจากปลูกประมาณ 45 วัน ก็ทยอยเก็บไหลบัวขายได้ เนื่องจากไหลบัว เป็นส่วนขยายพันธุ์ของต้นบัวซึ่งอยู่ใต้น้ำ จึงมองไม่เห็นว่าไหลบัวสามารถเก็บมาบริโภคได้หรือไม่ เกษตรกรใช้วิธีการสังเกตต้นบัวที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาใหม่ หากใบบัวยัง
ไม่คลี่ออก ไหลบัวที่อยู่ติดกับต้นบัวดังกล่าว ก็สามารถเก็บมาบริโภคได้ ทั้งนี้เกษตรกรจะเก็บขายวันเว้นวัน โดยพื้นที่ปลูกบัว 1 ไร่ เก็บไหลบัวได้ ครั้งละ 50-80 กำ ส่งขายกำละ 4 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่องส่วนการดูแลไม่ยุ่งยากมากนัก เพียงดูแลสูบน้ำเข้าแปลงเพื่อรักษาระดับน้ำไม่ให้ลดน้อยจนเกินไป ใส่ปุ๋ยมูลไก่และฟางข้าวปีละ 1 ถึง 2 ครั้ง เพื่อบำรุงต้น และช่วยปรับสภาพดินให้นุ่มขึ้นจะทำให้เก็บไหลบัวได้ง่ายยิ่งขึ้น
การปลูกบัว มีข้อดีคือ หลังจากปลูกแล้ว เก็บผลผลิตขายได้ต่อเนื่องนานประมาณ 1 ปี จึงไถกลบ แต่ไม่ต้องนำต้นพันธุ์ใหม่
มาปลูก เพราะเหง้าต้นบัวที่ฝังอยู่ใต้ดินจะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่เหมาะสมมากที่สุดจะต้อง
มีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี
“การปลูกบัวขายไหลนับเป็นอาชีพเสริมที่ดีอีกอาชีพหนึ่ง เพราะลงทุนน้อย และไม่ต้องใช้สารเคมี อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรมีรายได้มากกว่าการทำนาเพียงอย่างเดียว”
ติดต่อ สำนักงานเกษตร จ.ปราจีนบุรี
https://plutoyogurtz.wordpress.com/เรื่องน่ารู้/ปลูกบัวไหลขาย-จ-ปราจีนบุ/
การปลูกบัวหลวง
โดย puechkaset -กันยายน 11, 2014
บัวหลวง เป็นพืชตระกลูบัวที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเมืองร้อน เป็นบัวที่นิยมปลูกมากเนื่องจากมีประโยชน์ในหลายด้านด้วยกัน อาทิ ประโยชน์จากดอก ใบ เมล็ด และเป็นไม้ประดับ เป็นต้น ปัจจุบันมีการปลูกเพื่อการค้าในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ
ลักษณะทั่วไป
บัวหลวงเป็นพืชน้ำล้มลุก มีหัวเป็นส่วนลำต้น และรากอยู่ในดินใต้น้ำ ส่วนก้านใบ และก้านดอกจะเติบโตแทงพ้นขึ้นเหนือน้ำ ใบมีลักษณะกลม สีเขียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-40 ซม. ผิวใบปกคลุมด้วยขนเล็กๆจำนวนมาก ทำให้ไม่เปียกน้ำ ส่วนดอกมีสีขาว สีชมพู สีชมพูออกม่วง สีชมพูออกแดง หรือ สีผสม เรียงซ้อนกันจำนวนมาก
บัวหลวงเป็นพืชน้ำล้มลุก มีหัวเป็นส่วนลำต้น และรากอยู่ในดินใต้น้ำ ส่วนก้านใบ และก้านดอกจะเติบโตแทงพ้นขึ้นเหนือน้ำ ใบมีลักษณะกลม สีเขียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-40 ซม. ผิวใบปกคลุมด้วยขนเล็กๆจำนวนมาก ทำให้ไม่เปียกน้ำ ส่วนดอกมีสีขาว สีชมพู สีชมพูออกม่วง สีชมพูออกแดง หรือ สีผสม เรียงซ้อนกันจำนวนมาก
บัวหลวงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ในระดับน้ำไม่ลึกมากเกิน 1 เมตร มีความอ่อนไหวต่อคุณภาพน้ำสูง ชอบแหล่งน้ำธรรมชาติ สะอาด น้ำไม่เน่าเสีย ดังนั้น ระดับน้ำ และคุณภาพของน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกๆที่ต้องพิจารณาสำหรับการปลูกบัวหลวง
การปลูก
พื้นที่ปลูกบัวหลวงควรเป็นพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่มีความสูงต่ำสม่ำเสมอ และใกล้แหล่งน้ำ ลักษณะของดินควรเป็นดินร่วนหรือดินเหนียว หน้าดินเป็นโคลนตมไม่หนามาก สำหรับดินร่วนปนทรายจะให้ผลผลิตของดอกน้อย ใบจะมากกว่า
พื้นที่ปลูกบัวหลวงควรเป็นพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่มีความสูงต่ำสม่ำเสมอ และใกล้แหล่งน้ำ ลักษณะของดินควรเป็นดินร่วนหรือดินเหนียว หน้าดินเป็นโคลนตมไม่หนามาก สำหรับดินร่วนปนทรายจะให้ผลผลิตของดอกน้อย ใบจะมากกว่า
การเตรียมแปลง
– การเตรียมแปลงปลูกบัวหลวงจะมีลักษณะคล้ายกับการทำนา แต่จะขุดแปลงลึกกว่า ประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อให้กักเก็บน้ำสูง 0.5-1 เมตร
– หากเป็นแปลงเก่าหรือบ่อเก่าให้สูบน้ำออกให้หมด พร้อมไถ และปรับพื้นที่ให้เรียบ และกำจัดวัชพืช
– หว่านปูนขาว เพื่อฆ่าเชื้อ และปรับสภาพดิน พร้อมตากแดดบ่อประมาณ 1-2 อาทิตย์
– ทำการหว่านปุ๋ยสูตร 12-12-24 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 200 กก./ไร่ พร้อมทำการไถ และปรับหน้าดินอีกครั้ง
– การเตรียมแปลงปลูกบัวหลวงจะมีลักษณะคล้ายกับการทำนา แต่จะขุดแปลงลึกกว่า ประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อให้กักเก็บน้ำสูง 0.5-1 เมตร
– หากเป็นแปลงเก่าหรือบ่อเก่าให้สูบน้ำออกให้หมด พร้อมไถ และปรับพื้นที่ให้เรียบ และกำจัดวัชพืช
– หว่านปูนขาว เพื่อฆ่าเชื้อ และปรับสภาพดิน พร้อมตากแดดบ่อประมาณ 1-2 อาทิตย์
– ทำการหว่านปุ๋ยสูตร 12-12-24 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 200 กก./ไร่ พร้อมทำการไถ และปรับหน้าดินอีกครั้ง
ขั้นตอนการปลูก
การปลูกจะใช้วิธีการแยกเหง้าบัวหรือรากบัวออกปลูก โดยเหง้าที่ใช้จะยาวประมาณ 2-3 ข้อ และมีตาเหง้า 2-3 ตา ซึ่งหลังปลูกต้นบัวใหม่จะงอกขึ้นตามตาบริเวณข้อบัว แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
การปลูกจะใช้วิธีการแยกเหง้าบัวหรือรากบัวออกปลูก โดยเหง้าที่ใช้จะยาวประมาณ 2-3 ข้อ และมีตาเหง้า 2-3 ตา ซึ่งหลังปลูกต้นบัวใหม่จะงอกขึ้นตามตาบริเวณข้อบัว แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1. การปลูกในแปลงดินแห้ง
มักใช้สำหรับแปลงใหม่หรือต้องการปลูกในลักษณะของดินแห้งหลังจากการเตรียมบ่อ การปลูกในแปลงลักษณะนี้จะใช้วิธีการขุดหลุมด้วยเสียมหรือจอบลึกประมาณ 15-20 ซม. พร้อมฝังเหง้าบัว โดยให้เหลือส่วนที่เป็นตาบัวเหนือผิวดินประมาณ 1-2 ข้อ หลังจากนั้นจึงทำการปล่อยน้ำเข้าแปลง
มักใช้สำหรับแปลงใหม่หรือต้องการปลูกในลักษณะของดินแห้งหลังจากการเตรียมบ่อ การปลูกในแปลงลักษณะนี้จะใช้วิธีการขุดหลุมด้วยเสียมหรือจอบลึกประมาณ 15-20 ซม. พร้อมฝังเหง้าบัว โดยให้เหลือส่วนที่เป็นตาบัวเหนือผิวดินประมาณ 1-2 ข้อ หลังจากนั้นจึงทำการปล่อยน้ำเข้าแปลง
2. การปลูกในแปลงดินโคลน
เป็นวิธีการที่นิยมปลูกเนื่องจากง่าย และสะดวกกว่าวิธีแรก ด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงเพียงเล็กน้อยหรือสูงกว่าผิวดิน 3-5 ซม. เพื่อให้ดินเป็นโคลนตม หลังจากนั้นจะให้เหง้าบัวเสียมลงแปลง โดยให้เหลือส่วนเหนือผิวดินประมาณ 1-2 ข้อ เมื่อปลูกเสร็จจึงทำการปล่อยน้ำให้ท่วมแปลง
เป็นวิธีการที่นิยมปลูกเนื่องจากง่าย และสะดวกกว่าวิธีแรก ด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงเพียงเล็กน้อยหรือสูงกว่าผิวดิน 3-5 ซม. เพื่อให้ดินเป็นโคลนตม หลังจากนั้นจะให้เหง้าบัวเสียมลงแปลง โดยให้เหลือส่วนเหนือผิวดินประมาณ 1-2 ข้อ เมื่อปลูกเสร็จจึงทำการปล่อยน้ำให้ท่วมแปลง
การดูแล
1. การปล่อยน้ำ จะปล่อยน้ำหลังปลูกเสร็จให้ท่วมแปลงในระดับสูงกว่าปลายเหง้าบัวเพียงเล็กน้อย เมื่อต้นอ่อนบัวเริมงอก และตั้งตัวได้แล้วจึงทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกครั้ง
1. การปล่อยน้ำ จะปล่อยน้ำหลังปลูกเสร็จให้ท่วมแปลงในระดับสูงกว่าปลายเหง้าบัวเพียงเล็กน้อย เมื่อต้นอ่อนบัวเริมงอก และตั้งตัวได้แล้วจึงทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกครั้ง
2. การใส่ปุ๋ย จะทำการใส่ปุ๋ยครั้งแรกเมื่อเห็นต้นอ่อนของบัวงอกแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์ โดยใช้สูตร 16-16-8 และอีกครั้งในระยะก่อนบัวออกดอกในสูตร 12-12-24 ทั้งสองครั้งใส่ประมาณ 30 กก./ไร่ นอกจากนี้ในระยะแรกอาจใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ร่วมด้วยในอัตรา 100 กก./ไร่ ไม่ควรใส่ปุ๋ยชนิดนี้มากเพราะอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้
การเก็บผลผลิต
ผลผลิตที่ได้จากการปลูกบัวหลวงแบ่งได้เป็นหลายส่วน คือ
1. ดอก ถือเป็นผลผลิตหลักของการปลูกบัวหลวง เนื่องจากมีความต้องการทางตลาดมากที่สุด การเก็บดอกสามารถเก็บได้ตลอดอายุของบัว ด้วยการตัดก้านดอกยาว 30-40 ซม
ผลผลิตที่ได้จากการปลูกบัวหลวงแบ่งได้เป็นหลายส่วน คือ
1. ดอก ถือเป็นผลผลิตหลักของการปลูกบัวหลวง เนื่องจากมีความต้องการทางตลาดมากที่สุด การเก็บดอกสามารถเก็บได้ตลอดอายุของบัว ด้วยการตัดก้านดอกยาว 30-40 ซม
2. ใบ เป็นผลพลอยได้จากการปลูกบัว นิยมตัดใบอ่อนนำมาใช้ในการห่อข้าวของ หรือพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานบวช
3. ฝักบัว ถือเป็นผลผลิตที่มีการจำหน่ายในท้องตลาดชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก เนื่องจากสามารถรับประทานสดได้ หรือนำมาทำของหวานในรูปของเมล็ดบัวเชื่อม การเก็บฝักบัวจะเก็บในระยะฝักแก่
4. เหง้าบัวหรือรากบัว นิยมนำมาทำรากบัวเชื่อมหรือนำมาปรุงเป็นอาหาร การเก็บรากบัวจะเก็บเมื่อต้นบัวมีปริมาณถี่มากเกินไปhttps://puechkaset.com/การปลูกบัวหลวง/
3. ฝักบัว ถือเป็นผลผลิตที่มีการจำหน่ายในท้องตลาดชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก เนื่องจากสามารถรับประทานสดได้ หรือนำมาทำของหวานในรูปของเมล็ดบัวเชื่อม การเก็บฝักบัวจะเก็บในระยะฝักแก่
4. เหง้าบัวหรือรากบัว นิยมนำมาทำรากบัวเชื่อมหรือนำมาปรุงเป็นอาหาร การเก็บรากบัวจะเก็บเมื่อต้นบัวมีปริมาณถี่มากเกินไปhttps://puechkaset.com/การปลูกบัวหลวง/
ไหลบัวสร้างรายได้ เดือนละเป็นแสน
อย่างที่เรารู้กันว่า บัว เป็นพืชที่มีคุณประโยชน์รอบด้านส่วนต่าง ๆของบัวสามารถนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าได้อย่างมาก เริ่มจากดอกบัวที่ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นดอกไม้ที่จำเป็นต้องใช้ในการไหว้พระและใช้ในงานพิธีสำคัญทางศาสนาทำให้ผลผลิตของดอกบัวยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ นอกจากดอกบัวแล้วฝักสดยังสามารถเก็บขายสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย แต่ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรจังหวัดนครปฐมก็คือ ไหลบัว หลายคนก็คงเคยได้กินอาหารที่ทำงานไหลบัวซึ่งไหลบัวนั้นจะมีรสชาติที่เฉพาะตัวทำให้หลายคนติดใจ ความต้องการในไหลบัวในตลาดยังมีสูงอยู่และที่สำคัญเกษตรกรที่ทำไหลบัวยังมีจำนวนไม่มากคู่แข่งยังน้อยทำให้ราคายังสูงอยู่
การปลูกบัวไม่ใช่เรื่องยากเพราะบัวเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก
การปลูกบัวเพื่อเอาไหลบัว
การปลูก บัว เพื่อเอาไหลบัวออกจำหน่ายนั้นทำได้ไม่ยากและยังสามารถเก็บผลผลิตได้เร็วกว่าการปลูกดอกบัวและการปลูกบัวเพื่อเอาฝักสดอีกด้วย ซึ่งระยะเวลาการปลูกบัวเพื่อเก็บไหลนั้นจะใช้ระยะเวลาเพียง 1 ถึง 2 เดือนเท่านั้นหลังจากนั้นก็ต้องทำการปลูกใหม่
ส่วนต่าง ๆของบัวสามารถขายได้ ตั้งแต่ดอก เมล็ดและไหลบัว
วิธีการปลูกบัวเพื่อเอาไหนนั้นจะมีวิธีที่แตกต่างจากการปลูกบัวทั่วไปคือต้องทำคั่นให้สูงประมาณ 1 เมตรซึ่งใครที่มีพื้นที่ที่เป็นท้องนาเก่าก็สามารถทำคั่นให้สูงในระดับ 1 เมตรได้เช่นกันก่อนทำการปลูกบัวเราควรเตรียมดินด้วยการไถแปรพลิกดินเพื่อเป็นการตากดินให้ปลอดจากเชื้อโรคและเชื้อราที่จะทำให้บัวเป็นโรคได้หลังจากนั้นก็ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพลงไปพร้อมกับหว่านปูนขาวลงไปและทำการไถแปรอีกหนึ่งครั้งก่อนปล่อยน้ำให้สูงประมาณ 80 เซนติเมตรซึ่งการปลูกบัวทั่วไปจะใช้ระดับน้ำที่สูงประมาณ 30 เซนติเมตรเท่านั้น สามารถที่จะต้องปล่อยน้ำให้สูงเพื่อให้ไหลบัวที่เกิดใหม่มีความยาวสวยงามเหมาะกับการนำไปจำหน่าย หลังจากนั้นก็นำไหลบัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบัวในการปลูกขยายพันธุ์มาปักดำเหมือนกับการดำนาเพียงแต่ว่าเป็นการใช้เท้าเหยียบไหลให้จมดิน โดยระยะห่างระหว่างต้นจะอยู่ที่ 3 เมตร
การปลูกบัวเพื่อเอาไหลนั้นจะแตกต่างจากการปลูกบัวเพื่อเอาดอกและเอาเมล็ดซึ่งระดับน้ำจะสูงกว่า
เมื่อปลูกบัวเสร็จเรียบร้อยแล้วก็รอประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ระยะเวลาในการเก็บผลผลิตจะอยู่ที่ 2 เดือนและจะต้องทำการปลูกใหม่ ซึ่งการปลูกบัวเอาไหลบัวนี้สามารถปลูกได้ตลอดปี เพียงแต่ว่าในช่วงหน้าหนาวผลผลิตของบัวจะได้น้อยกว่าทุกหน้า
ไหลบัวมีความต้องการที่สูงแต่มีเกษตรกรที่ทำเพื่อจำหน่ายน้อย
การตลาดของไหลบัว
ต้นทุนในการผลิต ไหลบัว นั้นลงทุนไม่สูง เมื่อเราเก็บไหลบัวขึ้นมาได้จะต้องนำมาทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อน ด้วยการตัดแต่งกิ่งและเอาหนามออก หลังจากนั้นก็นำไปล้างและใส่ถุงนำไปจำหน่ายเกษตรกรที่ยึดอาชีพขายไหลบัวบอกว่าไหลบัวจะมีราคาประมาณ 50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งในหน้าหนาวหรือช่วงที่บัวขาดตลาดจะมีราคาสูงถึงหลักร้อยบาทเลยทีเดียว ส่วนไหลแก่จะทำการส่งโรงงานเพื่อทำการแปรรูปและส่งออกอต่างประเทศ แต่เกษตกรรายนี้ได้กล่าวทิ้งท้ายได้อย่างน่าสนใจว่าการทำเกษตรเราต้องหาผู้ซื้อผลผลิตให้ได้เสียก่อน ถึงจะเริ่มปลูก ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ดีเพื่อป้องกันการขาดทุนเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาด
ไหลบัวสามารถเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศได้
ความต้องการของไหลบัวยังไม่พอกับกำลังการผลิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น