อภิชาติ วัฒนกุล ประธานสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย ได้นำวางรูซ่ามาผสมกับกวางป่า ได้ลูกผสมพันธุ์ใหม่ออกมาที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อพันธุ์ สามารถเลี้ยงได้ถูกต้องตามกฎหมาย และเลี้ยงได้ทุกภาคของประเทศ เพื่อให้การทำฟาร์มเลี้ยงกวางสอดคล้องกับ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ห้ามนำกวางป่า หรือกวางม้า (แซมบาร์) มาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ โดยกวางลูกผสมพันธุ์ใหม่นี้ ตัวเมียอายุ 11-12 เดือน สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว ส่วนตัวผู้อายุ 2 ปี จึงสามารถตัดเขาอ่อนขายได้แต่หากจำหน่าย ลูกกวางเพศเมีย อายุ 8-12 เดือน ราคาจะตกตัวละ 1 หมื่นบาท แต่ถ้าเป็นเพศผู้ตัวละ 8,000 บาท ทางสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย พร้อมที่จะเป็นสหกรณ์ที่เข้มแข็งพร้อมนำผลิตภัณฑ์คุณภาพสู่สาธารณชน ด้วยความเป็นธรรม การเลี้ยงกวางเชิงพาณิชย์ อวัยวะทุกส่วนของกวางสามารถขายได้หมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หนัง เขากวางอ่อน หาง เอ็น โดยมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกวาง อาทิ เขากวางอ่อนตากแห้ง แคปซูลเขากวางอ่อน เอ็นกวางตากแห้ง เขากวางอ่อนสด เขากวางอ่อนอบแห้ง เขากวางอ่อนอบแห้งสไลด์ เขากวางอ่อนบดเป็นผลบรรจุแคปซูล เขากวางอ่อนผสมสมุนไพรสำหรับดองเหล้า ข่าวจากไทยรัฐ 18 กันยายน 2557
กวางลูกผสม ม้า+รูซ่า
กวางลูกผสม ม้า+รูซ่า
กวางลูกผสม ม้า รูซ่า เกิดจากการผสมพันธ์กันระหว่ างกวางม้า หรือกวางป่า กับกวางรูซ่า ซึ่งลูกกวางที่ได้จะมีลักษณ ะลำตัวใหญ่กว่า กวางรูซ่า แต่ยังเล็กกว่ากวางม้า สีขนจะเข้มคล้ายกวางม้า ลักษณะนิสัยจะเชื่อง ไม่ตื่นตกใจง่าย ให้ผลผลิตเขาอ่อนใหญ่กว่ากว างรูซ่า
เป็นสายพันธุ์ที่ฟาร์มกวางสวนป่าหนองเขื่อนพัฒนาขึ้นมา ได้สายพันธุ์ที่ดี แข็งแรง เหมาะกับภูมิศาสตร์ประเทศไทย/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1.เลี้ยงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากกรมอุทยาน
2.มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเมื่อเทียบกับรูซ่าแท้
3.นิสัยเชื่องไม่ตื่นตกใจง่าย
4.ม้ารูซ่ามีขนาดใหญ่กว่ารูซ่าแท้
5.น้ำหนักเขาอ่อนมากกว่ากวางรูซ่า
2.มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเมื่อเทียบกับรูซ่าแท้
3.นิสัยเชื่องไม่ตื่นตกใจง่าย
4.ม้ารูซ่ามีขนาดใหญ่กว่ารูซ่าแท้
5.น้ำหนักเขาอ่อนมากกว่ากวางรูซ่า
สนใจซื้อพ่อแม่พันธุ์และลูกกวางติดต่อฟาร์มกวางสวนป่าหนองเขื่อน ผู้จัดการโครงการ 081-877-4320
วันที่: 2002-07-12
กวางไทย สัตว์เศรษฐกิจ ดีมานด์แท้หรือเทียม
กวางสัตว์ป่าสวยงาม ที่เคยเป็นสัตว์เลี้ยง ประดับบารมี "สมบูรณ์ อึ้งตระกูล" ทายาทเจ้าสัว ช่างทำทอง เมืองกาญจนบุรี แต่เมื่อเศรษฐกิจทรุด สัตว์ป่าเลี้ยง ในบ้าน ก็กลับกลายเป็น สัตว์เศรษฐกิจด้วย "เขากวาง" มีมูลค่าถึงคู่ละ 1 หมื่นบาท บทเรียน ของการเลี้ยง สัตว์เศรษฐกิจ ยังคงทิ้งร่องรอย เอาไว้ ให้เกษตรกร เจ็บปวด กระทั่งถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของนากหญ้า ที่ท้ายที่สุดแล้ว ก็เป็นเพียง กลเม็ด แชร์ลูกโซ่ ที่เก็งกำไร ในช่วงสั้นๆ หรือแม้กระทั่ง ที่เป็น คำถาม ในปัจจุบัน อย่างนกกระจอกเทศ ดังนั้น การเหลียวหลัง ดูดีมานด์ หรือความต้องการ ในตลาด ที่แท้จริง เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย
"สมบูรณ์ อึ้งตระกูล" เจ้าของฟาร์มเลี้ยงกวาง ขนาดย่อม เขามองว่ากวาง อาจจะเป็น สัตว์เศรษฐกิจ ตัวใหม่ ให้กับเมืองไทยได้ เพราะปริมาณ การสั่งซื้อ ของตลาดยังคงมีอยู่มาก และประเทศไทย ยังต้องนำเข้า เขากวางอ่อน เพื่อการบริโภค จากต่างประเทศทุกๆ ปี
"ความต้องการ เขากวางอ่อนในตลาด ยังมีอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ การส่งออกเขากวางอ่อน ในทวีปเอเชีย เช่น เกาหลี ฮ่องกง จีน และญี่ปุ่น เพราะคนจากประเทศ เหล่านี้มีความเชื่อ ในสรรพคุณ ของมัน ที่สำคัญ คือคนไทย เองก็เริ่ม ที่จะตื่นตัวบริโภค เพื่อเป็นยาบำรุงร่างกาย เมื่อตลาด ยังเติบโต และขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ปัญหาสินค้า จะล้นตลาด จึงยังไม่เป็นเรื่อง ที่เรากังวลตอนนี้" นอกจากการเลี้ยง เพื่อขายแล้ว สมบูรณ์ยังกล่าวด้วย ความภาคภูมิใจว่า เขายินดี ที่เป็นส่วนหนึ่ง ของคน ที่อนุรักษ์พันธุ์กวาง ในประเทศไทย
"กวางเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่นับวันจะหายากขึ้น เมื่อผมเพาะ และขยายได้ เราก็ส่งขายไป ยังจังหวัดอื่น ให้เขาเอาไปทำฟาร์มต่อ ประชากรกวาง ก็จะมีมากขึ้น ซึ่งผมมองว่า มันเป็นเรื่อง ที่ดีนะครับ เพราะลูกหลานเรา ทุกวันนี้ จะดูกวาง ต้องไปดู ที่สวนสัตว์ บางทีต้อง ดูเอาจากรูปภาพ หรือกวางรูปปั้น เราเลี้ยงมัน ไม่ได้ฆ่า เพื่อจะเอาเนื้อ แต่เรายังเลี้ยง ให้เป็นที่ศึกษา หาความรู้ ในการเลี้ยงกวาง และถ่ายทอด ให้คนอื่น ได้รู้เพิ่มอีก"
ทุกวันนี้ ฟาร์มกวางแซมบ้าเดียร์ เป็นสถานที่ ทัศนศึกษาแห่งหนึ่ง ของจังหวัด กาญจนบุรี เด็กๆ จากหลายโรงเรียน มาดูชีวิต ความเป็นอยู่ และสัมผัส กับกวางไทย ที่พวกเขา ไม่เคยได้เห็น และเรียนรู้ ที่จะรักสัตว์ และดูแลอย่างนักอนุรักษ์ ซึ่งตาราง การนัดหมาย จากหลายโรงเรียน ทำให้สมบูรณ์ ต้องวิ่งวุ่น อยู่กับการ จัดเตรียมสถานที่ การสาธิต การให้อาหารกวาง และการอธิบาย เรื่องราว ของกวาง ให้กับเด็กๆ ที่มาเยี่ยมเยือน แทบจะทุกวัน
"สักวันหนึ่ง กวางอาจจะกลาย เป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพราะผลตอบแทน ที่ได้รับ กับต้นทุน การเลี้ยงดู หักลบกันแล้ว จะเห็นว่ารายได้ ค่อนข้างดี คนคง จะหันมาเลี้ยง กันเยอะขึ้น แม้ว่าต้นทุน ของพ่อและแม่พันธุ์ จะมีราคา ค่อนข้างสูงราวๆ เกือบ 7 หมื่นบาทต่อตัว แต่เราต้องไม่ลืมว่า อายุ ของมันยาว แล้วเรา ก็สามารถตัดเขา มันขายได้ตลอดเวลา จนกว่ามัน จะตาย"
อย่างไรก็ตาม ราคาของพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ มีแนวโน้ม ที่จะต่ำลงได้ หากมีปริมาณฟาร์มกวาง เกิดใน ตลาดมากขึ้น นาทีนี้ จึงเรียกได้ว่า เป็นเวลาโกยกำไร ของผู้ริเริ่ม ตอบสนองดีมานด์ ในตลาด ก่อนใคร
บายไลน์ ... ดวงกมล วงศ์วรจรรย์
http://www.nationejobs.com/content/career/richrisk/template.php?conno=350
พันธุ์กวางที่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
การทำฟาร์มกวางในประเทศไทย มีข้อจำกัดในการห้ามเลี้ยงกวางป่า เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติให้ทำการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าได้ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อป้องกันควบคุมการลักลอบจับสัตว์ป่าเพื่อการซื้อขาย พันธุ์กวางที่เลี้ยงทั่วไป ได้แก่
กวางป่า หรือกวางม้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และไทย เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม
เนื้อทราย มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ใน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย มีขนาดเล็ก-กลาง
กลางดาว เป็นกวางที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี อุปนิสัยค่อนข้างเชื่องกว่าพันธุ์อื่นๆ
กวางรูซ่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขนาดกลาง สีขนเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง
กวางซีก้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เป็นกวางที่มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล นิยมเลี้ยงเพื่อตัดเขากวางอ่อน
กวางฟอลโล มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ลำตัวสีเทา-น้ำตาล มีจุดสีขาวหางยาว
กวางแดง มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ขนสีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่
ตารางที่ 3 ชนิดพันธุ์กวางที่สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
กวางป่า หรือกวางม้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และไทย เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม
เนื้อทราย มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ใน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย มีขนาดเล็ก-กลาง
กลางดาว เป็นกวางที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี อุปนิสัยค่อนข้างเชื่องกว่าพันธุ์อื่นๆ
กวางรูซ่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขนาดกลาง สีขนเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง
กวางซีก้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เป็นกวางที่มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล นิยมเลี้ยงเพื่อตัดเขากวางอ่อน
กวางฟอลโล มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ลำตัวสีเทา-น้ำตาล มีจุดสีขาวหางยาว
กวางแดง มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ขนสีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่
ตารางที่ 3 ชนิดพันธุ์กวางที่สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น