วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กวาง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ กวางรูซ่า

อภิชาติ วัฒนกุล ประธานสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย ได้นำวางรูซ่ามาผสมกับกวางป่า ได้ลูกผสมพันธุ์ใหม่ออกมาที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อพันธุ์ สามารถเลี้ยงได้ถูกต้องตามกฎหมาย และเลี้ยงได้ทุกภาคของประเทศ เพื่อให้การทำฟาร์มเลี้ยงกวางสอดคล้องกับ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535  ห้ามนำกวางป่า หรือกวางม้า (แซมบาร์) มาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ โดยกวางลูกผสมพันธุ์ใหม่นี้ ตัวเมียอายุ 11-12 เดือน สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว ส่วนตัวผู้อายุ 2 ปี จึงสามารถตัดเขาอ่อนขายได้แต่หากจำหน่าย ลูกกวางเพศเมีย อายุ 8-12 เดือน ราคาจะตกตัวละ 1 หมื่นบาท แต่ถ้าเป็นเพศผู้ตัวละ 8,000 บาท ทางสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย พร้อมที่จะเป็นสหกรณ์ที่เข้มแข็งพร้อมนำผลิตภัณฑ์คุณภาพสู่สาธารณชน ด้วยความเป็นธรรม การเลี้ยงกวางเชิงพาณิชย์ อวัยวะทุกส่วนของกวางสามารถขายได้หมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หนัง เขากวางอ่อน หาง เอ็น โดยมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกวาง อาทิ เขากวางอ่อนตากแห้ง แคปซูลเขากวางอ่อน เอ็นกวางตากแห้ง เขากวางอ่อนสด เขากวางอ่อนอบแห้ง เขากวางอ่อนอบแห้งสไลด์ เขากวางอ่อนบดเป็นผลบรรจุแคปซูล เขากวางอ่อนผสมสมุนไพรสำหรับดองเหล้า ข่าวจากไทยรัฐ 18 กันยายน 2557

กวางลูกผสม ม้า+รูซ่า
กวางลูกผสม ม้า รูซ่า เกิดจากการผสมพันธ์กันระหว่างกวางม้า หรือกวางป่า กับกวางรูซ่า ซึ่งลูกกวางที่ได้จะมีลักษณะลำตัวใหญ่กว่า กวางรูซ่า แต่ยังเล็กกว่ากวางม้า สีขนจะเข้มคล้ายกวางม้า ลักษณะนิสัยจะเชื่อง ไม่ตื่นตกใจง่าย ให้ผลผลิตเขาอ่อนใหญ่กว่ากวางรูซ่า

เป็นสายพันธุ์ที่ฟาร์มกวางสวนป่าหนองเขื่อนพัฒนาขึ้นมา ได้สายพันธุ์ที่ดี แข็งแรง เหมาะกับภูมิศาสตร์ประเทศไทย/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1.เลี้ยงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากกรมอุทยาน
2.มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเมื่อเทียบกับรูซ่าแท้
3.นิสัยเชื่องไม่ตื่นตกใจง่าย
4.ม้ารูซ่ามีขนาดใหญ่กว่ารูซ่าแท้
5.น้ำหนักเขาอ่อนมากกว่ากวางรูซ่า
สนใจซื้อพ่อแม่พันธุ์และลูกกวางติดต่อฟาร์มกวางสวนป่าหนองเขื่อน ผู้จัดการโครงการ 081-877-4320

วันที่: 2002-07-12
กวางไทย สัตว์เศรษฐกิจ ดีมานด์แท้หรือเทียม
กวางสัตว์ป่าสวยงาม ที่เคยเป็นสัตว์เลี้ยง ประดับบารมี "สมบูรณ์ อึ้งตระกูล" ทายาทเจ้าสัว ช่างทำทอง เมืองกาญจนบุรี แต่เมื่อเศรษฐกิจทรุด สัตว์ป่าเลี้ยง ในบ้าน ก็กลับกลายเป็น สัตว์เศรษฐกิจด้วย "เขากวาง" มีมูลค่าถึงคู่ละ 1 หมื่นบาท บทเรียน ของการเลี้ยง สัตว์เศรษฐกิจ ยังคงทิ้งร่องรอย เอาไว้ ให้เกษตรกร เจ็บปวด กระทั่งถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของนากหญ้า ที่ท้ายที่สุดแล้ว ก็เป็นเพียง กลเม็ด แชร์ลูกโซ่ ที่เก็งกำไร ในช่วงสั้นๆ หรือแม้กระทั่ง ที่เป็น คำถาม ในปัจจุบัน อย่างนกกระจอกเทศ ดังนั้น การเหลียวหลัง ดูดีมานด์ หรือความต้องการ ในตลาด ที่แท้จริง เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย
"สมบูรณ์ อึ้งตระกูล" เจ้าของฟาร์มเลี้ยงกวาง ขนาดย่อม เขามองว่ากวาง อาจจะเป็น สัตว์เศรษฐกิจ ตัวใหม่ ให้กับเมืองไทยได้ เพราะปริมาณ การสั่งซื้อ ของตลาดยังคงมีอยู่มาก และประเทศไทย ยังต้องนำเข้า เขากวางอ่อน เพื่อการบริโภค จากต่างประเทศทุกๆ ปี
"ความต้องการ เขากวางอ่อนในตลาด ยังมีอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ การส่งออกเขากวางอ่อน ในทวีปเอเชีย เช่น เกาหลี ฮ่องกง จีน และญี่ปุ่น เพราะคนจากประเทศ เหล่านี้มีความเชื่อ ในสรรพคุณ ของมัน ที่สำคัญ คือคนไทย เองก็เริ่ม ที่จะตื่นตัวบริโภค เพื่อเป็นยาบำรุงร่างกาย เมื่อตลาด ยังเติบโต และขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ปัญหาสินค้า จะล้นตลาด จึงยังไม่เป็นเรื่อง ที่เรากังวลตอนนี้" นอกจากการเลี้ยง เพื่อขายแล้ว สมบูรณ์ยังกล่าวด้วย ความภาคภูมิใจว่า เขายินดี ที่เป็นส่วนหนึ่ง ของคน ที่อนุรักษ์พันธุ์กวาง ในประเทศไทย
"กวางเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่นับวันจะหายากขึ้น เมื่อผมเพาะ และขยายได้ เราก็ส่งขายไป ยังจังหวัดอื่น ให้เขาเอาไปทำฟาร์มต่อ ประชากรกวาง ก็จะมีมากขึ้น ซึ่งผมมองว่า มันเป็นเรื่อง ที่ดีนะครับ เพราะลูกหลานเรา ทุกวันนี้ จะดูกวาง ต้องไปดู ที่สวนสัตว์ บางทีต้อง ดูเอาจากรูปภาพ หรือกวางรูปปั้น เราเลี้ยงมัน ไม่ได้ฆ่า เพื่อจะเอาเนื้อ แต่เรายังเลี้ยง ให้เป็นที่ศึกษา หาความรู้ ในการเลี้ยงกวาง และถ่ายทอด ให้คนอื่น ได้รู้เพิ่มอีก"
ทุกวันนี้ ฟาร์มกวางแซมบ้าเดียร์ เป็นสถานที่ ทัศนศึกษาแห่งหนึ่ง ของจังหวัด กาญจนบุรี เด็กๆ จากหลายโรงเรียน มาดูชีวิต ความเป็นอยู่ และสัมผัส กับกวางไทย ที่พวกเขา ไม่เคยได้เห็น และเรียนรู้ ที่จะรักสัตว์ และดูแลอย่างนักอนุรักษ์ ซึ่งตาราง การนัดหมาย จากหลายโรงเรียน ทำให้สมบูรณ์ ต้องวิ่งวุ่น อยู่กับการ จัดเตรียมสถานที่ การสาธิต การให้อาหารกวาง และการอธิบาย เรื่องราว ของกวาง ให้กับเด็กๆ ที่มาเยี่ยมเยือน แทบจะทุกวัน
"สักวันหนึ่ง กวางอาจจะกลาย เป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพราะผลตอบแทน ที่ได้รับ กับต้นทุน การเลี้ยงดู หักลบกันแล้ว จะเห็นว่ารายได้ ค่อนข้างดี คนคง จะหันมาเลี้ยง กันเยอะขึ้น แม้ว่าต้นทุน ของพ่อและแม่พันธุ์ จะมีราคา ค่อนข้างสูงราวๆ เกือบ 7 หมื่นบาทต่อตัว แต่เราต้องไม่ลืมว่า อายุ ของมันยาว แล้วเรา ก็สามารถตัดเขา มันขายได้ตลอดเวลา จนกว่ามัน จะตาย"
อย่างไรก็ตาม ราคาของพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ มีแนวโน้ม ที่จะต่ำลงได้ หากมีปริมาณฟาร์มกวาง เกิดใน ตลาดมากขึ้น นาทีนี้ จึงเรียกได้ว่า เป็นเวลาโกยกำไร ของผู้ริเริ่ม ตอบสนองดีมานด์ ในตลาด ก่อนใคร
บายไลน์ ... ดวงกมล วงศ์วรจรรย์
http://www.nationejobs.com/content/career/richrisk/template.php?conno=350

พันธุ์กวางที่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
08 กุมภาพันธ์ 2556
12,959
การทำฟาร์มกวางในประเทศไทย มีข้อจำกัดในการห้ามเลี้ยงกวางป่า เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติให้ทำการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าได้ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อป้องกันควบคุมการลักลอบจับสัตว์ป่าเพื่อการซื้อขาย พันธุ์กวางที่เลี้ยงทั่วไป ได้แก่

กวางป่า หรือกวางม้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และไทย เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม

เนื้อทราย มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ใน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย มีขนาดเล็ก-กลาง

กลางดาว เป็นกวางที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี อุปนิสัยค่อนข้างเชื่องกว่าพันธุ์อื่นๆ

กวางรูซ่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขนาดกลาง สีขนเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง

กวางซีก้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เป็นกวางที่มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล นิยมเลี้ยงเพื่อตัดเขากวางอ่อน

กวางฟอลโล มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ลำตัวสีเทา-น้ำตาล มีจุดสีขาวหางยาว

กวางแดง มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ขนสีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่


ตารางที่ 3 ชนิดพันธุ์กวางที่สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
Animal/3569_1.jpg
ที่มา : Grzimek (1984)
Animal/3569_2.jpg
นอกจากนี้ยังมีกวางมัสค์ (Musk deer, Moschus moschiferus) ที่ประเทศจีนสกัดสารที่มีกลิ่นฉุนจากต่อมบริเวณช่องท้องของกวางตัวผู้ ใช้ทำการผลิตหัวน้ำหอม และกวางในเขตหนาวอื่นๆ เช่น กวางวาปิติ (Wapiti or Elk deer, Cervus canadensis) กวางเรนเดียร์ (Reindeer, Rangifer tarandas) เป็นต้น


ตารางที่ 4 ข้อมูลจำเพาะของกวางพันธุ์ต่างๆ
Animal/3569_3.jpg
ที่มา : Grzimek (1984)
Animal/3569_4.jpg
กวางป่า หรือ กวางม้า "กวางไทย"

ลักษณะทั่วไป
- ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียใต้ ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ภูฎาน ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางส่วนของจีน
- มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
- สีขาวแกมน้ำตาลเข้ม หางค่อนข้างสั้น แต่ใหญ่ หางยาวประมาณ 26-30 ซ.ม. ขนหางด้านล่างมีสีขาว เพศเมียมีสีอ่อนกว่า
- บริเวณหัวตาแต่ละข้างจะมีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ เรียกว่า ต่อมใต้กระบอกตา ใช้ในการผลิตสารที่มีกลิ่นฉุนสำหรับสื่อสารและบอกอาณาเขต จะขยายใหญ่ช่วงฤดูผสมพันธุ์
- เพศผู้อาจมีน้ำหนักถึง 320 กก. แต่ทั่วไปน้ำหนักเฉลี่ย 250 กก. วัดความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหาง 180-200 ซ.ม. ความสูงจากพื้นถึงไหล่ 140-160 ซ.ม.
- เพศเมียอาจมีน้ำหนักถึง 250 กก. เฉลี่ย 155 กก. สูง 120 ซ.ม.

อุปนิสัย
ชอบอยู่สันโดษ โดยเฉพาะตัวผู้ ได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีการรวมฝูงน้อยที่สุด รวมฝูงประมาณ 2-4 ตัว และส่วนใหญ่จะไม่ต่อสู้เพื่อคุมฝูงตัวเมีย อาศัยในป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางคืนและช่วงเช้า เมื่ออากาศร้อนจะหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า และบางครั้งขอบนอนแช่ในปลักเช่นเดียวกับควาย สายพันธุ์ที่พบในไทยเป็นสายพันธุ์ย่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervus unicolor equinus (สวัสดิ์, 2527)

กินใบไม้ ประมาณ 66.6% กินหญ้าประมาณ 20.4% และเป็นพืชตามพื้นดินและลูกไม้ประมาณ 13% (Jac Saxton, 1983) และได้ชื่อว่า สามารถปรับพฤติกรรมการกินได้สูงสุด ทั้งนี้ ขึ้นกับแหล่งอาหารและอาหารที่มี


เนื้อทราย หรือ ตามะแน

ลักษณะทั่วไป
- มีขนาดเล็ก ขนสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลแกมแดง บางตัวอาจจะมีจุดสีขาวบริเวณลำตัว
- มีถิ่นกำเนิดในที่ราบลุ่มของประเทศอินเดีย ปากีสถาน พม่า เนปาล อัสสัม กัมพูชา เวียดนาม และไทย ปัจจุบันประเทศไทยพบยากมากในป่าธรรมชาติ แต่มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ดีในการเลี้ยงขังตามสวนสัตว์ และฟาร์มเอกชนหลายแห่ง
- ค่อนข้างเจ้าเนื้อ อ้วนเตี้ยคล้ายหมู (Hog)
- เพศผู้เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่หัวไหล่ 70 ซ.ม. หนัก 45-50 กก. เพศเมีย มีขนาดเล็กกว่า สูง 61 ซ.ม. และหนัก 30 กก.
- เขา มีเฉพาะตัวผู้ เขาเทียนจะเริ่มงอกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน และผลัดเปลี่ยนเขาทุกปี เขาของเนื้อทรายจะมีข้างละ 3 กิ่ง คล้ายกับเขาของกวางป่า

อุปนิสัย
โดยธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง และตามทุ่งหญ้า เนื้อทรายจะตื่นตกใจง่ายคล้ายกับกวางดาว เวลาวิ่งมักจะก้มหัวต่ำและชอบมุด ไม่ชอบกระโจนหรือกระโดด ถ้าถูกต้อนอยู่ในที่คับแคบ ตัวผุ้ที่มีเขาจะทำร้ายกวางตัวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้

เนื้อทรายสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ระยะตั้งท้องประมาณ 8 เดือน โดยปกติตกลูกครั้งละ 1 ตัว เคยพบอยู่บ่อยครั้งเวลามีลูกอ่อน แม่เนื้อทรายตัวอื่นๆ จะเข้ามาดูแลและแย่งเลี้ยงลูก เนื้อทรายอาจจะผสมพันธุ์กับกวางดาวและละมั่งได้

เนื่องจากเนื้อทรายเป็นกวางที่ชอบมุด ดังนั้น ในการทำรั้วแปลงหญ้าในส่วนที่ติดดิน ควรก่ออิฐหรือตอกหมุดฝังดินยึดรั้วให้แน่น เนื้อทรายไม่ควรเลี้ยงปนกับกวางอื่น เคยมีผู้เลี้ยงเนื้อทรายปนกับกวางป่า ปรากฏว่าพ่อพันธุ์เนื้อทรายจะควบคุมกวางป่าตัวเมียเวลาเป็นสัด ทำให้พ่อกวางป่าไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ แม้เนื้อทรายจะตัวเล็กกว่า แต่วงเขาแคบ ทำให้กวางป่าไม่กล้าเข้าผสมพันธุ์กับแม่กวางที่เป็นสัด
Animal/3569_5.jpg
กวางรูซ่า

ลักษณะทั่วไป
- มีขนาดกลาง ลำตัวสีน้ำตาลเหลือง-น้ำตาลเทา เพศเมียสีอ่อนกว่าเพศผู้
- สูงประมาณ 1.1-1.3 เมตร
- สายพันธุ์ชวารูซ่า น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 120-160 กก. เพศเมีย 65-90 กก.
- สายพันธุ์โมลัคกัน น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 80-100 กก. เพศเมีย 50-60 กก.

อุปนิสัย
- ชอบอยู่เป็นฝูง นิสัยค่อนข้างตื่นตกใจง่าย และจะวิ่งหนี สามารถกระโดยได้สูงถึง 2 เมตร โดยเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
- ช่วงที่เขาแข็ง จะแสดงอาการดุร้าย หวงตัวเมีย จะไม่ให้ตัวผู้อื่นเข้าใกล้ ไล่ขวิดกันจนกว่าจะยอมแพ้หนีไปเอง บางครั้งขวิดกันจนขาหักอาจตายได้

กวางที่จับแยกจากแม่มาเลี้ยงตั้งแต่เล็กอายุไม่เกิน 2 เดือน ค่อนข้างเชื่องและคุ้นเคยกับคนเลี้ยงทั้งเพศผู้และเพศเมีย สามารถปล่อยออกมาเดินเล่นกับคนได้ เมื่อถึงระยะที่เขาแข็งกวางเพศผู้ที่คุ้นเคยกับคนจะดุมาก จะแสดงอาการเดินเข้าหาแบบช้าๆ ขนที่คอจะตั้งชัน ร่องที่ใต้ตาจะเปิดออก ทำริมฝีปากม้วน ฉี่เป็นวงใส่ตัวเอง กระทืบเท้าและทุ่มตัวเข้าใส่ พร้อมที่จะขวิดเมื่อคนเข้าใกล้

ลูกกวางที่จับมาเลี้ยงด้วยนมกระบือมุร่าห์ ถ้าจับมาตั้งแต่เล็กอายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะดูดขวดนมได้เองและกินเก่งมาก กวางอายุ 1-2 เดือน สามารถกินได้ถึง 1.2-1.4 ลิตร/ตัว/วัน


กวางฟอลโล

ลักษณะทั่วไป
- ขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน
- โตเต็มที่สูงประมาณ 75-105 ซ.ม. น้ำหนัก 50-80 กก.
- หน้าสั้น ลำตัวสีน้ำตาลจาง-น้ำตาลสนิม มีจุดขาว บางตัวมีสีขาวตลอดลำตัว ฤดูร้อนลำตัวเป็นสีน้ำตาลมีจุดขาวเห็นเด่นชัด หน้าหนาวลำตัวสีน้ำตาลสนิม-น้ำตาลเทา มีจุดน้อยสีขาวจางๆ

อุปนิสัย
- ชอบอยู่รวมเป็นฝูง
- ค่อนข้างขี้ขลาด ตื่นเต้นได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่น ถ้าเกิดเสียงดังจะวิ่งหนี หรือกระโดด (คล้ายกระต่าย) ไปก่อน แล้วค่อยๆ เดินกลับมาดูอีกครั้ง แต่ถ้าถึงเวลาให้อาหารก็จะเข้าใกล้คน ย้ายฝูงได้ง่าย

กวางเพศผู้
ช่วงที่เขาแข็ง ถ้าเกิดความเครียด เช่น การไล่ต้อนฝูงเข้าไปอยู่ในที่แคบๆ เพื่อทำเบอร์ หรือ ฉีดยา กวางตัวผู้จะหันไปขวิดกันเอง และหันมาทำร้ายกวางตัวเมียและลูกกวาง อาจเกิดความเสียหายได้

กวางเพศเมีย
ระยะคลอดลูก ถ้าเกิดความเครียดจากการไล่ต้อน หรือคนเข้าไปดูลูกเกิดใหม่ จะทำให้แม่กวางไม่ยอมเลี้ยงลูกและทิ้งลูกไปเลย ต้องจับลูกมาเลี้ยง และส่วนใหญ่จะไม่รอดเนื่องจากลูกกวางอ่อนแอมาก

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางฟอลโล
เนื่องจากกวางมีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว ต้องดุแลมากเป็นพิเศษทั้งด้านการให้อาหารข้นที่มีคุณภาพ และอาหารหยาบ ในช่วงหน้าแล้งที่มีแต่หญ้าแห้ง หญ้าหมัก ต้องหาใบไม้สดเสริมเพราะกวางจะทรุดโทรมง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่นๆ ซึ่งจะมีผลต่อการให้ลูกให้ปีต่อไป

ลูกที่เกิดในฤดูผน (พฤษภาคม-มิถุนายน) มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้ลูกกวางมีสภาพอ่อนแอ และเกิดโรคปอดบวมแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้เกิดการสูญเสียมาก จึงต้องกำหนดฤดูผสมพันธุ์เพื่อให้ลูกเกิดในช่วงปลายเดือนกันยายน-ต้นพฤศจิกายน
Animal/3569_6.jpg
กวางแดง

ลักษณะทั่วไป
- มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในยุโรป
- ขนาดเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ หนัก 160 กก. เพศเมีย หนัก 90 กก. สูง 1.2-1.5 เมตร
- ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีขนยาว หน้ายาว

อุปนิสัย
- ชอบอยู่รวมฝูง ไม่ปะปนกับกวางพันธุ์อื่นๆ
- ค่อนข้างเชื่อง โดยเฉพาะเพศเมีย ไม่ค่อยตื่นตกใจ แต่เพศผู้ยังคงตื่นคนอยู่
- เพศเมียจะเป็นตัวนำฝูงเมื่อมีการไล่ต้อน
- ชอบลงแช่น้ำในเวลากลางวัน

เพศผู้
ในช่วงที่มีเขาแข็งจะต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงเพศเมีย ตัวใดชนะก็จะคุมฝูงและไล่ขวิดตัวผู้อื่นๆ ไม่ให้เข้าใกล้บริเวณที่มีตัวเมียอยู่ โดยจะวิ่งวนไปรอบฝูงตัวเมีย
เพศเมีย

ในช่วงแรกที่นำเข้ามาใหม่ๆ กวางจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ไม่ดีนัก ทำให้ลูกกวางที่เกิดมาอ่อนแอตายเป็นจำนวนมาก แม่กวางจะหวงลูกและซ่อนลูกไว้ใต้พุ่มไม้ ถ้ามีคนไปรบกวนหรือจับตัวลูกกวาง แม่จะไม่ยอมรับลูกเลย บางครั้งจะให้หัวตบ กัด เตะ และกันไม่ให้เข้าฝูง
ลูกกวาง

ช่วงระยะหย่านมจะต้องมีการศึกษาระยะที่เหมาะสมในการหย่านม เนื่องจากลูกกวางเมื่อหย่านมใหม่ๆ จะร้องเรียกแม่อยู่ตลอดเวลาและเดินวนรอบแปลงหญ้าตลอดคืน ทำให้ลูกกวางเหนื่อยตายได้

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางแดง
เนื่องจากเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว และตัวใหญ่จึงค่อนข้างหอบง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่นๆ เมื่อมีการไล่ต้อนเพื่อย้ายแปลง ถ้าไม่สามารถย้ายได้ในการไล่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง จะต้องปล่อยให้กวางหยุดพักแล้วจึงไล่ใหม่ ทำให้เสียเวลาในการไล่ต้อน

กวางซีก้า (กวางญี่ปุ่น)

ลักษณะทั่วไป
- มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม
- มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ 70-110 กก. เพศเมีย 50-60 กก.
- ประเทศจีน เลี้ยงเพื่อผลิตเขากวางอ่อน เขากวาง มีข้างละ 4 กิ่ง น้ำหนักเขาอ่อน 0.5-1 กก. ต่อคู่ ในร้ายขายยาจีน (เยาวราช) จำหน่ายเขากวางอ่อนอบแห้ง ส่วนใหญ่เป็นเขากวางซีก้า

อุปนิสัย
มีความสามารถในการกินอาหารได้หลายชนิด ทั้งหญ้าและใบไม้ เมื่อโตเต็มที่จะกินหญ้าสดประมาณ 10-15 กก./วัน สามารถรวมฝูงได้ดี (กวางซีก้าที่มีขายในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์เวียดนาม ซึ่งถูกจับมาเลี้ยงแบบขังนานกว่า 100 ปีแล้ว จึงเป็นกวางที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเลี้ยงแบบขังคอกได้ดี 4-8 ตารางเมตร/ตัว)

กวางลูกผสมแซมบ้า-รูซ่า (Sambar-Rusa Crossbred)

ลักษณะทั่วไป
เป็นกวางขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากเป็นลูกผสมระหว่างกวางป่าไทยกับกวางรูซ่า ลักษณะคล้ายทั้งกวางแซมบ้าและกวางรูซ่า
อุปนิสัย

ชอบอยู่รวมฝูง ไม่ปราดเปรียวมากนักเนื่องจากตัวขนาดใหญ่ ถ้าตื่นตกใจจะร้องเสียงดังแล้ววิ่งหนี ชอบลงนอนแช่ปลักโคลน ช่วงเขาแข็งจะค่อนข้างดุ จะยืนจ้องและใช้เท้ากระทืบพื้นขู่ เช่นเดียวกับตัวเมียเวลาหวงลูก

ลูกกวางที่จับมาเลี้ยงจะเลี้ยงยากเนื่องจากไม่ยอมดูดนมเอง ต้องบังคับโดยใช้นิ้วแหย่เข้าไปในปาก แล้วป้อนนมเข้าไป และใช้เวลาในการป้อนนมนาน
https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=3569&s=tblanimal

เลี้ยงกวางเป็นสัตว์เศรษฐกิจ พร้อมตัดเขาอ่อนกวางขาย เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ดี

ปัจจุบัน กระแสการเลี้ยงกวางเชิงพาณิชย์มีเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้เลี้ยงไม่ต้องการเพียงแค่ขายหนัง กับเนื้อที่นำมาใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่การนำเขากวางอ่อนมาแปรรูปด้วยการหมักในแอลกอฮอล์กับการผลิตเป็นเม็ดแคปซูลยังได้รับความสนใจในกลุ่มผู้รักสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากพบว่าเขากวางอ่อนอุดมด้วยแร่ธาตุ วิตามิน แคลเซียม ฮอร์โมน และกรดที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ช่วยในด้านการบำรุงร่างกาย รวมถึงยังสามารถรักษาอาการป่วยบางชนิดได้ จึงทำให้สามารถตอบโจทย์ตลาดลูกค้าในกลุ่มนี้ได้อย่างตรงเป้า





นายสัตวแพทย์วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร

นายสัตวแพทย์วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร กล่าวถึงบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ด้วยการศึกษาค้นคว้าวิจัยทดลองงานพัฒนาสัตว์การเกษตรที่เหมาะสมแก่ท้องถิ่น และนำออกเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติ พัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิต
คุณหมอวิศุทธิ์ เผยว่า ที่ผ่านมามีชาวบ้านออกล่ากวางป่าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นอาหาร แล้วยังนำเขากวางไปปรุงเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศตามความเชื่อโบราณ ดังนั้น หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปนอกจากจะเป็นการทำผิดกฎหมายแล้ว อีกไม่นานประชากรกวางในป่าคงไม่เหลือแน่นอน
ขณะเดียวกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไปสอดคล้องกับภารกิจของศูนย์เพื่อหาทางช่วยให้ชาวบ้านมีกวางไว้เลี้ยงในครัวเรือนด้วยราคาไม่แพง เพื่อนำมาปรุงอาหารหรือส่งขายเนื้อ พร้อมไปกับยังได้รับการถ่ายทอดความรู้ในกระบวนการแปรรูปเขากวางอ่อนเชิงพาณิชย์ด้วย
คุณหมอวิศุทธิ์ บอกว่า กวางที่เลี้ยงอยู่เป็นพันธุ์รูซ่าจากต่างประเทศ ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ให้การสนับสนุนนำมาเลี้ยงสาธิต เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเลี้ยงกวางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาหาความคุ้มทุนในการเลี้ยง เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่มีความพร้อมด้านทุนทรัพย์แต่มีพื้นที่จำกัด





สภาพภายในคอกเลี้ยงกวางแบบผสมผสาน

กวางพันธุ์นี้มีจุดเด่นของเนื้อกวางมีไขมันปริมาณค่อนข้างต่ำและมีไขมันประเภทอิ่มตัว คอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือดน้อยมาก ขณะเดียวกันยังพบว่า กรดไขมันในเนื้อกวางที่จำเป็นต่อร่างกายมีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูงเหมาะกับการนำมาเลี้ยงบริโภคเชิงพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการทดลองเลี้ยงมาเป็นเวลา 2 ปี กวางรูซ่าสามารถให้ลูกได้ปีละ 1 ตัว และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ ทางศูนย์ได้เลี้ยงกวางพันธุ์รูซ่าร่วมกับกวางม้าของไทย แล้วได้มีการนำมาผสมพันธุ์เพื่อจะได้สายพันธุ์ไทย-เทศเกิดขึ้น ทำให้เลี้ยงได้ง่ายแบบไทยๆ แล้วมีขนาดใหญ่แบบกวางเทศ พร้อมกับได้เขากวางที่มีคุณภาพอีกด้วย
ในปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานมีแม่พันธุ์กวางจำนวน 60 ตัว และพ่อพันธุ์จำนวน 40 ตัว กวางในศูนย์ภูพานทุกตัวถูกเลี้ยงในแบบธรรมชาติจากพืช ใบไม้ และหญ้าที่ล้วนมีแต่ความสะอาด ไม่มีปนเปื้อนสารเคมี และน้ำที่ใช้เลี้ยงกวางถูกส่งมาจากบนภูเขา จึงถือว่าเป็นการเลี้ยงกวางอย่างถูกต้อง ไม่ต้องเลี้ยงให้หรูหรา ขณะเดียวกัน ได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านนำไปเลี้ยงพร้อมแนะนำการเลี้ยงที่ถูกต้องแบบประหยัดต้นทุนต่ำแล้วมีคุณภาพผลผลิตด้วย





คุณอุบล บุญศร เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์

คุณอุบล บุญศร เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ บอกว่า สัดส่วนตัวผู้/เมีย ในการใช้ผสมพันธุ์ คือตัวผู้ 1 ตัว กับตัวเมียจำนวน 15-20 ตัว หลังจากนั้น ลูกที่เลี้ยงได้สัก 2 ปี จึงนำมาใช้ผสมพันธุ์ ทั้งนี้ พ่อพันธุ์ที่ใช้ผสมกับแม่พันธุ์จะต้องใช้วิธีสลับฝูงไม่ให้ซ้ำกัน จากนั้นจึงค่อยคัดตัวผู้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดต่อไป





ใช้สังกะสีเก่าทั้งหมด

ทางด้านคอกที่ใช้เลี้ยงมีลักษณะคอกรวมทั้งสายพันธุ์ อายุ และเพศ เพื่อต้องการให้กวางทุกตัวมีความสมบูรณ์ ทั้งภายในคอกเลี้ยงจะมีรางน้ำ รางอาหารไว้ให้กวางกินอย่างพอเพียง อาหารหลักของกวางคือใบไม้และหญ้า ส่วนอาหารข้นมักจะให้ในช่วงหน้าแล้งที่ขาดแคลนพืช อย่างไรก็ตาม ข้อดีของกวางรูซ่าคือเลี้ยงง่าย ไม่มีโรคร้าย

ตัดเขาอ่อนกวาง เพิ่มช่องทางสร้างรายได้
นอกจากชาวบ้านจะเลี้ยงกวางเพื่อใช้บริโภคหรือขายเป็นรายได้แล้ว อีกช่องทางของการสร้างรายได้คือการตัดเขาอ่อนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นยาบำรุงร่างกาย
คุณหมอวิศุทธิ์ เล่าว่า แต่เดิมชาวบ้านมักล่ากวางป่าแล้วตัดเขาไปดองสุราใช้ดื่มเพื่อเพิ่มพลังทางเพศ โดยใช้วิธีเดิมแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน พฤติกรรมเช่นนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อความอยู่รอด ยังรวมถึงจำนวนประชากรกวางป่าจะสูญพันธุ์อีกในไม่ช้า แล้วยังไม่สร้างความปลอดภัยต่อคนดื่มด้วย แต่ถ้าให้ชาวบ้านหันมาใช้วิธีที่ถูกต้องได้มาตรฐานก็อาจติดขัดเรื่องเงินทุนเนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมาก





ความสมบูรณ์ของเขากวางอ่อน

“โดยทั่วไปอาชีพหรือธุรกิจการเลี้ยงกวางเพื่อตัดเขาอ่อนจะต้องใช้เงินจำนวนหลักแสน หลักล้านบาทที่เป็นต้นทุนค่ากวางและค่าคอกตัด แต่สิ่งที่ทางศูนย์ภูพานต้องการจะทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามพระประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงตรัสว่าให้ใช้เทคโนโลยีตลอดจนอุปกรณ์แบบง่ายๆ ที่สามารถหาได้ท้องถิ่น โดยไม่ต้องไปหาซื้อสิ่งของที่มีราคาแพง ฉะนั้น คอกตัดที่สร้างในศูนย์แห่งนี้จึงมีราคาถูกมาก ใช้เงินน้อยมาก ถือเป็นต้นทุนต่ำจริงในราคาหมื่นกว่าบาท อย่างวัสดุที่ใช้เป็นตาข่ายธรรมดา ใช้ไม้อัดเก่าที่เป็นเศษไม้หรือสังกะสีเก่า โดยไปหาซื้อมาจากร้านขายของเก่า”





เทเลือดจากเขากวางอ่อนใส่ลงในขวดเหล้า

คุณหมอวิศุทธิ์ ชี้ว่า ความสำคัญของการเลี้ยงกวางคือปริมาณหรือจำนวนเขาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เคยมีโอกาสได้พูดคุยกับทางกลุ่มผู้เลี้ยงกวางพบว่าไม่ว่าจะเป็นกวางชนิดใด พันธุ์ใดในโลกนี้ เมื่อนำมาใช้ในกระบวนการนี้จะได้คุณสมบัติเหมือนกัน เพียงแต่สิ่งที่ต่างกันคือจำนวนและปริมาณเขาที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงที่ต่างกันเท่านั้น
ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานได้ทดลองนำเขากวางอ่อนมาใส่ในสุราเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา เหตุผลที่ต้องใช้สุราเนื่องจากเป็นตัวทำละลายที่ดีและดื่มได้ แล้วถ้าให้ดีควรเป็นสุราขาวมากกว่าสุราสี โดยประสิทธิภาพของสุราสำหรับใช้ดองเขากวางอ่อนได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัยควรมีราคาสูงเนื่องจากผ่านการผลิตที่ได้มาตรฐานพร้อมกับขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สำหรับสุราขาวต่างประเทศพบว่า “วอดก้า” มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะเมื่อทำออกมาแล้วได้คุณภาพดี แล้วกลิ่นไม่แรง
สำหรับขั้นตอนการตัดเขากวางอ่อน คุณหมอวิศุทธิ์ให้รายละเอียดคร่าวๆ ว่า เมื่อต้อนกวางที่มีความเหมาะสมจะต้องตัดเขาเข้ามาภายในคอกแล้วจะต้องทำความสะอาดเขากวางก่อนให้เรียบร้อย เพราะภายหลังตัดแล้วจะต้องรีบเก็บทันทีเพื่อให้เกิดความสด ทั้งนี้ หลังจากตัดเขาอ่อนออกแล้วกวางยังคงใช้ชีวิตอยู่ได้ตามปกติ กวางแต่ละตัวสามารถตัดเขาได้นานถึง 10-12 ปี และใช้เขาอ่อนได้ 8-10 ครั้ง ทั้งนี้ ในปีหนึ่งตัดเขากวางจำนวนหลายสิบตัว





รองเลือดจากเขากวาง

คุณหมอวิศุทธิ์ ระบุว่า เขากวางอ่อนที่เพิ่งตัดจะประกอบด้วยขนอ่อน กระดูกอ่อนและเลือด ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ต้องการ ทั้งนี้ หลังจากตัดเขากวางอ่อนเรียบร้อยแล้ว จะแยกเลือดที่อยู่ในเขาอ่อนหยดลงในขวดเหล้าครั้งละ 3-5 ซีซี พร้อมกับชิ้นส่วนของเขากวางอ่อนที่สไลซ์เป็นแผ่นแช่ลงไปจำนวน 4-5 ชิ้น ต่อขวด หลังจากนั้นแล้ว ให้นำไปเก็บไว้ทิ้งไว้นานประมาณ 3 เดือนจึงนำมาใช้ได้
เขากวางอ่อนที่ผ่านกระบวนการดองกับสุรามีความเชื่อกันว่าเมื่อดื่มแล้วจะช่วยในเรื่องสมรรถนะทางเพศชาย แต่ความจริงแล้วจากผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการหรือแม้แต่การแพทย์แผนไทยพบว่าภายในเขาอ่อนของกวางมีคุณสมบัติเด่นช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงในด้านการตกไข่ของเพศหญิง ตลอดจนช่วยในเรื่องการสร้างความแข็งแรงในการฝังตัวอ่อน สรุปคือจะช่วยในเรื่องการตั้งครรภ์ หรือในกรณีคนที่มีบุตรยาก
ทั้งยังช่วยลดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อได้ ขณะเดียวกัน ก็มีบางรายนำเขาอ่อนไปใช้ในเรื่องการบำบัดรักษาอาการอัมพาต ทั้งนี้ ยังได้รับเอกสารยืนยันจากผู้ใช้ที่เคยป่วยแล้วต้องนอนบนเตียงมาเป็นเวลานาน
นอกจากเขากวางอ่อนจะถูกผลิตออกมาในรูปแบบของเหลวแล้ว ยังมีการนำไปบดเป็นผงใส่แคปซูลเพื่อสะดวกต่อการรับประทานอีกด้วย กระทั่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดี แล้วยังพบว่าลูกค้าหลายรายที่ซื้อไปรับประทานได้ผลจนมีทายาทตามความคาดหวังโดยไม่ต้องเสียเงินมากมาย เพียงแค่ลงทุนซื้อ ราคากระปุกละ 500 บาทเท่านั้น และผลสำเร็จที่เกิดขึ้นเช่นนี้ทำให้ทีมงานทุกคนมีความดีใจมากที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสำเร็จสมหวัง
“สิ่งที่ทางศูนย์ภูพานมีความตั้งใจคือต้องการเผยแพร่หรือแนะนำให้เกษตรกรรู้จักการเพาะ-เลี้ยงกวางอย่างประหยัดและคุ้มค่า ตลอดจนนำเขากวางไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ฉะนั้น ในทุกกระบวนการที่แสดงถึงวิธีการทำในแต่ละขั้นตอนจึงต้องการเผยแพร่ให้ชาวบ้านได้รับรู้อย่างเต็มที่” คุณหมอวิศุทธิ์ กล่าว
สนใจต้องการเข้าเยี่ยมชมศึกษาและดูงานกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โทร. (042) 712-975 โทรสาร (042) 712-945
https://www.technologychaoban.com/livestock-technology/article_14940

"กวางรูซ่า" สัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจ

เปิดใจเจ้าของกวางกว่า 100 ตัว จ.กาญจนบุรี หลังประกาศหาเจ้าของใหม่


กวาง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ เหมาะกับอากาศเมืองไทย : ทำมาหากิน ดินฟ้าอากาศ (29 พ.ย. 62)


ภูพานโมเดล อุโมงมหัศจรรย์ เคล็ดไม่ลับ การตัดเขากวาง


อาชีพทั่วไทย : เพาะพันธุ์ลูกกวางขาย (18 ส.ค. 60)

มหัศจรรย์แห่งศูนย์ฯ ภูพาน ตอน กวางรูซ่า


รู้สู้โรค : เขากวางอ่อน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (18 ม.ค. 60)


เลี้ยงกวาง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่มาแรง กวางรูซ่า กวางม้า เลี้ยงง่าย ซื้อขายได้ เขากวางโลละ 13,000 บาท


สัตว์โลกเงินล้าน นานาเดียร์ฟาร์ม (19 พ.ย.59)


16 ก ย 61 กวาง สัตว์เศรษฐกิจ เลี้ยงง่าย รายได้ดี


การเลี้ยงกวาง ☘ สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ เลี้ยงง่าย รายได้ดี : ทรงศักดิ์ ฟาร์มกวาง กาฬสินธุ์


รอบภูมิภาค ตอน ผาสวนกวางฟาร์ม สุราษฎร์ธานี 29 ก.ย.59


นกกระจอกเทศ

ล้วงไข่นกกระจอกเทศ | อึ้งทึ่งเสียว


สุดฮา!!! ฟาร์มนกกระจอกเทศที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย - เพื่อนรักสัตว์เอ้ย EP 47 (4/4)


ทีวีบูรพา กบขึ้นเครื่อง : กระจอกเทศ มหัศจรรย์พันธุ์นก (English Subtitle) EP.1

วิธีการดูพันธุ์นกกระจอกเทศ

ปลูกผักที่อิสราเอล เขาใช้ดินและวัสดุอะไรปลูก งามเกินคาด

ปลูกผักที่อิสราเอล เขาใช้ดินและวัสดุอะไรปลูก งามเกินคาด

# งานเกษตรในประเทศอิสราเอล## ปลูกผักอีตู่หรือบราซิล แบบลอย

เพาะกล้าข้าวบนตาข่ายฟ้า ประหยัดเวลา ลดต้นทุน

เพาะกล้าข้าวบนตาข่ายฟ้า ประหยัดเวลา ลดต้นทุน


เพาะกล้าในตาข่ายเขียว p.1


เพาะกล้าในตาข่ายเขียว p.2


เพาะข้าวบนตาข่ายเขียว p.3


ช่อง 8 ชาวพิจิตรเพาะกล้าข้าวขาย 


ชาวนาวันหยุด การม้วนแผ่นกล้า

ต้นน้ำในการทำพันธ์ช้าวด้วยวิธีการปักดำด้วยรถดำนา



การเพาะกล้าแผ่นสำหรับใช้กับรถดำนา คูโบต้า


รถดำนา ดำได้ 5 ไร่ต่อ 1 ช.ม


ใหม่! รถดำนาคูโบต้านั่งขับ 8 แถว รุ่น SPV8 ทำงานไว ได้คุณภาพ เพื่องานปักดำอย่างมืออาชีพ


クボタGPS自動運転田植え機


Kubota Rice Transplanter in MUD kubota SPV6MD model machine Planting in 6 Rows / Palleturi Village