แล้งนี้รับมือด้วยการปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง
http://archive.mfu.ac.th/nremc/gallery/แกล้งข้าว.pdf
http://www.clinictech.most.go.th/online/filemanager/fileclinic/F1/files/Supachai_Document.pdf
http://water.rid.go.th/waterm/manager/2-Handbook%20AWD.pdf
http://www.clinictech.most.go.th/online/filemanager/fileclinic/F1/files/Supachai_Document.pdf
http://water.rid.go.th/waterm/manager/2-Handbook%20AWD.pdf
ชาวนาวันหยุด แกล้งข้าว@Japan-5
เครื่องกำจัดหญ้าในร่องนา ห่านดิน อีหอบ ราคา 1,900 บาท
高出力の草刈機に水田除草用アタッチメント「アイガモン」を装着してみた
水田中耕除草機を紹介する
草取り効果抜群! 「人力 水田用株ぎわ除草機」
ゼノア 水田除草機 ウデキンミニエース TG-E 使ってみました
水田除草機 WEEDMAN 除草能力
Polet Quality Products “Weedroller - Bineuse à cage”
การทำการเกษตรนั้นนิสัยอย่างหนึ่งที่เกษตกรจะต้องมีนั้นก็คือการเรียนรู้และเปิดรับเทคนิคและวิธีการรวมถึงนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การทำการเกษตรมีต้นทุนที่ถูกลง ได้ผลผลิตที่มากขึ้นผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าในปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังก้าวเข้าสู่หน้าร้อนเพียงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมรณรงค์ให้เกษตรกรที่ทำนาช่วยกันประหยัดน้ำจนกกระทั่งมีการสั่งห้ามให้เกษตรบ้างพื้นที่ให้หยุดทำนา เพราะรัฐบาลเกรงว่าจะมีน้ำไม่พอให้เกษตกรที่ทำนา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการนำเสนอวิธีที่จะช่วยให้การปลูก ข้าว ใช้น้ำน้อยลงแต่ยังคงประสิทธิภาพให้กับผลผลิต นอกจากนั้นการทำนาแบบเปียกสลับแห้งนี้ยังช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าวได้อีกด้วย
หน้าแล้งที่จะมาถึงเกษตกรที่ปลูกข้าวต้องเตรียมรับมือ
วิธีการทำนาเปียกสลับแห้ง
การ ทำนาเปียกสลับแห้ง หรือการแกล้งข้าวนั้นจะมีผลดีก็คือเป็นการกระตุ้นให้รากของข้าวมีความแข็งแรงขึ้น ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตโดยตรง โดยการปลูกข้าวแบบนี้สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการรู้ระดับน้ำของพื้นนาว่าอยู่ในระดับไหนด้วยการใช้ท่อน้ำขนาดประมาณ 6 นิ้วตัดให้ยาวพอประมาณ และเจาะรูเรียงกันโดนแต่ละรู้จะห่างกัน 1 เซนติเมตรเพื่อให้เรารู้ระดับน้ำในพื้นนา
อีกหนึ่งเทคนิคในการปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อยเรืยกว่าการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง
1.โดยในตอนแรกเราจะทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงนาให้ระดับน้ำในแปลงนาอยู่ประมาณ 5 เซนติเมตร โดยระดับนี้จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ปักดำจนกระทั่งข้าวอยู่ในช่วงตั้งท้อง
2. หลังจากนั้นก็ทำการปล่อยน้ำเข้าไปในท้องนาอีกให้น้ำอยู่ในระดับ 7 ถึง 10 เซนติเมตร โดยจะปล่อยให้ขาดน้ำครั้งแรกในช่วงที่ลำต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตซึ่งระยะเวลาในการปล่อยให้น้ำแห้งนั้นจะอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์หรือจนกว่าดินในพื้นท้องนานั้นจะแตกแยกออกจากกันซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าพื้นดินขาดน้ำ ในช่วงนี้เกษตรกรจะทำการใส่ปุ๋ยปละบำรุงดินก่อนที่จะปล่อยน้ำเข้านาอีกครั้งหนึ่ง
การทำนาแบบเปียกสลับแห้งเรียกอีกอย่างว่าการแกล้งข้าว
3. หลังจากปล่อยน้ำเข้านาแล้วจะทำการปล่อยน้ำอีกครั้งในช่วงที่ต้อนข้าวกำลังแตกก่อสูงสุดซึ่งเป็นการปล่อยให้ข้าวขาดน้ำเป็นครั้งที่สอง
ระดับน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการปลูกข้าวแบบใหม่นี้
วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรได้สูงถึง 1200 กิโลกรัมต่อไร่และช่วยให้เกษตรกรลดการใช้น้ำจากเดิมอยู่ที่ 28 เปอร์เซนต์ และที่สำคัญที่สุดช่วยลดต้นทุนในการทำนา อาทิ ปุ๋ย การใช้สารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิงในการดูดน้ำเข้านาได้สูงถึง 2000 บาทต่อไร่ โดยการ ทำนาเปียกสลับแห้ง นั้นสามารถทำได้ทุกพื้นที่ แต่ส่วนมากแล้วจะเน้นไปในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ หรือการทำนาปรัง ซึ่งการทำนาวิธีนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีการลุดต้นทุนและสารเคมีลง ทำให้สุขภาพของเกษตรกรก็ดีขึ้นด้วยนั้นเอง
การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งจะประหยัดน้ำและยังช่วยหใผลผลิตมีคุณภาพอีกด้วย
การปลูกข้าวแบบใหม่นี้ทำไม่ยากเพียงแต่เปิดใจและลองทำดู
การจัดการน้ำโดยการทำนาในระบบผลิตข้าว “เปียกสลับ แห้ง แกล้งข้าว"
การจัดการน้ำโดยการทำนาในระบบผลิตข้าว “เปียกสลับ แห้ง แกล้งข้าว"
การทำนาในระบบผลิตข้าวเปียกสลับ แห้ง หรือ การแกล้งข้าว คือการปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรงส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต
เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกของเกษตรกร ในยุคที่ประเทศไทยกำลังประสบการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
โดยการทำนาแบบเปียกสลับแห้งนอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำแล้ว
ยังช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยใช้สารเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวลดลง ราว 40%
รวมทั้งยังทำให้คุณภาพของข้าวดีขึ้น เพิ่มปริมาณผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 1,200 กิโลกรัมอีกด้วย
วิธีการจัดการน้ำแบบเปียก สลับแห้ง