วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ดูให้รู้ : ปลูกผักเพื่อผู้ป่วยโรคไต

ดูให้รู้ : ปลูกผักเพื่อผู้ป่วย (9 ต.ค. 59)

คุณฟูจิจะพาไปดูการปลูกผักที่ไม่ธรรมดา ทั้งวิธีการปลูก สถานที่ปลูก และผักที่ก็ไม่ใช่ผักทั่วไปที่ใคร ๆ ก็กินกัน แต่เป็นการปลูกผักที่แกล้งผักให้มีโพแทสเซียมต่ำ จนเหมาะแก่การบริโภคกับผู้ป่วยโรคไต ที่ธรรมดาจะต้องระวังการรับประทานผักมาก แต่ผักโพแทสเซียมต่ำนี้ก็เหมาะกับคนปกติธรรมดาด้วย แถมยังสดอยู่ได้นานกว่าผักทั่วไป เก็บไว้ 2 สัปดาห์ก็ยังสด กรอบ อร่อยเหมือนเดิม เขาทำได้อย่างไร อย่าลืมติดตามชม

อาหารโซเดียมต่ำ ซีรีส์กินบำรุง “ไต” : กินกับหมอ

เมนูของเราในตอนนี้เหมาะสำหรับทุกคนที่ห่วงใยสุขภาพไต เพราะเราจะปรุงอาหารให้ปริมาณโซเดียมต่ำให้น้อยที่สุด ในตอนนี้คุณหมอมาโนช จาก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ม.มหิดล จะมาแนะนำข้าวต้มธัญพืช ที่ในสูตรใช้เพียงซีอิ๊วขาวเพียงแค่ 1 ช้อนชาเท่านั้น ซึ่งดีต่อสุขภาพไตสำหรับคนทั่วไป อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี มาลดเค็ม ลดโรค กับรายการกินกับหมอ

สูตรข้าวต้มธัญพืช

พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา

รากผักชี 3 ราก

กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ

นำ้มันพืช 1 ช้อนโต๊ะ

นำ้ตามทราย 1/2 ช้อนชา
ซีอิ้วขาว 1 ช้อนชา หรือปรุงให้น้อยที่สุด
น้ำซุปผัก 2 ถ้วย
เมล็ดถั่วลันเตาต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ
ถั่วแดงต้มสุก  2 ช้อนโต๊ะ
ข้าวโพดแกะเมล็ด  2 ช้อนโต๊ะ
กุ้ง 200 กรัม
ข้าวกล้องหุงสุก 1 ถ้วย
(ผู้ป่วยโรคไตควรเลือกรับประทานข้าวขาว)
สำหรับ 4 ที่

ใครๆ ก็ทราบดีว่าการทานเค็ม หรือบริโภคโซเดียมเข้าไปในร่างกายมากๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายมากแค่ไหน ไม่ใช่แค่หน้าบวม ตัวบวม แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และอื่นๆ อีกมากมาย
ใน 1 วัน ร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมแค่วันละ 1,500 มิลลิกรัมเท่านั้น (เทียบเท่าน้ำปลาราว 4 ช้อนชา) แต่จากอาหาร ขนมนมเนยที่เราทานกันในแต่ละวัน พบว่ามีการปรุงรสด้วยโซเดียมค่อนข้างสูง (เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือน้ำปลาเกิน 6 ช้อนชา) จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมจากอาหารเกินความต้องการไปมาก ส่งผลให้เสี่ยงโรคอันตรายหลายๆ โรคอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
อ.ดร. วนะพร ทองโฉม นักโภชนาการ กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้คำแนะนำในการลดการบริโภคโซเดียมที่เราทำตามกันได้ง่ายๆ ดังนี้

 

5 วิธีลด “โซเดียม” ลดเค็ม ลดโรค

  1. ปรุงอาหารด้วยตัวเอง เพื่อกำหนดการปรุงรสชาติด้วยตัวเอง 100%

    ไม่ควรปรุงอาหารไป ชิมไป ควรใส่ส่วนผสมทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อย แล้วค่อยปรุงเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพราะตอนที่ทำให้ผักและเนื้อสัตว์สุก ก็จะมีรสชาติ มีโซเดียมตามธรรมชาติของเนื้อสัตว์อยู่แล้ว ดังนั้นจึงยังไม่ควรรีบปรุงตั้งแต่ตอนที่เนื้อสัตว์ยังไม่ถูกปรุงให้สุกดี นอกจากนี้สามารถลองใช้ความเปรี้ยวในการปรุงอาหาร หากเลือกเมนูที่มีรสชาติเปรี้ยว เช่น ต้มยำ ต้มแซ่บ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำมะขาม จะช่วยให้เราเลือกใช้รสเปรี้ยวมากกว่าการใช้รสเค็มนำจนทำให้เติมโซเดียมเยอะเกินไปได้
  2. ลดการทานอาหารแปรรูป

    อาหารแปรรูปมักมีปริมาณของโซเดียมมากกว่าปกติ 7-10 เท่า เพื่อช่วยยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาอาหาร เช่น ขนมขบเคี้ยว 1 ซองมีโซเดียมราว 200-400 มิลลิกรัม ปลากระป๋อง มีโซเดียมราว 700 มิลลิกรัม อาหารแช่แข็งมีโซเดียมราว 700-1,000 มิลลิกรัม โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปมีโซเดียมราว 1,200 มิลลิกรัม ดังนั้นเราควรเลือกทานอาหารจากธรรมชาติจะดีที่สุด เช่น ข้าวสวย 1 ทัพพีจะมีโซเดียมแค่ 20 มิลลิกรัม ในขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง มีโซเดียม 1,500 มิลลิกรัมเลยทีเดียว
  3. ลดการกินน้ำแกง น้ำซุป น้ำผัด

    น้ำแกง น้ำซุป น้ำผัด รวมถึงอาหารที่มีเครื่องจิ้มต่างๆ มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างเยอะ เช่น น้ำผัด 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียมราว 400 มิลลิกรัม น้ำซุปสุกี้ 1 ถ้วย มีโซเดียมราว 1,500 มิลลิกรัม นอกจากเราจะลดการทานด้วยตัวเองแล้ว ยังมีอีกวิธี คือ เปลี่ยนอุปกรณ์ในการทานอาหาร จากช้อน เป็นส้อม หรือตะเกียบ เพื่อคีบอาหารเข้าปากแทน และควรสั่งเป็นกับข้าวแยก ไม่ควรสั่งให้ตักกับข้าวราดลลงไปบนข้าวโดยตรง
  4. สังเกตฉลากโภชนาการ

    เราสามารถพลิกดูฉลากโภชนาการที่ข้างผลิตภัณฑ์ เพื่อเลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดในท้องตลาดได้ โดยดูที่ปริมาณโซเดียมต่อ 1 บริโภค หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ จะมีปริมาณโซเดียมต่อ 1 หน่วยบริโภคไม่เกิน 140 มิลลิกรัม หรือไม่เกิน 6% ต่อวัน สามารถเลือกน้ำปลา หรือซอสที่ระบุไว้ว่าลดปริมาณโซเดียมลง 40% ได้ 
    แต่เครื่องปรุงที่ลดปริมาณโซเดียม จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคไต ที่กำลังอยู่ในช่วงจำกัดแร่ธาตุโพแทสเซียมจากอาหาร เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะทดแทนการใส่โซเดียมด้วยการเพิ่มโพแทสเซียมแทน
  5. ปรับสมดุลในการทานอาหาร

    หากเรารู้ตัวว่าในมื้ออาหารก่อนหน้านี้เราทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในมื้อเที่ยง ซึ่งได้รับโซเดียมเกิน 50% ที่ควรได้รับต่อวันไปแล้ว มื้อต่อไปเราก็ควรวางแผนว่าจะเลือกทานอาหารที่มีโซเดียมไม่มาก ผ่านการปรุงรสน้อยที่สุด เช่น หมูอบ ไก่อบ ปลาลวก เป็นต้น เท่านี้ก็สามารถควบคุมปริมาณในการทานโซเดียมต่อวันได้แล้ว

https://www.sanook.com/health/14425/


หลายคนชอบปรุงอาหารจนติดเป็นนิสัย สั่งก๋วยเตี๋ยวก็สาดน้ำปลา น้ำตาล น้ำส้มสายชู และพริก โดยไม่ได้ชิมก่อนปรุงด้วยซ้ำ หรือแม้กระทั่งข้าวกะเพราที่สาดน้ำปลาพริกลงไปไม่ยั้ง ทั้งบนไข่ดาว และบนข้าวด้วย ทั้งที่จริงๆ แล้วในกะเพราแม่ค้าก็ปรุงรสมาให้แล้ว เรากำลังบริโภค “โซเดียม” กันมากเกินความจำเป็นโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งจะส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น จนเป็นสาเหตุของโรคไตวายได้
“โซเดียม” คืออะไร?
โซเดียมเป็นสารอาหารที่ช่วยควบคุมความสมดุลของเหลวภายในร่างกาย ช่วยรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติ ช่วยในการทำงานของประสาท และกล้ามเนื้อ และยังช่วยดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไต และลำไส้เล็กอีกด้วย
ร่างกายคนเราต้องการ “โซเดียม” เท่าไร?
น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม หรือเท่ากับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะครึ่ง
10 อาหารโซเดียมสูงปรี๊ด เสี่ยงไตพัง!
น้ำปลา อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
1. ซอส หรือเครื่องปรุงต่างๆ ที่มีรสเค็ม
เช่น น้ำปลา ซีอิ้วขาว เกลือแกงซุปก้อน ซุปผง เต้าหู้ยี้
ซอสมะเขือเทศ อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
2. ซอส หรือเครื่องปรุงที่มีหลายรส
เช่น  ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้
กุ้งแห้ง อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
3. อาหารตากแห้ง
เช่น กุ้งแห้ง ปลาสลิดตากแห้ง ปลาหมึกตากแห้ง หมูแดดเดียว

ปลาร้า อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
4. อาหารหมักดอง
เช่น ผักกาดดอง ปลาร้า เต้าเจี้ยว
มันฝรั่งทอด อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
5. ขนมขบเคี้ยว
เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ (มักโรยเกลือเพิ่ม) ปลาเส้น สาหร่ายอบกรอบ ขนมปัง เค้ก ซาลาเปา
ลูกชิ้น อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
6. อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ปรุงรส
เช่น หมูหยอง หมูยอ ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น อาหารกระป๋อง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
7. อาหารสำเร็จรูป
เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊ก ข้าวต้มสำเร็จรูป ข้าวกล่องแช่แข็ง มันฝรั่งแช่แข็ง
เค้ก อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
8. ขนมที่ใส่ผงฟู
เช่น เค้ก ขนมปัง คุกกี้ แพนเค้ก เพราะผงฟูมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
น้ำเกลือแร่ อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
9. น้ำเกลือแร่
เพราะเครื่องดื่มเกลือแร่มักใส่โซเดียม เพื่อทดแทนเกลือแร่จากการสูญเสียเหงื่อเป็นจำนวนมาก
เนื้อแดง อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง
10. เนื้อแดง
ปริมาณโซเดียมในเนื้อแดง เช่นเนื้อวัว เนื้อหมู จะมากกว่าเนื้อขาว เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา
ทั้งนี้เราไม่ได้บอกให้ทุกคน “งด” ทานอาหารเหล่านี้นะคะ หากทุกคนยังอยากทาน สามารถทานได้แบบนานๆ ทานที อย่าทานเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะนอกจากจะทำให้สุขภาพไตเสื่อมแล้ว สาวๆ รู้ไว้เลยว่าโซเดียมนี่แหละ ที่ทำให้เราตัวบวม หน้าบวม ไม่สวยนะจะบอกให้ ทานได้แต่ในปริมาณน้อยๆ หากควบคุมปริมาณโซเดียมได้ เราก็สามารถทานได้ทุกวัน ไม่ต้องงดให้ทรมานร่างกายค่ะ
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก lowsaltthailand.orgmyfirstbrain.comhealthtoday.net
ภาพประกอบจาก istockphoto
https://www.sanook.com/health/3269/

3 วิธีลด “โซเดียม” ในร่างกายฉบับด่วนจี๋ หลังทานเค็มมากโดยไม่ได้ตั้งใจ

“เมื่อคืนแอบกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก่อนนอน ตื่นมาเลยหน้าบวมเลย” สาวๆ หนุ่มๆ หลายคนอาจเคยประสบกับปัญหานี้ ยิ่งใครที่ต้องทำงานที่ใช้รูปร่างหน้าตาอยู่ทุกวี่ทุกวันด้วยแล้วล่ะก็ ตอนนั่งแต่งหน้าอาจจะสังเกตได้ชัดเลยเชียวว่าหน้าบวมขึ้น เป็นเหตุมาจากการทานอาหารที่มีโซเดียมสูงไปเมื่อคืนก่อนนั่นเอง
การทานอาหารรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณมากกว่าแค่หน้าบวม เพราะอาจทำให้เกิดอาการใจเต้นแรง และเร็ว ไม่ได้บวมแค่หน้า แต่บวมไปทั้งตัว ไปจนถึงไม่สามารถหลับได้สนิทในตอนกลางคืน เป็นผลมาจากความดันโลหิตที่อาจพุ่งสูงขึ้นหลังจากที่ทานอาหารที่มีโซเดียมสูงนั่นเอง (จะยิ่งมีอาการอื่นๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น หากคุณมีโรคประจำตัวอย่าง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคไต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจ เป็นต้น) แต่หากเผลอทานเข้าไปแล้ว แค่นั่งรู้สึกผิดคงไม่ทำให้ร่างกายของเราดีขึ้น เรามาลดปริมาณโซเดียมในร่างกายกันแบบด่วนๆ กันดีกว่า
  1. ดื่มน้ำตามมากๆ
จากคำแนะนำของ Brierley Horton ผู้อำนวยการศูนย์โภชนาการของเว็บไซต์ Cooking Light.com อาหารรสเค็ม รวมไปถึงอาหารรสจัด จะทำให้ไตของคุณทำงานหนักมากขึ้น ดังนั้นการดื่มน้ำเข้าไปในร่างกายมากขึ้นอีกเล็กน้อบ จะช่วยให้ไตของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และของเหลวที่เพิ่มมากขึ้นในร่างกายยังช่วยไม่ให้ร่างกาย และใบหน้าของคุณบวมอีกด้วย
  1. ออกกำลังกาย
ยังไม่สายไปที่จะกินแล้วรีบออกกำลังกายเผาผลาญพลังงานจากอาหารเหล่านั้นออกไปซะ โดยเฉพาะการลดโซเดียมที่จะถูกร่างกายขับออกมาผ่านเหงื่อที่ไหลออกมาระหว่างการออกกำลังกายนั่นเอง อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำก่อน และระหว่างออกกำลังกายด้วยล่ะ
  1. กินกล้วย
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ากล้วยมีประโยชน์ในแง่ของการเข้าไปช่วยลดปริมาณโซเดียมในร่างกายได้ เพราะกล้วยมีโพแทสเซียมที่ช่วยจัดการกับโซเดียมส่วนเกินในร่างกายนั่นเอง ถ้าไม่ชอบทานกล้วย จะเลี่ยงมาเป็นถั่วขาว ผักใบเขียว หรือมันฝรั่งก็ได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตควรระวังการทานอาหารที่มีโพสแทสเซียม เพราะอาจรบกวนการทำงานของไตได้ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนทาน
ใครที่มีอาการอย่างที่กล่าวไว้ในตอนแรก ว่าหากทางอาหารรสเค็ม หรืออาหารรสจัด แล้วมีอาการต่างๆ มากกว่าแค่หน้าบวม เช่น ตัวบวม ใจเต้น ใจสั่น ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทางออกให้กับร่างกายของตัวเองอย่างถูกต้อง เพราะคุณอาจมีปัญหาในการรับโซเดียมที่ทำให้หัวใจ ไต ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบอื่นๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปก็ได้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นอย่าประมาทเด็ดขาด
https://www.sanook.com/health/11257/

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


10 อันดับอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง กับประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ


ภญ. ปัทมพรรณ โลมะรัตน์
ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โปแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โปแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย 

มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%

ในคนปกติที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับโปแทสเซียมในปริมาณ 4.7 กรัมต่อวัน (ข้อมูลจาก Food and Nutrition Board, Institute of Medicine) ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยังได้รับปริมาณโปแทสเซียมต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ ซึ่งการที่จะทำให้ได้รับโปแทสเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวันนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะโปแทสเซียมมีอยู่มากในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน ถั่วต่าง ๆ และธัญพืช เรามาพิจารณากันดีกว่าว่าอาหาร 10 อันดับที่มีปริมาณโปแทสเซียมสูงมีอะไรบ้าง 

อันดับชนิดอาหารขนาดบริโภคปริมาณโปแทสเซียม
1ผงโกโก้100 กรัม1.5 กรัม
2ลูกพรุน (อบแห้ง)100 กรัม1.1 กรัม
3ลูกเกด100 กรัม892 มิลลิกรัม
4เมล็ดทานตะวัน100 กรัม850 มิลลิกรัม
5อินทผาลัม100 กรัม696 มิลลิกรัม
6ปลาแซลมอน100 กรัม628 มิลลิกรัม
7ผักโขม (สด)100 กรัม558 มิลลิกรัม
8เห็ด100 กรัม484 มิลลิกรัม
9กล้วย100 กรัม358 มิลลิกรัม
10ส้ม100 กรัม181 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ว่าเราสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากชนิดเพื่อให้ได้รับโปแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ เราควรบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอล ฯลฯ ที่มีอยู่ในอาหารด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

แม้ว่าการที่ร่างกายเราได้รับโปแทสเซียมอย่างเพียงพอจะเป็นประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพ แต่ยังมีข้อควรระวังในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีความบกพร่องในการขจัดโปแทสเซียมออกจากร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เบาหวานและภาวะหัวใจล้มเหลว ควรได้รับโปแทสเซียมน้อยกว่า 4.7 กรัมต่อวัน (ปริมาณเท่าใดที่จะเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแล) เพื่อป้องกันภาวะการมีโปแทสเซียมที่มากเกินไป (hyperkalemia) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
เอกสารอ้างอิง
  1. Couch SC, Krummel DA. Medical Nutrition Therapy for Hypertension. In: Mahan LK, Escott-Stump S. Krause’s Food& Nutrition Therapy. 12th ed. Missouri: Saunders, 2008: 865-883.
  2. McGill CR, Fulgoni VL, DiRienzo D, et al. Contribution of dairy products to dietary potassium intake in the United States population. Journal of the American College of Nutrition. 27(1); 2008, 44-50.
  3. Ascherio A, Rimm EB, Hernan MA, et al. Intake of potassium, magnesium, calcium, and fiber and risk of stroke among US men. Circulation. 98; 1998, 1198-1204.
  4. http://www.buzzle.com/articles/sources-of-potassium-in-foods.html (Accessed Aug 23, 2011)
  5. http://www.healthaliciousness.com/articles/food-sources-of-potassium.php (Accessed Aug 23, 2011)
  6. http://www.healthaliciousness.com/articles/high-potassium-fruits.php (Accessed Aug 23, 2011)
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/84/อาหารที่มีโปแทสเซียมสูง-10อันดับ-ประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ/

ข้อควรระวังในการกินลูกพรุน
          
          ลูกพรุนก็เหมือนกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ แม้ว่าจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็ก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน เนื่องจากลูกพรุนมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ถ้าคนทั่วไปกินเยอะเกินไปก็จะทำให้ท้องเสีย เช่นเดียวกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ถ้ากินลูกพรุนเยอะเกินไปจะทำให้ถ่ายบ่อยและเยอะจนอาจส่งผลให้มดลูกบีบตัว กระตุ้นให้ทารกคลอดก่อนกำหนดก็ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มบุคคลต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงการกินลูกพรุนนะคะ เพราะจะเป็นอันตรายกับร่างกายได้ 

1. คนที่เป็นโรคไต
        
          ควรจะหลีกเลี่ยงการกินลูกพรุน เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งคนที่เป็นโรคไตจะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้มีโพแทสเซียมคั่งในเลือด ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อล้า หัวใจเต้นผิดปกติ และหัวใจหยุดเต้นได้

2. คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย

          คนที่มีปัญหาถ่ายเหลว ลำไส้ผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการกินลูกพรุน เพราะจะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้อาการรุนแรงมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น