เครื่องวัดความชื้นในดิน
การวัดความชื้นในดิน
เป็นการวัดปริมาณของน้ำที่กระจายอยู่ตามช่องระหว่างเม็ดดิน
ซึ่งสามารถวัดความชื้นในดินได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
วิธีการวัด หรือการแสดงค่าโดยเครื่องมือที่ใช้วัดความชื้นดิน
การแสดงปริมาณความชื้นดินที่นิยมทั่วไป มี 3 วิธี
soil-meter-3in1-เครื่องวัด-ph-แสงและความชื้นในดิน
1) ปริมาณความชื้นดินโดยน้ำหนัก เป็นค่าเปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักของความชื้นดินกับน้ำหนักของดินอบแห้ง หน่วยวัดอาจแสดงสัดส่วนของน้ำหนักเป็นกรัมต่อกรัม หรือแสดงเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก (% by weight) ก็ได้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการหาค่าความชื้นดิน
2) ปริมาณความชื้นดินโดยปริมาตร เป็นปริมาณความชื้นดินที่เปรียบเทียบระหว่างปริมาตรของความชื้นดินกับปริมาตรดิน หน่วยวัดอาจแสดงเป็น เช่น มิลลิลิตร/มิลลิลิตร หรือ ร้อยละโดยปริมาตร (% by volume) ก็ได้
3) ปริมาณความชื้นดินเป็นความสูงของน้ำ
เป็นการคำนวณจากสัดส่วนหรือร้อยละของความชื้นดินโดยปริมาตรหรือน้ำหนัก
โดยจะต้องระบุความลึกของดิน
มีหน่วยเช่นเดียวกับหน่วยความสูงของดินที่ใช้ในการคำนวณ เช่น ซม. มิลลิเมตร หรือ
นิ้ว เช่น ความชื้นของน้ำในดินที่ตลอดความลึก 50 เซนติเมตร
จะมีความสูงเท่ากับ 13 เซนติเมตร เมื่อดินมีปริมาณความชื้น 20%
และมีค่าความหนาแน่นรวมของดินเท่ากับ 1.3 กรัมต่อมิลลิลิตร
มักใช้ในการคำนวณปริมาณน้ำเพื่อการชลประทาน
สำหรับค่าความชื้นที่มีค่า 0-700 หรือมากกว่า นั้น อาจเป็นค่าที่อ่านได้จากการวัดความชื้นดินแบบทางอ้อม โดยใช้เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์วัดการต้านทานไฟฟ้าหรือการนำไฟฟ้าของน้ำในดิน แล้วแปลงเป็นค่าของปริมาณของน้ำในดิน มีหน่วยวัดเป็นมิลลิโวลล์ (mv) หรืออาจอ่านค่าเป็นร้อยละโดยปริมาตร ได้เลย แล้วแต่ชนิดหรือรุ่นของเครื่องมือดินจะมีปริมาณความชื้นน้อยที่สุดเมื่อดินแห้งสนิท และมีปริมาณความชื้นมากที่สุดเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำหรือมีน้ำอยู่เต็มช่องว่างในดิน โดยดินที่มีเนื้อดินเป็นทรายจัดจะมีค่าความชื้นดินเมื่ออิ่มตัวด้วยน้ำ (ค่าสูงสุด) น้อยกว่าดินเหนียวมาก เนื่องจากมีปริมาณช่องว่างในดินน้อยกว่า ดังนั้นหากต้องการเปรียบเทียบว่าดินมีความชื้นมากหรือน้อย ควรเปรียบเทียบจากค่าน้อยสุด-ค่าสูงสุดโดยวิธีการวัดหรือหน่วยวัดเดียวกัน เกณฑ์การจำแนกก็จะมีหลากหลาย ดินมีระดับความชื้นดีหรือไม่ดีนั้น ต้องดูจากความต้องการใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น